Hydrophobic (Sodium) Silicate Gel

โซเดียมซิลิเกตเจลกันน้ำ

      โซเดียมซิลิเกตเจลกันน้ำ เป็นวัสดุวิศวกรรมอีกประเภทหนึ่งเพื่อนำมาใช้แก้ปัญหาการซึม รั่วเข้ามาของน้ำใต้ดินในระหว่างก่อสร้าง เพื่อเป็นการประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่ตามมาที่เกิดจากความล่าช้าในการก่อสร้าง เป็นเทคโนโลยีทางวิศวกรรมที่ตอบสนองความต้องการของผู้ก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ได้เป็นอย่างดี

จุดเด่นของเทคโนโลยี

      โซเดียมซิลิเกตเจลไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม และในปัจจุบันการสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินต้องจ้างบริษัทจากต่างประเทศมาทำงานในส่วนของการป้องกันน้ำซึมผ่านในบริเวณก่อสร้าง โดยเท่าที่ทราบยังไม่มีบริษัทของไทยทำในส่วนนี้

คุณสมบัติของต้นแบบผลิตภัณฑ์

      เป็นลักษณะเจลซึ่งสังเคราะห์จากการทำปฏิกิริยาของโซเดียมซิลิเกตกับสารตัวอื่นๆ มีคุณสมบัติกันน้ำ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

การประยุกต์ใช้งาน

      ใช้เป็นผนังป้องกันน้ำรั่ว หรือซึมผ่านไปยังบริเวณที่ต้องการทำพื้น ผนัง รถไฟฟ้าใต้ดิน หรือการก่อสร้างอาคารที่อยู่ใต้พื้นดิน ซึ่งมีน้ำปนเข้ามาในระหว่างก่อสร้างตลอดเวลา ทำให้เป็นอุปสรรคในการก่อสร้าง


กลุ่มลูกค้า / ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย

      กลุ่มอุตสาหกรรมก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินและบริษัทก่อสร้างบ้าน อาคารที่ต้องขุดลงไปในใต้ดินที่ลึก

กลุ่มนักลงทุนเป้าหมาย

      บริษัทหรือโรงงานอุตสาหกรรมผลิตสารเคมี

สถานภาพทรัพย์สินทางปัญญา

      ยื่นคำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1903001237

สถานะการพัฒนาผลิตภัณฑ์

      ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ

ภาพรวมตลาด

      ในปัจจุบันธุรกิจการก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ มีแนวโน้มเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งพื้นที่ในประเทศไทยในหลายๆพื้นที่มีปริมาณน้ำใต้ดินเป็นจำนวนมาก ทำให้หลายๆผู้ประกอบการมีความต้องการวัสดุที่จะไปใช้แก้ปัญหาในส่วนนี้

ผลประโยชน์ (Impact)

  • เชิงวิชาการ/วิทยาศาสตร์ :
    ส่งเสริมการพัฒนาวัสดุทางวิศรกรรมและเป็นแบบอย่างในการวิจัยต่อไป
  • เชิงเศรษฐกิจ/พาณิชย์ :
    สามารถต่อยอดมูลค่าทางธุรกิจไปในทิศทางที่เป็นบวก ซึ่งสามารถคาดการณ์ได้ว่ามูลค่าทางการตลาดมีแนวโน้มสูงมากขึ้นเรื่อยๆ

  • เชิงสังคม/สิ่งแวดล้อม :
    ด้วยส่วนประกอบของโซเดียมซิลิเกตเจลกันน้ำ มีจุดเด่นคือสารประกอบที่นำมาใช้ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม








"โซเดียมซิลิเกตเจลกันน้ำ"

นักวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.สุทิน คูหาเรืองรอง
สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

ติดต่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

นายศักดิ์ติญานนท์ คงทอง
สำนักงานจัดการทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
โทรศัพท์ 0-4422-4825
E-mail : saktiyanont.k@g.sut.ac.th

ผลงานที่จัดแสดง