JibJib CUI

จิ๊บจิ๊บ เทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์ด้วยการสนทนา

           เป็น Platform ระบบบริการผู้ช่วยอัตโนมัติที่สามารถโต้ตอบอย่างเป็นธรรมชาติ เสมือนการสนทนากับมนุษย์ รองรับการสื่อสารในด้าน

          - การพิมพ์ การพูดสนทนา (Chat) หรือสั่งงานด้วยเสียงภาษาไทย (Speech)
     - การบริการข้อมูล เช่น การขอข้อมูล การตอบคำถาม การจองเพื่อขอเข้ารับบริการ และรองรับการพูดคุยทั่วไป
     - สามารถประมวลผลบน Cloud Computing ได้
       โดย JibJib CUI เป็นการนำ 3 เทคโนโลยีนำมารวมกัน ประกอบด้วย   
     1. Platform รู้จำเสียงพูด พาที “Partii” ในการแปลงเสียงเป็นข้อความ
     2. Platform สังเคราะห์เสียงภาษาไทย วาจา “VAJA” สร้างเสียงสนทนาอย่างเป็นธรรมชาติ
     3. Platform สร้างแชตบอต อับดุล “Abdul” วิเคราะห์ข้อความภาษาไทย เพื่อทำความเข้าใจความต้องการของผู้ใช้งาน หาคำตอบและสร้างบทสนทนาโต้ตอบ

     คณะนักวิจัยได้พัฒนาตัวละคร (Agent) ให้มีลักษณะแบบ 3 มิติ (3D Character) เพื่อให้สามารถโต้ตอบได้เสมือนจริง โดยสามารถแสดงออกทางอวัจนภาษา (การขยับปาก, การแสดงสีหน้าและท่าทาง, การใช้มือเป็นสัญลักษณ์) ไปพร้อมๆ กับการพูดได้ 

จุดเด่นของเทคโนโลยี

  • เป็น CUI ที่ฟังและพูดตอบโต้กับผู้ใช้งานด้วยภาษาไทย
  • เข้าใจบริบทภาษาไทย ผู้ใช้งานสามารถเพิ่มองค์ความรู้ให้ระบบได้
  • เชื่อมต่อกับบริการต่างๆ ที่ทำผ่านเว็บ (web service) ได้ง่าย

คุณสมบัติของต้นแบบผลิตภัณฑ์

  • ระบบติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้งานผ่านการพูดไทย
  • รองรับการสอบถามข้อมูลทั่วไป และการสนทนาในชีวิตประจำวัน และสามารถเพิ่มขอบเขตความรู้เฉพาะด้าน (domain knowledge) ได้ตามต้องการ
  • มีระบบประมวลผลภาษาไทย ที่สามารถเข้าใจภาษาตามธรรมชาติ (natural language understanding) และรองรับการประมวลผลภาษาแบบนี้ได้
  • รองรับเชื่อมต่อเพื่อสั่งงาน อุปกรณ์ หรือติดต่อกับฐานข้อมูลองค์กร หรือแม้แต่กับ Service API อื่นๆ ได้โดยง่าย 
  • มีระบบถอดความเสียงภาษาไทย ที่มีความถูกต้องมากกว่า 80% ในสภาพแวดล้อมที่กำหนด*
  • มีระบบสังเคราะห์เสียงพูดภาษาไทยและอังกฤษ โดยมีเสียงให้เลือกใช้งานได้หลากหลาย 
  • สามารถพูดสำเนียงท้องถิ่นได้ (ปัจจุบันมีเฉพาะสำเนียงถิ่นเหนือให้ทดสอบใช้งาน)
  • ทำงานบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ (Android)

           *คือ เป็นการใช้งานแบบ closed talk ในที่มีเสียงรบกวนต่ำ ขณะที่ความถูกต้องอาจจะลดลงโดยรวม 10% หากมีเสียงรบกวนสูง 

การประยุกต์ใช้งาน

  • ทำระบบต่างๆ ที่มีอยู่เดิมให้เป็นระบบอัจฉริยะที่สามารถสั่งงานได้ด้วยเสียง เช่น นำ JibJib เชื่อมต่อกับระบบควบคุมอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ทำให้กลายเป็นบ้านอัจฉริยะ (smart home) เป็นต้น
  • สร้างธุรกิจและบริการรูปแบบใหม่ที่มนุษย์สามารถสื่อสารกับระบบได้โดยตรง เช่น หุ่นยนต์ผู้ช่วย

กลุ่มลูกค้า / ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย

  • กลุ่มธุรกิจที่ผู้ใช้งานต้องสื่อสารกับระบบ เช่น smart home, robot, ให้บริการข้อมูล
  • กลุ่มธุรกิจที่ต้องการเปลี่ยนระบบเดิม จากพิมพ์ข้อความเป็นสื่อสารด้วยเสียง
  • กลุ่ม SI (Software Integrators) ที่ต้องการนำ JibJib CUI ไปใช้

กลุ่มนักลงทุนเป้าหมาย

  • กลุ่มนักลงทุนที่เล็งเห็นว่า “เสียง” จะเป็นการสื่อสารหลักระหว่างคนและอุปกรณ์ในอนาคต
  • กลุ่มนักลงทุนที่ต้องการผลักดันให้ CUI มีการใช้งานกว้างขวางเป็นโครงสร้างพื้นฐานแบบหนึ่งเช่นเดียวกับการใช้งานอินเทอร์เน็ต
  • นักลงทุนที่สนใจ

สถานภาพทรัพย์สินทางปัญญา

  • วิธีการสอบถามข้อมูลอัตโนมัติเพื่อค้นคืนสารสนเทศด้วยเทคนิคการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (เลขที่คำขอ 1001000066)
  • อับดุลแพลตฟอร์ม (อยู่ระหว่างการยื่นจด)
  • ระบบสอบถามข้อมูลอัตโนมัติด้วยภาษาธรรมชาติเชิงความหมาย (อยู่ระหว่างการยื่นจด)

สถานะการพัฒนาผลิตภัณฑ์

           เป็นต้นแบบภาคสนามที่มีการทดสอบแล้วว่า สามารถใช้งานได้จริง ต้องการ usecase การใช้งานจริงเพื่อปรับปรุงและพัฒนาระบบให้ดียิ่งขึ้น

ภาพรวมตลาด

           จากรายงานในปี 2018 ของ drift.com ในหัวข้อ State of Chatbots Report: How Chatbots are Reshaping Online Experiences ซึ่งเป็นการวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าที่มีต่อระบบอัตโนมัติอย่างแชตบอตเปรียบเทียบกับบริการแบบเดิม (traditional service) อื่นๆ เช่น บริการบนเว็บไซต์ โอเปอเรเตอร์ Face-to-face โทรศัพท์ และอื่น ๆ พบว่า ลูกค้ามีแนวโน้มที่จะยอมรับในการสื่อสารกับระบบอัตโนมัติมากขึ้น โดยต้องการให้ระบบอัตโนมัติแก้ปัญหาหลัก ดังเช่น การช่วยหาคำตอบให้ง่ายและรวดเร็วขึ้น การตอบปัญหาพื้นฐานต่างๆ การตอบสนองที่รวดเร็วและไม่ต้องรอ รายงานจาก Gartner ยังระบุว่า ผู้ช่วยเสมือน (Virtual Assistant) จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ รายงานจาก Digital Assistant and Voice AI-Capable Device Forecast 2016-2021 ของ Ovum คาดการณ์ว่า ภายในปี 2021 จะมีอุปกรณ์ที่ติดตั้ง “ผู้ช่วยเสมือน” ในท้องตลาดมากกว่า 7.5 พันล้านชิ้น โดย Google Assistant ครองส่วนแบ่งสูงสุดที่ 23.3% รองลงมาคือ Bixby จาก Samsung ที่ 14.5% และ Siri จาก Apple ที่ 13.1% รายงานดังกล่าวชี้ให้เห็นแนวโน้มของการใช้ผู้ช่วยเสมือนในชีวิตประจำวัน ที่จะมีมากขึ้นในอนาคต

ผลประโยชน์ (Impact)

  • เชิงวิชาการ/วิทยาศาสตร์ :
    เป็นการนำงานวิจัยแนวหน้าด้านภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing) ทั้งทางเสียง ข้อความ และการสื่อสาร มาสร้างเป็น Platform CUI บนพื้นฐานภาษาไทย ในเชิงพาณิชย์ ได้ด้วยทีมงานคนไทย
  • เชิงเศรษฐกิจ/พาณิชย์ :        
      - สร้างช่องทางสื่อสารระหว่างคนกับคอมพิวเตอร์ช่องทางใหม่ สามารถประยุกต์เป็นสินค้าและบริการใหม่ๆ ที่ไม่มีในอดีต
      - เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมในประเทศที่ต้องการการเชื่อมต่อและต้องการสื่อสารบน CUI ภาษาไทย ทำให้อุตสาหกรรม IoT, Smart Home, Robot และ เครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ที่คุยภาษาไทย เติบโตยิ่งขึ้น
      - ลดการนำเข้าระบบจากต่างประเทศ และ/หรือ ช่วยเสริมขีดความสามารถของระบบ CUI ที่มีอยู่ให้ตอบสนองผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น
  • เชิงสังคม/สิ่งแวดล้อม :
    ช่วยอำนวยความสะดวกและช่วยให้ผู้บริโภควงกว้างได้เข้าถึงการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น กลุ่ม Smart และ IoT ต่างๆ ได้มากยิ่งขึ้น



" จิ๊บจิ๊บ เทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์ด้วยการสนทนา "

ติดต่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 

ดร.ขวัญชีวา แตงไทย และ ดร.ชัยอนันต์ ดำรงรัตน์ 
ทีมวิจัยการเข้าใจเสียงและข้อความ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สวทช.
โทรศัพท์ 0-2564-6900 ต่อ 2240, 2270
E-mail : 
kwanchiva.thangthai@nectec.or.th, chaianun.damrongrat@nectec.or.th

นางสาวสุรีพร กระจง
ฝ่ายกลยุทธ์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สวทช.
โทรศัพท์ 0-2564-6900 ต่อ 2351
E-mail : 
sureeporn.krachong@nectec.or.th

นายกรเทพ ปิยะวงศ์ภิญโญ
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี สวทช.
โทรศัพท์ 0-2564-7000 ต่อ 1619
E-mail : 
kornthep.piyawongpinyo@nstda.or.th

ศูนย์ลงทุน
ฝ่ายบริการพัฒนาธุรกิจเทคโนโลยี สวทช.
โทรศัพท์ 0-2564-7000 ต่อ 1327, 1345
E-mail : 
tds-nic@nstda.or.th

ผลงานที่จัดแสดง