magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Articles posted by tipparat (Page 13)
formats

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดโรคพาร์กินสันกับกลุ่มโปรตีน alpha-synuclein

Virginia M.-Y. Lee  Kelvin C. Luk และคณะจากมหาวิทยาลัยเพนซิเวเนียทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดโรคพาร์กินสันกับกลุ่มโปรตีน alpha-synuclein ซึ่งเกิดมาจากก้อนโปรตีนเล็กๆ ที่เรียกว่า Lewy bodies มารวมตัวกัน ซึ่งผลการศึกษายืนยันความสัมพันธ์ระหว่างการตายของเซลล์สมองที่ผลิตสาร dopamine จากโปรตีน alpha-synuclein กับอาการสั่นของร่างกายและความไม่หยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน โดยฉีดโมเลกุล alpha-synuclein เข้าไปที่สมองของหนูที่มีสุขภาพสมบูรณ์แล้วทำการตรวจสอบสมองของหนู เมื่อผ่านไป 30 วันพบว่าโมเลกุล alpha-synuclein แพร่กระจายไปยังเซลล์สมองอื่นๆ ข้างเคียง ซึ่งพอสรุปได้ว่าโมเลกุล alpha-synuclein สามารถเคลื่อนที่จากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์ และหลังจากนั้นอีก 30 วันพบว่าการแพร่กระจายของโมเลกุล alpha-synuclein ขยายไปยังเซลล์สมองอื่นๆ มากขึ้น และเมื่อผ่านไป 6 เดือนหลังจากฉีดโมเลกุล alpha-synuclein เข้าไปที่สมองของหนูพบว่ามี  Lewy bodies ในเซลล์สมองที่ผลิตสาร dopamine ทำให้ผลิตสาร dopamine น้อยลง ส่วนการทดสอบลักษณะภายนอกพบว่าหนูวิ่งบนท่อนไม้ได้ไม่ดีเท่าเดิมเนื่องจากสมดุลไม่ดีและเกาะกรงน้อยลงเมื่อเปรียบเทียบกับหนูที่ได้รับการฉีดน้ำเกลือแทน ซึ่งผลการศึกษานี้ได้รับการสนับสนุนจากงานวิจัยอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีนักวิจัยบางกลุ่มสนับสนุนว่าการแพร่กระจายจากเซลล์หนึ่งไปสู่อีกเซลล์เกิดขึ้นได้ในคน โดยปลูกถ่ายเซลล์สมองของเด็กทารกเข้าไปในสมองของผู้ป่วยโรคพาร์กินสันคนหนึ่ง ซึ่งเมื่อผ่านไป 14 ปี

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เชื้อเพลิงชีวภาพอาจไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuels) เป็นทางเลือกเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมและลดภาวะโลกร้อน แต่เมื่อเร็วๆ นี้ ในวารสาร the journal Nature Climate Change รายงานว่าการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มจำนวนคนตายก่อนเวลาอันสมควรและลดปริมาณผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งรายงานเกิดจากการสังเกตการเปลี่ยนแปลงในการใช้พลังงานชีวภาพที่มากขึ้นในสหภาพยุโรป โดยต้นปอปลาร์ (Poplar) ต้นวิลโลว์ (Willow) และต้นยูคาลิปตัส (Eucalyotus) ซึ่งนิยมนำมาใช้ผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพในยุโรป เนื่องจากมีการเจริญเติบโตเร็วเหมาะสำหรับการนำมาใช้ผลิตพลังงานหมุนเวียน มีการปล่อยสารไอโซพรีน (Isoprene) ในขณะเจริญเติบโต ซึ่งถ้ารวมตัวกับมลภาวะทางอากาศอื่นๆ แล้วโดนแสงแดดทำให้เกิดการสร้างก๊าซโอโซนที่เป็นพิษขึ้นมา โดยจากรายงานคาดการณ์ว่าภายในปี 2020 จะมีคนตายก่อนเวลาอันควรประมาณ 1,400 คนในยุโรปต่อปี ซึ่งคิดเป็นเงินกว่า 7.1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และยังลดผลผลิตต่อปีของข้าวสาลีและข้าวโพด โดยคิดเป็นเงินกว่า 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เนื่องจากโอโซนทำให้การเจริญเติบโตเสียหาย รายงานยังเสนอว่าควรมีการจำกัดสถานที่ในการปลูกต้นไม้ที่ใช้ผลิตพลังงานชีวภาพให้ห่างจากบริเวณที่มีมลพิษทางอากาศ ซึ่งช่วยจำกัดปริมาณของก๊าซโอโซนที่มีผลต่อปอด ซึ่งเป็นสาเหตุของการตายกว่า 22,000 คนต่อปีในยุโรป และพันธุวิศวกรรมอาจนำมาใช้เพื่อลดการปล่อยสารไอโซพรีน นอกจากนี้เชื้อเพลิงชีวภาพมักถูกกล่าวหาว่าเป็นต้นเหตุการสูงขึ้นอย่างรวดเร็วของราคาอาหาร เนื่องจากการปลูกต้นไม้ที่ใช้เพื่อผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจะไปแย่งพื้นที่เพาะปลูกเพื่อผลิตผลทางการเกษตร ดังนั้นกรรมการของยุโรปออกมาประกาศว่าจะจำกัดการปลูกต้นไม้ที่ใช้ในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพเป็นร้อยละ 5 ของเชื้อเพลิงที่ใช้ในการขนส่งทั้งหมด อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/nstda-doc-archives/doc_download/1156—-22556– ( 108

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

รัฐบาลสหรัฐฯ สนับสนุนการเจริญเติบโตของกลุ่มผู้ประกอบการและธุรกิจขนาดเล็ก

กลุ่มผู้ประกอบการและธุรกิจขนาดเล็กมีความสำคัญต่อความสำเร็จในการพัฒนาทางนวัตกรรมและเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เนื่องจากธุรกิจขนาดเล็กภายในประเทศทำให้มีการจ้างงานหลายสิบล้านคนหรือคิดเป็น 50 เปอร์เซ็นต์ของการจ้างงานในภาคเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจขนาดเล็กดำเนินกิจการน้อยกว่า 5 ปี มีผลที่สำคัญต่อการสร้างงานในทุกภาคอุตสาหกรรมทั่วประเทศ โดยก่อนหน้านี้รัฐบาลสหรัฐฯ มีแผนที่ต้องการสนับสนุนให้ทุกหน่วยงานของรัฐบาลส่งเสริมผู้ประกอบการและธุรกิจขนาดเล็ก เพื่อให้มีโอกาสพัฒนาเป็นบริษัทขนาดใหญ่ขึ้น เช่น Apple ซึ่งทำให้เกิดการสร้างงานและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต และเมื่อเร็วๆ นี้ รัฐบาลสหรัฐฯ แถลงรายละเอียดแผนปฏิบัติการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความช่วยเหลือแก่กลุ่มผู้ประกอบการและธุรกิจขนาดเล็ก โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมาย 2 กลุ่มคือ บริษัทที่เพิ่งเปิดและกำลังเติบโต และตลาดที่ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาล ซึ่งแผนปฏิบัติการนี้อยู่ในวัตถุประสงค์ของยุทธศาสตร์ที่เรียกว่า Cross-Agency Priority (CAP) Goals ที่ได้รับการออกแบบเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐบาลในนโยบายที่มีการจัดลำดับความสำคัญแล้ว อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/nstda-doc-archives/doc_download/1156—-22556– ( 90 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

FDA เสนอกฎระเบียบใหม่ 2 เรื่อง ด้านความปลอดภัยทางอาหาร

องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (U.S. Food and Drug Administration, FDA) เสนอกฎระเบียบใหม่ 2 เรื่อง ด้านความปลอดภัยทางอาหาร เพื่อช่วยป้องกันโรคที่เกิดจากการบริโภคอาหาร (Foodborne illness) ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงความปลอดภัยทางด้านอาหารให้ทันสมัย (The FDA Food Safety Modernization Act, FSMA) เป็นผลสืบเนื่องมาจากความคืบหน้าภายใต้รัฐบาลโอบามาในด้านความปลอดภัยทางอาหาร โดยขยายกฎระเบียบออกไปยังอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการ สมาคมผู้บริโภค หน่วยงานราชการอื่นๆ และสมาคมนานาชาติ ซึ่งกฎระเบียบทั้งสองเรื่องเป็นส่วนหนึ่งในความพยายามของประเทศที่จะพัฒนาวิธีการป้องกัน และการจัดระบบความปลอดภัยของอาหาร ทั้งที่ผลิตภายในประเทศ และอาหารที่นำเข้า โดยกฎระเบียบเรื่องแรกต้องการให้ผู้ผลิตอาหารที่จะจำหน่ายในสหรัฐฯ ทั้งที่ผลิตในและนอกประเทศมีการพัฒนาแผนการป้องกันอย่างเป็นทางการเพื่อไม่ให้อาหารเป็นสารก่อโรคได้ โดยตั้งเป้าหมายว่าภายในหนึ่งปีหลังจากกฎระเบียบเสร็จสิ้น โรงงานผลิตอาหารขนาดใหญ่ส่วนมากพร้อมปฏิบัติตาม ส่วนธุรกิจขนาดเล็กให้เวลามากกว่า ในขณะที่กฎระเบียบเรื่องที่สองเกี่ยวกับความปลอดภัยของผลิตผลทางการเกษตร ซึ่งมีการกำหนดมาตรฐานตามหลักวิทยาศาสตร์และความเสี่ยงที่เป็นพื้นฐานเพื่อการผลิตและการเก็บเกี่ยวผักผลไม้อย่างปลอดภัย โดยตั้งเป้าหมายว่าฟาร์มขนาดใหญ่จะให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามภายใน 26 เดือน หลังจากกฎระเบียบเสร็จสิ้นและมีการลงทะเบียนกับรัฐบาลกลาง ส่วนฟาร์มขนาดเล็กให้เวลามากกว่า และสำหรับฟาร์มทุกขนาดให้เวลาเพิ่มเพื่อดำเนินการข้อบังคับที่เกี่ยวกับการจัดการคุณภาพน้ำ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/nstda-doc-archives/doc_download/1156—-22556 – ( 69 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สหรัฐฯ เสริมสร้างความสัมพันธ์กับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมากขึ้น

ในปี ค.ศ. 2012 เป็นปีที่สหรัฐฯ พยายามเสริมสร้างความสัมพันธ์กับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกให้มากขึ้น โดยร่วมมือกับประเทศญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี ออสเตรเลีย และประเทศไทย ในการสนับสนุนให้เกิดความมั่นคงและการแก้ปัญหาต่างๆ เช่น การก่อการร้าย ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งจากการทำงานร่วมกันทำให้กองกำลังสหรัฐฯ ในเอเชียแปซิฟิกมีความยั่งยืนทางการเมืองมากขึ้น มีความอดทนในการปฏิบัติการ และกระจายไปตามภูมิภาคต่างๆ ทำให้เกิดความรวดเร็วในการตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉินและภัยพิบัติในภูมิภาค และยังส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศฟิลิปปินส์ทางทะเล และประธานาธิบดีโอบามายังเดินทางมาเยือนประเทศไทย ซึ่งบ่งชี้ถึงความก้าวหน้าในความสนใจในความร่วมมือของทั้งสองประเทศ นอกจากนี้ยังส่งเสริมความเข้มแข็งในความร่วมมือด้านความมั่นคงกับประเทศนิวซีแลนด์ โดยร่วมมือด้านความมั่นคงทางการทหารในภูมิภาค มีความร่วมมือด้านความมั่นคงทางทะเล ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรม การแก้ปัญหาภัยพิบัติ และการรักษาสันติภาพ และยังร่วมมือกับประเทศปาเลา ไมโครนีเวีย และหมู่เกาะมาแชล เพื่อร่วมแก้ปัญหาด้านต่างๆ เช่น สุขอนามัย การศึกษา เศรษฐกิจ ในเดือนพฤษภาคมปีที่ผ่านมามีการประชุมหารือที่เมืองปักกิ่ง ประเทศจีน เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนคนของทั้งสองประเทศในด้านการศึกษา วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กีฬา และยังมีการประชุมเรื่องบทบาทสตรี โดยผลจากการประชุมทำให้กระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ดำเนินการหลายเรื่อง เช่น การสร้างความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชน การเพิ่มจำนวนนักศึกษาสหรัฐฯ ในประเทศจีน ส่วนประเทศพม่าสหรัฐฯ ยอมให้มีการลงทุนใหม่เพิ่มขึ้นจากสหรัฐฯ การส่งออกบริการด้านการเงิน และการนำเข้าสินค้าจากพม่า นอกจากนี้การเยือนประเทศพม่าของประธานาธิบดีโอบามายังแสดงว่าสหรัฐฯ สนับสนุนการปฏิรูปประชาธิปไตยของประเทศพม่า อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

บทสัมภาษณ์ของศาสตราจารย์ยงยุทธในฐานะหัวหน้าคณะในการพัฒนายาต้านมาลาเรียตัวแรกของไทย

เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 ได้มีการเผยแพร่บทสัมภาษณ์ของอาจารย์ยงยุทธ ยุทธวงศ์ในฐานะหัวหน้าคณะในการพัฒนายาต้านมาลาเรียตัวแรกของไทย ในเว็บไซต์ของนิตยสาร BioSpectrum โดยแบ่งเป็น 3 หัวข้อคือ การผลักดันทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศไทย การต่อสู้กับโรคมาลาเรีย และการอุทิศเพื่องานวิจัย อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม  – ( 39 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ในปี ค.ศ. 2100 จะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง

คงอยู่ในความสนใจของใครหลายคนว่าอนาคตข้างหน้าโลกใบนี้จะเป็นอย่างไร คนส่วนใหญ่ชอบบอกว่าแน่นอนประชากรโลกเพิ่มขึ้น อุณหภูมิโลกร้อนมากขึ้น ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น ในขณะเดียวกันมีแหล่งน้ำ น้ำมัน แร่ธาตุ พื้นที่เพาะปลูก ไม่เพียงพอต่อความต้องการ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม– ( 69 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

นักวิจัยค้นพบวิธีเพิ่มประสิทธิภาพของ PCR ในการตรวจหาเชื้อก่อโรคพืช

PCR (Polymerase Chain Reaction) เป็นเทคนิคที่มีประโยชน์มากต่อการตรวจวินิจฉัยโรคพืช แต่ประสิทธิภาพของเทคนิค PCR เพื่อให้ได้มาซึ่งลายพิมพ์พันธุกรรม (genetic fingerprint) เพื่อใช้ตรวจหาเชื้อก่อโรคขึ้นอยู่กับจำนวนเซลล์ของเชื้อก่อโรค โดยจำนวนเซลล์ที่เพียงพอส่งผลให้สารพันธุกรรมของเชื้อก่อโรคสามารถเพิ่มจำนวนจนเพียงพอต่อการตรวจหา อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม– ( 75 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ค้นพบวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพของเทคนิค PCR ในพืช

PCR (Polymerase Chain Reaction) เป็นเทคนิคที่ใช้เพิ่มปริมาณดีเอ็นเอที่สนใจในหลอดทดลองเพื่อให้ได้ปริมาณดีเอ็นเอที่มากพอสำหรับศึกษา แต่อย่างไรก็ตามเทคนิค PCR ไม่ประสบผลสำเร็จเมื่อนำไปใช้เพิ่มปริมาณดีเอ็นเอของพืชหลายชนิด เนื่องจากพืชเหล่านี้มีสารประกอบที่สามารถยับยั้งเทคนิค PCR ตัวอย่างเช่น สารประกอบฟีนอล (phenolic compound) ซึ่งส่วนใหญ่ได้ออกมาพร้อมๆ กับดีเอ็นเอของพืชที่แยกได้ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม– ( 76 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การค้นพบที่สำคัญเกี่ยวกับกรดอะมิโน (amino acid) จนถึงปี ค.ศ. 2003

Published on January 9, 2013 by in S&T Stories

เป็นที่รู้จักกันว่ากรดอะมิโนเป็นหน่วยย่อยของโปรตีน แต่ละชนิดมีคุณสมบัติและโครงสร้างที่แตกต่างกัน แต่หลายคนอาจสงสัยว่ามีการค้นพบที่สำคัญอะไรบ้างในช่วงตั้งแต่อดีตจนถึง ค.ศ. 2003 ที่เกี่ยวกับกรดอะมิโน การค้นพบที่สำคัญเกี่ยวกับกรดอะมิโนพบได้น้อยในช่วงเวลาดังกล่าวเมื่อเทียบการค้นพบที่สำคัญเกี่ยวกับวิตามิน เอนไซม์ และฮอร์โมน ดังได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ การค้นพบที่สำคัญในช่วงตั้งแต่อดีตจนถึง ค.ศ. 2003 เกี่ยวกับกรดอะมิโนได้รวบรวมไว้ดังนี้ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม– ( 87 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments