magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Articles posted by rungsima (Page 70)
formats

นำสิว มาถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์กำลังขยายสูง SEM และวิเคราะห์ธาตุด้วย EDS

เว็บไซต์วิชาการดอทคอม เสนอบทความเรื่อง  ภาพสิวจากกล่องจุลทรรศ์ สิวเป็นปัญหาใหญ่สำหรับคนรักสวยรักงามทั้งหลาย จึงมีการหาตัวอย่างสิวมาถ่ายที่กำลังสูง กันดูบ้าง ว่าจะอย่างไร ภาพสิวภาพแรกถ่ายด้วยกล้อง SEM จุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด ด้วย กำลังขยาย X 35 เท่า และสเกลภาพ อยู่ที่ 500 um (500 um ไมครอน= 0.5 มิลลิเมตร) ถ้านำสเกลไปเทียบกับภาพ ของเม็ดสิว เม็ดสิวจะมีขนาด 0.7-0.8 มิลลิเมตร อ่านรายละเอียด ดูภาพ ได้ที่ เว็บไซต์ วิชาการดอทคอม อ้างอิง -  เว็บไซต์วิชาการดอทคอม http://www.vcharkarn.com/vblog/115819/1/#P1– ( 130 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ไจก้าร่างแผนป้องกันน้ำท่วมลุ่มเจ้าพระยา

สำนักข่าวไทย  อสมท. นำเสนอข่าวด้านเกษตร เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2556 – มีการแถลงข่าวจาก กรมชลประทาน เรื่อง องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น  (JICA) เสนอข้อศึกษาแผนป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา โดยไทยจะต้องเพิ่มเส้นทางบายพาสน้ำที่ จ.พระนครศรีอยุธยา และวงแหวนรอบนอก ซึ่งจะช่วยผันน้ำออกสู่ทะเลได้อย่างรวดเร็ว องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า) เสนอโครงการศึกษาทบทวนแผนแม่บทการป้องกันและบรรเทาอุทกภัยในลุ่มน้ำเจ้าพระยา โดยมีนายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ   อธิบดีกรมชลประทาน เป็นประธาน นายยูซุเกะ อะมะโนะ นักวิชาการจากไจก้า กล่าวว่า ไจก้าได้สำรวจพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมในปีที่ผ่านมา โดยใช้การสำรวจทางอากาศ เทคโนโลยี จากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจะได้อัตราส่วนและการคำนวณที่ถูกต้องแม่นยำ โดยจะนำมาวิเคราะห์ให้ได้แผนสำหรับเสนอเป็นแนวป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต – ( 104 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

กาวเชื่อมกระดูก

สำนักข่าวไทย  อสมท. นำเสนอข่าวสารคดีโลก 5 ก.พ 2556 .- เทคโนโลยีใหม่ที่นักวิทยาศาสตร์สวีเดนพัฒนาขึ้นเพื่อนำมาใช้เชื่อมกระดูกที่แตกหักแทนวิธีเดิมซึ่งใช้แผ่นโลหะและตะปูยึด สิ่งที่เห็นนี้เป็นวัสดุที่นักวิทยาศาสตร์ของสถาบันเทคโนโลยีในกรุงสตอกโฮล์มใช้เวลาถึง 14 ปี ในการพัฒนาเพื่อนำมาใช้เชื่อมกระดูกที่แตกหักให้กับผู้ป่วยแทนการใช้แผ่นโลหะและตะปู ยึดชิ้นส่วนของกระดูกที่แตกหัก ที่เคยใช้กันมาหลายสิบปี ซึ่งวัสดุที่เป็นโลหะเหล่านี้จะต้องติดอยู่ในร่างกายผู้ป่วยไปตลอดชีวิต และผู้ป่วยหลายรายซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุที่มักหกล้ม และกระดูกแตกหักง่าย ก็มีปัญหากับการวางยาสลบก่อนผ่าตัด นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ากาวที่พัฒนาขึ้นจะช่วยขจัดปัญหาเหล่านี้ได้ ชมรายละเอียดภาพวิดีโอได้ที่ เว็บไซต์ สำนักข่าวไทย อสมท. http://www.mcot.net/site/content?id=5110add0150ba0ba6e0000d2#.URG1Emdhsa8– ( 86 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

จีนฮือฮาสตูดิโอถ่ายภาพ 3 มิติ

สำนักข่าวไทย  อสมท. นำเสนอข่าวต่างประเทศ ในช่วง คุยโขมงข่าวเช้า สตูดิโอถ่ายภาพ 3 มิติ แห่งแรกในกรุงปักกิ่งของจีน ที่ให้บริการถ่ายภาพด้วยเทคโนโลยี 3 มิติ ซึ่งกำลังได้รับความนิยมอย่างยิ่ง โดยลูกค้าสามารถเลือกว่าจะอัดภาพออกมาให้เป็น 3 มิติแบบเต็มตัวหรือครึ่งตัวก็ได้ ช่างภาพจะใช้กล้องชนิดพิเศษภ่ายภาพของลูกค้าในทุกมุมทั้งด้านหน้าด้านหลังและด้านข้าง   เพื่อเก็บภาพให้ได้ครบทุกมุมมอง จากนั้นจะนำภาพทั้งหมดมาตัดต่อเข้าด้วยกันด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ได้ภาพถ่ายออกมาในลักษณะ 3 มิติที่มีทั้งความสูงความกว้างและความลึก  เหมือนกับคนจริงๆ ใช้เวลา 3-5 ชั่วโมงก็เสร็จเรียบร้อย จากนั้นส่งรูปเข้าไปยังปรินเตอร์สี ที่สามารถปรินต์ภาพออกมาเป็นชั้นต่างๆ ซึ่งช่างภาพจะนำมาติดกาวชนิดพิเศษประกอบเข้าด้วยกัน   จนได้ภาพ 3 มิติ นับเป็นการถ่ายภาพและอัดภาพแนวใหม่สำหรับชาวจีนในกรุงปักกิ่ง ชมรายละเอียดภาพวิดีโอได้ที่ เว็บไซต์ สำนักข่าวไทย อสมท. http://www.mcot.net/site/content?id=51103917150ba01d6b000096#.URCWqmdhsa8– ( 82 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

องค์การอาหารและยา (FDA) สหรัฐอเมริกา อนุมัติให้ใช้หุ่นยนต์ใน รพ.

เว็บไซต์วิชาการดอทคอม เสนอบทความเรื่องนี้ว่า   บริษัท iRobot เมื่อกลางปี2012 มาบริษัท iRobot ได้ต่อยอดเทคโนโลยี AVA นี้โดยร่วมมือกับบริษัท InTouch Health ซึ่งเป็นบริษัทที่พัฒนาระบบแพทย์ทางไกล ให้เป็นหุ่นยนต์แพทย์ทางไกลตัวใหม่ที่ชื่อว่า RP-VITA (Remote Presence Virtual + Independent Telemedicine Assistant) หุ่นยนต์ RP-VITA นี้ถูกผลิตมาเพื่อให้บุคคลากรทางการแพทย์สามารถดูแลผู้ป่วยทางไกลได้อย่างง่ายดาย ไม่ต้องยุ่งยากกับเทคโนโลยี โดย RP-VIRA นี้มีระบบจดจำแผนที่   ระบบนำทาง ระบบตรวจจับและหลบหลีกสิ่งกีดขวาง ทำให้สามารถเคลื่อนที่ไปยังเป้าหมายได้เอง สามารถควบคุมผ่าน iPad ให้เคลื่อนที่ไปยังเป้าหมาย กำหนดการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ป่วย  หรือการติดต่อกับเครื่องมือแพทย์เพื่อดูบันทึกทางการแพทย์ เช่น มีพอร์ทที่เชื่อมต่อข้อมูลไปยังหูฟังการเต้นของหัวใจ (digital stethoscopes), เครืองอัลตร้าซาวน์ (ultrasounds) และ  ชุดตรวจหู (otoscopes) เป็นต้น ขณะนี้  FDA, USA อนุญาตให้นำหุ่นยนต์นี้  ใช้ในโรงพยาบาลได้ อ่านรายละเอียด ได้ที่

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

นักวิทยาศาสตร์ ใกล้ค้นพบยาป้องกันอัลไซเมอร์

เว็บไซต์วิชาการดอทคอม นำเสนอบทความเรื่องนี้ นักวิทยาศาสตร์เข้าใกล้การค้นพบยาป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้แล้ว และน่าจะเข้าสู่ขั้นตอนการทดสอบทางคลินิกต่อไปในอีกสองสามปีข้างหน้านี้ โรคอัลไซเมอร์เป็นโรคทางประสาทที่พบกันบ่อยที่สุด ประมาณการณ์ว่าในปี 2006 มีประชากร 26.6 ล้านคนทั่วโลกที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ และมีแนวโน้มว่าภายในปี 2050  จะเพิ่มมากขึ้นเป็นสองเท่า โรคนี้เกิดจากโปรตีนที่เรียกว่า อะไมลอยด์-เบตา (A?) เริ่มจับตัวกันเป็นก้อนที่เรียกว่า ซีไนล์ พลาก (senile plaques)ในสมอง ซึ่งจะไปทำลายเซลล์ประสาท ส่งผลให้สูญเสียความทรงจำ และเกิดความสับสนในชีวิต – ( 89 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สุดยอดภาพถ่ายดาราศาสตร์ประจำปี 2555

เว็บไซต์วิชาการดอทคอม  เชิญชวนผู้สนใจใน ดาราศาสตร์ ชมภาพถ่ายความสวยงามของท้องฟ้า จากแมกกาซีน National Geogarphic  (Space Pictures of  2012)   ที่ทีมงาน วิชาการดอทคอมเรียบเรียงคำอธิบาย ประกอบด้วย ภาพถ่ายที่ดีที่สุดทางดาราศาสตร์ อวกาศ   20 ภาพ  ให้รายละเอียดที่ชัดเจน สวยงามมาก ได้แก่ 1. เนบิวลาเกลียว (Helix Nebula) 2. คืนดาวหมุน (Nightly Swirl) 3. แสงสีท้องฟ้าตอนใต้ (Southern Sky Show) 4. ไม้กวาดแม่มด (Witch’s Broom) 5. แสงเหนือเยือกแข็ง (Arctic Aurora) 6. เกร็ดน้ำแข็งดาวอังคาร (Frosty Mars) 7. ตะวันเสี้ยวยิ้ม (“Smiley” Eclipse) 8. รูปถ่ายใบหน้ากลางอวกาศ (Space Self-Portrait) 9.

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

100 เหตุการณ์สำคัญทางวิทยาศาสตร์ในปี 2012

แมกกาซีนด้านวิทยาศาสตร์   Discover – Science, Technology and The Future   เป็นแมกกาซีนวิทยาศาสตร์สำหรับผู้อ่านทั่วไป ตีพิมพ์ในสหรัฐอเมริกา ในฉบับ เดือน มกราคม – กุมภาพันธ์ 2013  หน้าปก แสดงข้อความหลัก – The Year in Science : 100 Top Stories of  2012. เนื้อหาภายในเล่มนำเสนอข้อมูล เกี่ยวกับเหตุการณ์ เรื่องราวที่สำคัญ ทางวิทยาศาสตร์ในระดับโลก  100 เรื่อง ที่เกิดขึ้นในปี 2012  โดยเหตุการณ์ที่ 1-10  ได้แก่ เหตุการณ์ที่ 1 – Found : The God Particle  นักฟิสิกส์ค้นพบ อนุภาคพระเจ้า หรือ อนุภาคฮิกส์ เหตุการณ์ที่ 2 –

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

วารสาร Scientific American, SA ฉบับส่งท้ายปี 2012

วารสารวิทยาศาสตร์ชื่อดังระดับโลก Scientific American  ที่นำเสนอ บทความทางวิทยาศาสตร์ เหตุการณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ ด้วยภาษาไม่วิชาการมากเกินไป ทำให้ผู้อ่านทั่วไปที่สนใจในเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์ระดับโลก สามารถเข้าใจได้ง่าย โดยในฉบับเดือนธันวาคม 2012 หน้าปก แสดงภาพรูปภาพสมองมนุษย์ พร้อมข้อความหลัก โลกเปลี่ยนแปลงไอเดีย : 10 นวัตกรรมที่เกิดขึ้นมาใหม่ จากห้องแลปส์ เป็นความฝันของนักวิทยาศาสตร์และวิศวกร  ที่จะช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตผู้คน (World changing ideas : 10 Practical Innovations Emerge from the Lab to Improve Our Lives.) รายละเอียดในหน้าที่ 20-31 โดยแสดง  10 นวัตกรรม ได้แก่ – การสร้างชีวิตขึ้นใหม่ โดยไม่ต้องการใช้ ดีเอ็นเอ (New Life-Forms, No DNA Required )  การประดิษฐ์สิ่งชีวิตจาก โมเลกุลมนุษย์อาจพัฒนและเจริญเติบโตได้  รายละเอียด

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สำนักพิมพ์ผู้ล่าเหยื่อ (Predatory publishers)

ชุมชนวิจัยไทย คงจะรู้จักรายการรายชื่อสำนักพิมพ์ และ รายชื่อวารสารของ Beall เป็นอย่างดี (Beall’s List) ซึ่งใน ขณะนี้ประชาคมวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั่วโลกกำลังตื่นตัวในเรื่องข้างต้นเป็นอย่างมาก จากข้อมูลชุด Beall’s List of  scholarly open-access publisherss ที่เป็นรายการรายชื่อสำนักพิมพ์ รายชื่อวารสาร ที่เข้าข่ายน่าสงสัย มีพิรุธ เป็นลักษณะจอมปลอม   หลอกลวง บรรณารักษ์ชื่อ Jeffrey Beall  (Metadata Librarian) แห่งมหาวิทยาลัยโคโลราโด เดนเวอร์ สหรัฐอเมริกา ได้เริ่มศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ predatory publishers ในปี 2008 ซึ่งจากเดิมที่สนใจ ติดตาม เรียนรู้เกี่ยวกับการตีพิมพ์งานวิจัยแบบเปิด   (scholarly open-access publishing)  มาก่อนหน้านี้ จากนั้นได้เริ่มเขียนบล็อก เพื่อแบ่งปันชุมชนวิจัยให้รับทราบและระมัดระวัง  บล็อกของเขาได้รับความสนใจอย่างยิ่งมีเสียงเชียร์ดังก้องจากประชาคมวิจัยทั่วโลก โดยมีการเผยแพร่รายการชื่อ สำนักพิมพ์ที่น่าสงสัยมีพิรุธ  (ประมาณ 200 ชื่อสำนักพิมพ์และ 38 ชื่อวารสาร) ที่ http://scholarlyoa.com/publishers/

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments