magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Articles posted by pornpan (Page 11)
formats

ปัญหาพฤติกรรมของเด็กกับโรคร้ายในวัยโต

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง ปัญหาพฤติกรรมของเด็กกับโรคร้ายในวัยโต เด็กที่มีปัญหาด้านพฤติกรรมอาจจะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรังในวัยผู้ใหญ่ ทั้งโรคหัวใจ โรคอ้วน เบาหวาน ตลอดจนโรคติดเชื้อต่างๆ ได้ง่าย – ( 60 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สินสมรส รู้ไว้ก่อนปลอดปัญหาหลังแต่งงาน

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอบทความเรื่อง  สินสมรส รู้ไว้ก่อนปลอดปัญหาหลังแต่งงาน ผู้อ่านที่มีคู่ชีวิตในฐานะสามีภรรยาที่ “จดทะเบียนสมรส” ทุกคู่ควรรู้ ส่วนใครที่แม้จะแต่งงานกันเป็นที่รับรู้ของสังคมแต่ “ไม่ได้จดทะเบียนสมรส” ก็อ่านไว้เป็นความรู้รอบตัว เพราะว่าความไม่เข้าใจเรื่อง “กฎหมายสินสมรส” นี่เองที่ทำให้สามีภรรยาที่จดทะเบียน สมรสต้องมีเรื่องราวกันมานักต่อนักแล้ว เพราะยามรักกันดีมักไม่มีปัญหา แต่ปัญหาก็จะเกิดก็ต่อเมื่อชีวิตคู่เริ่มไม่ลงรอยกันและต้องการหย่านั่นเอง หรือไม่เรื่องทรัพย์สินก็กลายเป็นประเด็นให้เกิดการหย่าด้วยซ้ำไป รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/varticle/57077– ( 42 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

โรคที่มากับหน้าฝนที่ทุกคนต้องระวัง

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอบทความเรื่อง โรคที่มากับหน้าฝนที่ทุกคนต้องระวัง หน้าฝนมีสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อยและมีความชื้นสูงเป็นช่วงที่โรคประจำฤดูฝนแพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็ว ซึ่งหากคุณดูแลสุขภาพไม่ดีพอก็จะทำให้เจ็บป่วยได้ง่ายๆ โรคที่คุ้นเคยกันดีสำหรับเด็กเล็กและผู้สูงอายุ เช่น โรคหวัด โรคน้ำกัดเท้า โรคมือเท้าปาก แต่ยังมีโรคอื่นๆ ที่ระบาดมากในหน้าฝนที่คุณควรทราบและต้องระวังอีกดังนี้ โรคที่ติดต่อทางน้ำและทางเดินอาหาร  โรคไข้เลือดออก   โรคฉี่หนู หรือโรคเลปโตสไปโรซิล รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/varticle/57082– ( 50 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ออกจากกรงที่ขังตัวเอง

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอบทความเรื่อง “ออกจากกรงที่ขังตัวเอง” จะว่าไปแล้ว… ปัญหาของคนในยุคนี้ก็คือ “มีข่าวสารข้อมูลมากเกินไป” จนไม่รู้จะจัดการกับมันอย่างไรดี ทุกวันนี้ข่าวสารข้อมูลมาจากทุกทิศทุกทาง แค่จากโทรทัศน์ซึ่งมีอยู่นับร้อยช่องก็เกินพอแล้ว นอกจากนั้นยังมีหนังสือพิมพ์และนิตยสาร มีเว็บไซต์นับสิบที่อยากอ่าน อีเมล์มากมายที่ต้องตอบ Twitter Facebook  หลายเพจที่ต้องเปิด YouTube นับสิบคลิปที่ชวนดูโทรศัพท์ที่มาในรูปของเสียง SMS อีกด้วย ที่ว่านี้เฉพาะข่าวสารข้อมูลที่เราอยากรับรู้ ยังมีอีกมากที่เราไม่สนใจแต่ก็โผล่มาให้เห็นตามป้ายโฆษณานับร้อยๆ ในแต่ละวัน แล้วข้อมูลที่ต้องอ่านต้องเจอระหว่างการทำงานอีกล่ะ…ไม่ผิดหากจะพูดว่าคนทุกวันนี้กำลังถูกข้อมูลท่วมทับ วิธีหนึ่งที่จะช่วยทลายกรงขังดังกล่าวก็คือ การพยายาม  “เปิดใจรับรู้ข่าวสารข้อมูลและความเห็นที่หลากหลาย” ด้วยการเข้าหาแหล่งข้อมูลที่มีจุดยืนหรือความเห็นไม่ตรงกับตนเองบ้าง ไม่ใช่เพื่อรู้ว่าเขาคิดอะไรเท่านั้น แต่เพื่อรับฟัง ไตร่ตรอง และเทียบเคียงกับข้อมูลที่ตนมี ในเวลาเดียวกันก็ควรขยายแวดวงผู้ที่ตนติดต่อสื่อสารให้กว้างขวางขึ้น รวมไปถึงคนที่คิดต่างจากเราด้วย เพื่อตรวจทานความเห็นของตน รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/varticle/57089– ( 43 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

พลังงานสะอาด…แสงอาทิตย์บนดินแดนหลังคาโลก (ทิเบต)

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอบทความเรื่อง พลังงานสะอาด…แสงอาทิตย์บนดินแดนหลังคาโลก (ทิเบต) ตลอด 2-3 ปีที่ผ่านมา ทิเบตกำลังมุ่งหน้าสู่ความเป็น “ดินแดนพลังสะอาด” แทบทุกหนทุกแห่งในกรุงลาซาตลอดจนชนบทที่ห่างไกล จะพบเครื่องใช้ไฟฟ้าที่อาศัยพลังงานแสงอาทิตย์ (รวมถึงพลังงานชีวภาพและพลังงานลม) สมกับเป็นประเทศรุ่มรวยแสงอาทิตย์มากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก คือสามารถรับแสงแดดเฉลี่ยถึง 3,000 ชั่วโมงต่อปี เหตุนี้เองชาวทิเบตจึงมีเครื่องน้ำร้อนและฮีตเตอร์จากพลังงานแสงอาทิตย์ใช้กันแทบทุกบ้านเพื่อใช้งานยามฤดูหนาวรวมถึงเตาอบอาหารที่แต่เดิมใช้น้ำมันจามรีเป็นเชื้อเพลิง ก็เปลี่ยนมาเป็นการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ ซึ่งมีมากถึง 395,000 ครัวเรือน หม่าเฉิงเจีย ผู้อำนวยการกรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเขตกครองตนเองทิเบต เล่าถึงพลังงานสะอาดนี้ว่า “ในอดีตคนทิเบตขาดแคลนไฟฟ้าเฉลี่ย 25 ล้านกิโลวัตต์ต่อชั่วโมง แต่ตอนนี้เรามีพลังงานแสงอาทิตย์ที่ยิ่งใหญ่และแก้ไขปัญหานี้ได้แล้ว” รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/varticle/57049– ( 58 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
1 Comment  comments 
formats

กิน (พอ) ดี เพื่ออยู่พอดี

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอบทความเรื่อง กิน (พอ) ดี เพื่ออยู่พอดี ตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานของมนุษยชาติ เรื่องกินเป็นเรื่องใหญ่เสมอ ไม่เพียงแต่เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญต่อการอยู่รอดและสืบทอดเผ่าพันธุ์เท่านั้น แต่อาหารการกินยังมีบทบาทต่อทุกมิติชีวิตมาตั้งแต่อดีต เป็นกิจกรรมที่ทุกคนต้องทำเพื่อบำรุงร่างกายและสติปัญญา เป็นนัยสำคัญต่อการเลือกสถานที่ตั้งถิ่นฐาน เป็นปัจจัยเชื่อมโยงดินแดนคนละฟากโลกบนเส้นทางสายการค้า เป็นเครื่องแสดงความงดงามของวัฒนธรรมประเพณี เป็นแม้แต่เหตุผลในการก่อสงครามหรือปลดแอกประเทศสู่อิสรภาพ แต่ความจริงอันหลีกเลี่ยงไม่ได้อีกประการหนึ่งคือ การกินเป็นกิจกรรมที่ส่งผลกระทบทั้งต่อปัจเจกชนและสิ่งแวดล้อม แม้เทคโนโลยีที่ก้าวล้ำจะทำให้เราดูเหมือนอยู่ดีกินดี และสะดวกสบายในเรื่องการกินมากกว่าบรรพบุรุษที่ต้องออกล่าเหยื่อพร้อมหอกหรือหน้าไม้ แต่อาหารของคนรุ่นเรากลับมีคุณภาพด้อยกว่ามาก จากที่เคยมั่นใจว่าอาหารเป็นยา ทว่าในปัจจุบัน ด้วยระบบอุตสาหกรรมการผลิตอาหารทำให้ไม่แน่เสียแล้วว่าอาหารที่เรากินนั้นจะป้องกันและรักษาโรคได้ ในเมื่อมีความจริงอยู่ว่า อาหาร (ตลอดจนพฤติกรรมการกินของเรา) ในศตวรรษนี้ กลับเป็นต้นเหตุของโรคร้ายหลายชนิด รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/varticle/57096– ( 56 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

วิลเลียม มอร์ตัน ผู้นำอีเทอร์มาใช้เป็นยาสลบ

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอบทความเรื่อง วิลเลียม มอร์ตัน ผู้นำอีเทอร์มาใช้เป็นยาสลบ ในอดีตมีผู้คนมากมายต้องเสียชีวิตจากการเข้ารับการผ่าตัด  สาเหตุก็เนื่องมาจากการทนพิษบาดแผลไม่ไหว  และยังมีอีกหลายคนที่ยอมเสี่ยงทนทุกข์จากโรค  เพื่อหลีกเลี่ยงการรักษาด้วยการผ่าตัด  เนื่องจากไม่อยากเจ็บปวดและทนทรมานจากบาดแผลผ่าตัด  เพราะสมัยก่อนนั้นยังไม่มีการใช้ยาสลบ  เพื่อช่วยบรรเทาความเจ็บของผู้ป่วยนั่นเอง ความจริงจะว่าไปแล้ว  “ยาสลบ”  นับเป็นกุญแจสำคัญที่สุดในวิชาด้านการแพทย์ศัลยศาสตร์  โดยมีมากว่า 200 กว่าปีแล้ว   ในยุคแรก ๆ นั้น แพทย์ได้ใช้ฝิ่น  มอร์ฟีน แอลกอฮอล์รวมไปถึงวิธีการสะกดจิต  เพื่อช่วยให้คนไข้เบี่ยงเบนให้คนไข้ลืมความเจ็บปวดจากการผ่าตัด  ต่อมาจึงได้มีการใช้ “ก๊าซไนตรัสออกไซด์”  หรือเรียกกันว่า “ก๊าซหัวเราะ”  เนื่องจากสูดดมแล้วให้ความรู้สึกเคลิ้มสุขหรือครึ้มใจ แต่ใช่ว่าก๊าซไนตรัสออกไซด์นี้จะสามารถนำมาใช้เป็นยาสลบได้เป็นอย่างดีซะทีเดียว  เพราะเนื่องจากประสิทธิภาพของมันไม่สามารถทำให้คนไข้หมดสติได้นาน  ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาได้ระหว่างการผ่าตัดจนกระทั่งมีผู้นำเอาสารเคมี อย่าง “อีเทอร์” มาใช้เป็นยาสลบ โดยผ่านทางวิธีการสูดดมเป็นครั้งแรกในการผ่าตัด  นั่นก็คือ “วิลเลียม  มอร์ตัน”  (William T. G. Morton)  ทันตแพทย์ชาวอเมริกัน รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/varticle/57230  – ( 60 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ประวัติการค้นพบ “ฮอร์โมน”

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอบทความเรื่อง ประวัติการค้นพบ “ฮอร์โมน” หากพูดถึง “ฮอร์โมน”  เวลานี้เหล่าบรรดาวัยรุ่นทั้งหลายคงนึกถึงละครซีรีย์ชื่อดังอย่าง  “ฮอร์โมน วัยว้าวุ่น”  ละครซีรีย์ฮอตเกาะกระแสสังคม  ผลิตโดยจีทีเอช และนาดาวบางกอก  ซึ่งออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์จานดาวเทียมจีเอ็มเอ็มวัน  ละครซีรีย์เรื่องนี้มีการนำเสนอเรื่องราวชีวิตของวัยรุ่น โดยตีแผ่ด้านมืดของชีวิตวัยรุ่นในสังคมยุคปัจจุบันอย่างชัดเจน  โดยมีการนำเอาชื่อของฮอร์โมนต่าง ๆ มาใช้เปรียบเทียบและสะท้อนบุคลิกของตัวละครนั้น ๆ แต่ในความเป็นจริงทางวิทยาศาสตร์แล้ว ฮอร์โมนไม่ได้เกี่ยวข้องกับตัวเราแค่ในเฉพาะวัยว้าวุ่นอย่างวัยรุ่นเท่านั้น แต่ยังมีความสำคัญเกี่ยวข้องต่อการเจริญเติบโตและใช้ชีวิตในทุกเพศทุกวัยตั้งแต่เกิดจนกระทั่งแก่เฒ่าอีกด้วย แต่หากจะกล่าวถึงประวัติการค้นพบฮอร์โมนนั้นคงเริ่มจากการทดลองของ ศาสตราจารย์ อาร์โนลด์ เอ. เบอร์โทลด์ (Professor Arnold A. Berthold) นักสรีรวิทยาชาวเยอรมัน  รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/varticle/57149– ( 78 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การผ่าตัดครั้งแรกในประเทศไทย

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอบทความเรื่อง  การผ่าตัดครั้งแรกในประเทศไทย วิธีการรักษาคนไข้ที่แพทย์ใช้รักษานั้นมีหลากหลายวิธี  เริ่มจากการใช้สมุนไพร  ยารักษาโรค  การฉีดวัคซีนป้องกัน  หรือแม้กระทั่งใช้วิธี “การผ่าตัด”  หรือที่เรียกกันว่าการแพทย์ด้าน “ศัลยศาสตร์”   ซึ่งเป็นการแพทย์เฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องมือการผ่าตัดเข้าในร่างกายของผู้ป่วย  เพื่อค้นหาอาการหรือรักษาความผิดปกติของโรคหรืออาการบาดเจ็บ การผ่าตัด  นับเป็นวิธีการที่แพทย์ใช้รักษาคนไข้ซึ่งมีวิวัฒนาการมายาวนาน   รู้หรือไม่ว่าแท้จริงแล้ว  มนุษย์รู้จักการผ่าตัดมานานกว่า 6500 ปีแล้ว  โดยมีการค้นพบหลักฐานการใช้เครื่องมือโบราณเพื่อเจาะกระโหลกศีรษะทั้งสองข้างให้เป็นรู  เรียกวิธีการนี้ว่า ทรีแพนนิ่ง (Trepanning)   ซึ่งเชื่อว่าสามารถรักษาโรคทางสมอง เช่น โรคลมชัก ปวดศีรษะ ไมเกรน  และโรคทางจิตเวชได้  โดยมีการขุดพบโครงกระดูกโบราณที่มีการเจาะกระโหลก ทั้งในยุโรป เอเชีย และชาวอินเดียนแดง  รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/varticle/57358– ( 55 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ขาวๆ ด่างๆ กับ โรโดดีนอล

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอบทความเรื่อง ขาวๆ ด่างๆ กับ โรโดดีนอล (RHODODENOL) จากข่าวการเรียกคืนสินค้าของบริษัทผู้ผลิตเครื่องสำอางยี่ห้อ คาเนโบ (Kanebo) ในช่วงเดือนสองเดือนที่ผ่านมา เนื่องจากผลิตภัณฑ์ปรับผิวขาวกระจ่างใสดังกล่าวอาจผสมสารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ 4-HPB หรือโรโดดีนอล (RHODODENOL) จาก 10 ประเทศทั่วเอเชีย โดยอาการแพ้ที่เกิดขึ้นจะทำให้ผิวหน้าเกิดรอยด่างหลังจากใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษัท  รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/varticle/57435– ( 56 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments