magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Health ประเภทของชาเขียวญี่ปุ่น
formats

ประเภทของชาเขียวญี่ปุ่น

ปัจจุบันมีร้านเครื่องดื่มชงสดประเภทกาแฟ ชา ผุดขึ้นมากมาย …. ในนามของร้าน “กาแฟสด” ซึ่งเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมสูงสุด แต่ถ้าจะให้เปรียบเทียบกันในระดับโลกเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมสูงรองลงมาจาก “น้ำเปล่า” นั่นก็คือ “น้ำชา”

ชา เป็นเครื่องดื่มที่มีกลิ่นหอมที่นุ่มนวล เมื่อดื่มแล้วทำให้ร่างกายสดชื่น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ผู้คนนิยมดื่มชากันอย่างแพร่หลาย สำหรับใบชาที่ได้รับความนิยมดื่มกันอยู่ในปัจจุบันแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ ชาจีน ชาเขียว และชาฝรั่ง ซึ่งชาแต่ละชนิดนั้นมีกรรมวิธีในการผลิตที่แตกต่างกัน แต่หากจะถามว่าแล้วชาชนิดไหนมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากที่สุดคำตอบคือ “ชาเขียว” นั่นเอง

ชาเขียว (green tea) ได้ชื่อว่าเป็นชาที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากที่สุด ซึ่งชาเขียวนี้เป็นชาที่ไม่ผ่านกรรมวิธีการหมักทำให้ใบชานั้นไม่สูญเสียองค์ประกอบที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพไปในระหว่างการหมักเหมือนกับชาฝรั่ง ใบชาเขียวที่นำมาชงดื่มกันนั้นได้มาจากการทำใบชาให้แห้งที่อุณหภูมิสูงอย่างรวดเร็ว จึงทำให้ใบชานั้นแห้งแต่ยังคงความมีสีเขียวและมีคุณภาพที่ดีเฉกเช่นใบชาสด และเมื่อนำใบชาที่ได้นี้มาชงกับน้ำร้อนแล้วจะได้น้ำชาสีเขียว หรือสีเหลือง หรือสีอมเขียว ไม่มีกลิ่น แต่จะมีรสชาติฝาดกว่าชาจีนนิดหน่อย

ชาเขียวนั้นมี 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ชาเขียวแบบญี่ปุ่น และชาเขียวแบบจีน ซึ่งแตกต่างกันตรงที่ชาเขียวแบบจีนจะมีการคั่วด้วยกระทะร้อน แต่ชาเขียวแบบญี่ปุ่นไม่ต้องคั่ว ใบชาเขียวมีสารอาหารพวกโปรตีน น้ำตาลเล็กน้อย และมีวิตามินอีสูง แต่อย่างไรก็ดีมีรายงานว่าวิตามินเอและวิตามินอีที่มีอยู่ในใบชาจะสูญเสียไปเกือบหมดถ้าใช้ระยะเวลาในการชงนานจนเกินไป ส่วนปริมาณของแคลเซียม เหล็ก และวิตามินซีจะสูญเสียไปประมาณ ครึ่งหนึ่ง แต่มีรายงานจากประเทศญี่ปุ่นว่า ถ้าเราสามารถรับประทานใบชาเขียวแห้ง 6 กรัมต่อวัน จะทำให้ร่างกายได้รับวิตามินอี และวิตามินเอถึงร้อยละ 50 และ 20 ของปริมาณที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน ตามลำดับ ในประเทศญี่ปุ่นจึงมีการผลิตชาเขียว ในรูปผงสำหรับบริโภคขึ้น ซึ่งสามารถเติมลงในอาหารหลายชนิด ตั้งแต่อาหารญี่ปุ่นจนถึงสเต็ก แฮมเบอร์เกอร์ สปาเกตตี้ และสลัด

วันนี้จะขอนำทุกท่านไปรู้จักกับประเภทของชาเขียวญี่ปุ่นว่าที่เราดื่มกันอยู่นั้น หรือได้เห็นชื่อชาเขียวในร้านอาหารญี่ปุ่นั้นเป็นชาประเภทใดกันบ้าง


  • Gyokuro ( 玉露) ซึ่งเป็นชาติที่มีคุณภาพสูงมีระดับที่สุด เพราะเป็นชา ichibancha ชาแรกของปี รสหวานกำลังดี ความฝาดน้อยมาก มีปริมาณเก็บเกี่ยวเก็บค่อนข้างน้อย ราคาจึงแพง เพราะฉะนั้นเค้าจะเน้นใช้ในงานที่พิธีการ ชาชนิดนี้จะถูกดูแลอย่างดีในร่มไม่โดนแดดถึงก่อนเก็บเกี่ยวประมาณสามอาทิตย์ หลังจากเก็บเกี่ยวจะถูกอบและนวดใบชา ลักษณะที่ดีของชาเกียวโระคุคือม้วนตัวเรียวสีเข้มอย่างสวยงาม
  • Tencha ( 碾茶) เป็นชาที่มีลักษณะไม่ม้วนตัวสวยงามเหมือนชาเกียวโระคุ จึงถูกแยกออกมาเพื่อนำไปอบและบดให้ละเอียดจนกลายเป็น ชามัทฉะ
  • Matcha (抹茶) เป็นชาที่ดีมีคุณภาพราคาแพงเหมือนกัน แต่ถูกผลิตออกมาในรูปแบบผงชาบดละเอียด มักจะนำไปใช้ในพิธีชงชาสไตล์ญี่ปุ่น ปลูกเหมือนกับชาเกียวโระคุ ชามัทฉะนั้นสามารแบ่งออกได้หลายเกรด เพื่อนำไปผสมกับอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อเพิ่มสีสันและรสชาติ เช่นนำไปทำขนมโมจิ ขนมเค้ก ขนมญี่ปุ่น ขนมวากาชิ ไอศครีมชาเขียว น้ำปั่น และอาหารประเภทเส้นก็ได้
  • Konacha (粉茶) ทำมาจากชิ้นส่วนเล็กๆ น้อยที่แยกมาจาก ชาเกียวคุโระ และ ชาเซนฉะ สามารถหาซื่อในตลาดทั่วไปในชื่อ Gyokuroko หรือ Gyokurokocha ก็ได้ ราคาจะถูกกว่าชาชั้นดีทั้งสอง และมักถูกเสริฟในร้านขายซูชิ
  • Sencha (煎茶) เป็นชาที่มีคุณภาพรองลงมาจากชา เกียวโระคุ และ มัทฉะ เป็นชาที่มีการผลิตมากที่สุดในประเทศญี่ปุ่น สามารถเก็บเกี่ยวในช่วงแรกหรือช่วงที่สองก็ได้ ชาประเภทนี้จะนำมาผลิตเป็นชาเขียวให้คนญี่ปุ่นใช้ดื่มในชีวิตประจำวัน เป็นใบชาที่สามารถโดนแดดได้อย่างเต็มที่จนถึงเวลาเก็บเกี่ยว จากนั้นจะนำใบชาไปอบไอน้ำอย่างเร็วไว เพื่อหยุดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของเอนไซม์ เพราะจะทำให้คงสภาพสีและกลิ่นของของชาเอาไว้ได้
  • Fukamushicha (深蒸し茶) เป็นชาชนิดเดียวกับชา เซนฉะ แต่จะผ่านวิธีการผลิตแตกต่างกันนิดหน่อยตรงที่นำไปอบนานเป็นสองเท่าของชาเซนฉะ แต่เวลาต้มชาออกมาน้ำชาจะมีสีเข้มหม่นๆ กว่าชาเซนฉะ รสชาติเข้มข้นและหวานกว่า
  • Kabusecha (冠茶) เป็นชาประเภทเดียวกับชาเซนฉะ แต่ก่อนเก็บเกี่ยวประมาณ 20 วันจะถูกปกคลุมไปด้วยตาข่าย รสชาติจะอ่อนกว่าชาเซนฉะ
  • Kawayanagi (川柳) เป็นชาที่ทำมาจากใบอ่อนขนาดใหญ่ของ ชาคาบุเซะชะ และ ชาเซนชะ รสชาติเบาๆ
  • Bancha (番茶) เป็นชาที่เก็บหลังจาก ชาเซนฉะ  สามารถเก็บเกี่ยวในช่วงที่สามหรือช่วงที่สี่ คุณภาพจะรองลงมาจากชาเซนฉะอีก เป็นใบชาที่เหลืออยู่ที่ยอดชา จะมีขนาดใหญ่กว่าที่นำไปผลิตเป็นชาเซนฉะ หลังจากนั้นก็นำมานวดเล็กน้อย รสชาติจะอ่อนๆ
  • Genmaicha (玄米茶) เรียกว่า ชาข้าวกล้อง หรือชาข้าวโพดก็ได้ เพราะเวลาคั่วข้าว เมล็ดข้าวจะพองโตเหมือนเมล็ดข้าวโพด เป็นชาที่นำข้าวกล้องคั่วมาผสมกับชาบันฉะ ในสมัยก่อนเป็นเครื่องดื่มของคนยากคนจน และพระ เพราะชามีราคาแพง แค่มีชาเขียวเสริมคุณค่าด้วยข้าวกล้องคั่วก็หอมอร่อยได้เหมือนกัน ชาประเภทนี้เป็นที่รู้จักกันว่า เป็นชาของผู้คนอย่างแท้จริง
  • Aracha (荒茶) เป็นชาเขียวดิบ ที่ผลิตมาจากทั้งใบและส่วนก้านของชา จากนั้นจะนำมาอบและรีดให้แห้ง เป็นชาที่ให้รสชาติเข้มข้นมาก ส่วนใหญ่ชาชนิดนี้จะนำไปผสมกับชาอื่นๆ เพื่อเพิ่มรสชาติเฉพาะตัวที่เข้มข้นขึ้น
  • Tamaryokucha (玉绿茶) หรือรู้จักกันทั่วไปในชื่อ Guricha (ぐり茶) เป็นชาที่ลักษณะใบชาแห้งหยิก เป็นคลื่นๆ เล็กน้อย มีรสฝาดน้อยมีกลิ่นหอมเบาๆ เหมือนลูกเบอร์รี่
  • Kamairicha (釜炒り茶) เป็นชาที่ผลิตมาจาก จังหวัด Nagasaki เป็นส่วนใหญ่ ชาประเภทนี้จะนำไปคั่วในกะทะกลิ้งไปกลิ้งมา มีรสหวานหอม รสชาติอ่อนโยน
  • Kukicha (茎茶) มีอีกชื่อหนึ่งว่า Boucha (棒茶) เป็นชาที่เป็นผลพลอยได้มาจากลำต้นและก้านของ ชาเซนฉะ หรือ ชามัทฉะ มีใบชาผสมน้อยมาก มีรสชาติหวาน สามารถนำไปผสมกับน้ำผลไม้สำหรับเด็กๆ ได้ด้วย
  • Karigane (雁ヶ音) หรือ Shiraore (白折) เป็นชาที่เป็นผลพลอยได้มาจากก้านของชาเกียวโระคุ  มีรสชาติหวาน สามารถนำไปผสมกับน้ำผลไม้สำหรับเด็กๆ ได้ด้วยเช่นกัน
  • Mecha (芽茶) เป็นชาที่เก็บเกี่ยวในฤดูใบไม้ผลิ โดยการนำเอาใบและก้านที่แยกมาจาก ชาเกียวโระคุ และชาเซนฉะมาอบและรีดรวมๆ กัน เป็นชาที่มักจะเสริฟที่ร้านซูชิเพื่อล้างรสคาวที่เพดานปาก รสชาติเข้มข้นขมฝาดพอประมาณ
  • Houjicha ( ほうじ茶) เป็นชาในช่วงเก็บเกี่ยวครั้งสุดท้ายแล้ว ทำมาจากชา บันฉะ, เซนฉะ, คิคุฉะ ผสมๆ แล้วก็มีกิ่งชาผสมอยู่ด้วยจากนั้นนำไปคั่วในไฟร้อน เพื่อลดรสชาติที่ฝาดของชา เป็นชาที่ให้ความรู้สึกอ่อนโยน ดื่มสบายๆ ในระหว่างหรือหลังมื้อเย็นของบ้าน สามารถทานก่อนที่จะเข้านอนก็ได้ เป็นที่โปรดปรานของผู้สูงอายุและเด็กพอตัวเลยทีเดียว
  • Funmatsucha ( 粉末茶) คือ ชาเขียวชนิดผงสำเร็จรูป พกสะดวก ชงง่าย สไตล์คนสมัยใหม่

แหล่งข้อมูล :
ประเภทของชาเขียวญี่ปุ่น. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้ที่ : http://guru.sanook.com/pedia/topic/ประเภทของชาเขียวญี่ปุ่น. (วันที่ค้นข้อมูล 8 ธันวาคม 2555).
ชาเขียว….เพื่อสุขภาพ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้ที่ : http://www.school.net.th/library/snet4/july8/grn_tea.htm. (วันที่ค้นข้อมูล 8 ธันวาคม 2555).– ( 5219 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


8 − seven =

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>