magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก การเปลี่ยนสีของท้องฟ้า
formats

การเปลี่ยนสีของท้องฟ้า

เคยสงสัยกันหรือไม่ว่าทำไมในตอนเช้าๆ ที่ท้องฟ้าโปร่งนั้นท้องฟ้าจะมีสีฟ้าสดใส และหากเรามองท้องฟ้าอีกครั้ง ณ จุดเดิมในตอนเย็นท้องฟ้าที่เคยเห็นเป็นสีฟ้าสดใสนั้นกลับเปลี่ยนเป็นสีส้มหรือสีแดงส่องประกาย….. และสาเหตุที่ทำให้ท้องฟ้าเปลี่ยนสีมาจาก 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ชั้นบรรยากาศของโลก และ เรื่องราวของแสง


เหตุที่ท้องฟ้าเปลี่ยนสีได้ก็เพราะโลกมีชั้นบรรยากาศที่เต็มไปด้วยโมเลกุล และฝุ่นมากมายปกคลุมอยู่ เมื่อแสงอาทิตย์เคลื่อนที่มาตกกระทบกับอนุภาคเหล่านี้ แสงจะกระจัดกระจายไปโดนรอบ หรือเกิด “ปรากฏการณ์การกระเจิงของแสง” (Scattering of light) ขึ้น และด้วยความที่คลื่นแสงแต่ละสีมีขนาดความยาวคลื่นไม่เท่ากัน เมื่อตกกระทบโมเลกุลในอากาศ ก็จะเกิดการกระเจิงของแสงที่แตกต่างกันออกไป ลองเปรียบเทียบกับการที่คลื่นของน้ำ (ความยาวคลื่นของแสง)เมื่อกระแทกกับเขื่อน(โมเลกุลในอากาศ) ถ้าขนาดของคลื่นเล็กกว่าเขื่อน คลื่นก็จะกระเจิงหรือสะท้อนกลับ แต่ถ้าขนาดของคลื่นใหญ่กว่าเขื่อน (l>d) คลื่นก็จะเคลื่อนที่ข้ามเขื่อนไปได้จากความสัมพันธ์ทั้งหมดสามารถไขปริศนาให้เรารู้ว่าท้องฟ้ามีสีฟ้าในตอนกลางวันก็เพราะตอนกลางวันดวงอาทิตย์ทำมุมชัน (เกือบตั้งฉาก) กับพื้นโลก ทำให้ระยะทางในการเดินทางของแสงสั้นลง โมเลกุลของอากาศที่เป็นอุปสรรคที่กีดขวางการเดินทางของแสงมีเบาบาง ทำให้แสงสีม่วง แสงสีคราม และแสงสีน้ำเงิน ที่มีความยาวคลื่นเล็กกว่าโมเลกุลของอากาศจึงกระเจิงไปบนท้องฟ้าในหลายทิศทาง เราจึงมองเห็นท้องฟ้าเป็นสีฟ้า ยิ่งถ้าโมเลกุลในอากาศมีน้อยลงเท่าไหร่ ท้องฟ้าที่เห็นก็จะเป็นสีน้ำเงินเข้มขึ้น แต่ถ้าในอากาศมีโมเลกุลหรือสารแขวนลอยต่างๆยิ่งมาก สีของท้องฟ้าก็จะเป็นสีฟ้าอ่อนลงเรื่อยๆ เพราะแสงสีเขียว และแสงสีเหลือง เกิดการกระเจิงด้วยเช่นกัน

แหล่งที่มา:
ไขปริศนาท้องฟ้าสีคราม. (2555). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้ที่ http://www.nstda.or.th/rural/public/100%20articles-stkc/2.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล 10 ตุลาคม 2555).
แหล่งข้อมูลภาพ :

http://www.hodbin.com/img876.search.htm

http://www.cadtutor.net/download/raster/sky-images-01.php– ( 3340 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


+ 7 = nine

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>