magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home S&T Stories ผู้บริหาร สวทช. แสดงความยินดีกับ ดร. วรางคณา สงสังข์ทอง นักวิจัยไบโอเทค เนื่องในโอกาสผลงาน “Role of Plasmodium Glutathione Biosynthesis in Antimalarial Sensitivity
formats

ผู้บริหาร สวทช. แสดงความยินดีกับ ดร. วรางคณา สงสังข์ทอง นักวิจัยไบโอเทค เนื่องในโอกาสผลงาน “Role of Plasmodium Glutathione Biosynthesis in Antimalarial Sensitivity

ผพว. แสดงความยินดีกับ ดร.วรางคณา สงสังข์ทอง นักวิจัยไบโอเทค เนื่องในโอกาสผลงาน “Role of Plasmodium Glutathione Biosynthesis in Antimalarial Sensitivity” ได้รับรางวัลการนำเสนอผลงานวิจัยแบบโปสเตอร์ระดับดีเยี่ยม ในงาน Drug Discovery for Protozoan Parasites จัดขึ้นที่ประเทศสหรัฐอเมริกา

ผลงานวิจัย

“Role of Plasmodium Glutathione Biosynthesis in Antimalarial Sensitivity”
“โรค มาลาเรีย” อันเกิดจากเชื้อปรสิตที่มียุงก้นปล่องเป็นพาหะนำโรค พบมากในประเทศที่มีภูมิอาการศร้อนชื้น รวมถึงประเทศไทยที่ยังคงมีการระบาดตามแนวชายแดน ปัจจุบันพบว่า มีผู้ป่วยจำนวนกว่า 200 ล้านคน และจากสถิติในปี 2010 มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนถึง 665,000 คน ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนใดที่จะป้องกันโรคมาลาเรียได้ ทางเดียวที่จะรักษาโรค คือ การใช้ “ยา” แต่จะทำได้ก็ต่อเมื่อต้องรอให้ปรากฏอาการออกมา และผู่ป่วยต้องทานยาให้ครบตามแพทย์สั่งเท่านั้น การรักษาโรคมาลเรียเริ่มมีความท้าทายมากขึ้นเมื่อมีปัญหาการดื้อยาเกิดขึ้น ซึ่งทำให้ไม่สามารถใช้ยาเดิมรักษาได้และเสี่ยงที่จะทำให้เชื้อดื้อยาแพร่ กระจายไปทั่ว

จากโจทย์ปัญหานี้ จึงทำให้แนวคิดในการศึกษาวิจัยเรื่อง “Role of Plasmodium Glutathione Biosynthesis in Antimalarial Sensitivity” ขึ้นเพื่อหาคำตอบว่า เมื่อพบการดื้อยาแล้ว จะสามารถทำให้เชื้อปรสิตกลับมาไวต่อยาได้เหมือนเดิมหรือไม่ โดยทำการศึกษาว่ากระบวนการสร้างกลูต้าไธโอนในเชื้อปรสิตมีความเกี่ยวข้องกับ การดื้อยาหรือไม่ และการยับยั้งกระบวนการนี้จะทำให้เชื้อปรสิตกลับมาดื้อยาหรือไม่ และสรุปผลการทดลองได้ว่า กระบวนการนี้เกี่ยวข้องกับการดื้อยาจำพวกแอนติโฟเลต และการใช้สารยับยั้งกระบวนการนี้ สามารถทำให้เชื้อไวต่อยาเหล่านี้ได้มากขึ้น ความรู้นี้สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาสารยับยั้งที่จำเพาะต่อกระบวนการสร้างกลู ต้าไธโอนของเชื้อมาลาเรีย ซึ่งน่าจะช่วยยับยั้งการดื้อยาหรือทำให้เชื้อกลับมาไวต่อยาได้ดังเดิม– ( 163 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


9 − = three

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>