magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home S&T Stories CAS แนะนำแหล่งข้อมูลวิชาการด้านเคมี
formats

CAS แนะนำแหล่งข้อมูลวิชาการด้านเคมี

ด้วยการบรรยาย เรื่อง How to improve your research output in Asia  โดย Mr.Walter Chow, CAS, Hong Kong เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2555 จัดโดยบริษัทบุ๊คโปรโมชั่น ณ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

นำเสนอข้อมูลแนวโน้มการใช้งบประมาณสำหรับงานวิจัยพัฒนา (R&D) ของโลก ตั้งแต่ช่วงปี 1996-2009 พบว่าสูงขึ้นต่อเนื่องตลอดมา โดยลำดับที่ 1 คือ สหรัฐอเมริกา ลำดับที่ 2 คือ กลุ่มประเทศในแถบเอเชียและลำดับที่ 3 คือ ยุโรป คิดเป็นหน่วย พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยยอดรวมในการลงทุนการวิจัยและพัฒนาของโลก คิดเป็นหลักล้านล้านเหรียญสหรัฐ (trillion)
ผลลัพธ์จากงานวิจัย ในรูปบทความวิจัยตีพิมพ์ในวารสาร แสดงได้ถึงการค้นพบสิ่งใหม่ ส่วนผลลัพธ์ที่เป็นสิทธิบัตร แสดงถึงนวัตกรรมและการประดิษฐ์ โดยที่สิทธิบัตรชุดที่มีคุณค่าสูง สามารถแปลงเป็นสินค้าในเชิงพาณิชย์ได้ ประเทศหลักที่ผลิตสิทธิบัตรมากคือสหรัฐ ยุโรป ญี่ปุ่น ส่วนในเอเชียยังมีสิทธิบัตรต่ำมาก สถานภาพการวิจัยพัฒนาของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ด้วยมีนโยบายนวัตกรรมที่ก่อให้เกิดมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก คือ ขณะนี้ภาครัฐเน้นให้นักวิทยาศาสตร์จีนทำการยื่นขอจดสิทธิบัตรที่สหรัฐอเมริกามากกว่าที่จะตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารที่มีค่า Impact factor สูง

กระบวนงานหลักในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยหลายกระบวนงานคือ

Define Problem  —   Design Experiment  —   Prepare Experiment —     Conduct Experiment  —    Collecting & Analysis the result  —   Report on the finding

ส่วนกระบวนงานย่อยในการวิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์ ได้แก่
การศึกษาข้อมูลภูมิหลังอย่างครอบคลุม
สำรวจและวิเคราะห์หัวข้องานวิจัย เพื่อหาทิศทางของเป้าหมายการวิจัย
ปรับปรุงประสบการณ์เดิมเพื่อพัฒนาให้ดีขึ้นกว่าเดิม
วางแผนงานวิจัย ทดลอง ฯลฯ
โดยในทุกๆกระบวนการงานย่อยของการวิจัยพัฒนานักวิทยาศาสตร์ต้องการข้อมูลวิชาการที่มีคุณภาพสูงสนับสนุนงานในส่วนต่างๆ ได้อย่างครบถ้วน และต้องมีคุณลักษณะสำคัญของสารสนเทศที่มีคุณภาพ เช่น มีบริการออนไลน์บนเว็บเพจ ใช้งานง่าย เนื้อหามีความถูกต้อง มีความครอบคลุมเนื้อหาอย่างครบถ้วน ทันสมัย มีการเพิ่มข้อมูลสม่ำเสมอและรวดเร็ว เป็นฐานข้อมูลที่มีความสามารถในการสืบค้นสูง มีระบบดัชนีที่ดี ฯลฯ

ผลงานวิจัยของประเทศไทย
พบบทความวิจัยของไทย ในฐานข้อมูล CA Plus เพิ่มขึ้นตลอดมาคิดเป็น 3 เท่าจากเดิม คือ ตั้งแต่ปี 2002-2012 จาก 1,000 บทความ เพิ่มขึ้นเป็น 3,000 บทความโดยมีสถาบันการศึกษาผู้ผลิตอันดับต้นๆ คือ จุฬาฯ ม. ม. มหิดล ม.เชียงใหม่ ม.เกษตรศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ เป็นต้น– ( 115 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


nine − 8 =

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>