magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home IT Tech การบริหารจัดการการวิจัย และ SciVal
formats

การบริหารจัดการการวิจัย และ SciVal

การแข่งขันที่เพิ่มมากขึ้น การจำกัดการเพิ่มขึ้นของงบประมาณจากภาครัฐ ความจำเป็นของการเพิ่มหรือขยายขีดความสามารถเพื่อดึงดูดเงินทุนสนับสนุนและความร่วมมือจากหน่วยงานอื่นๆ ตลอดจนการสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากผลงานวิจัยและวิชาการ คือ ความท้าทายที่มหาวิทยาลัยและหน่วยงานวิจัย (โดยเฉพาะของภาครัฐ) ส่วนใหญ่กำลังเผชิญ โดยกิจกรรมสำคัญเพื่อตอบสนองต่อความท้าทายดังกล่าว คือ การปรับปรุงกลยุทธ์ในการดำเนินงาน โดยเฉพาะการบริหารจัดการการวิจัยที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยข้อมูลจากการวิเคราะห์และเปรียบเทียบสถานะ จุดอ่อนและจุดแข็งของความสามารถจากผลงานวิจัยและวิชาการ ทั้งในระดับรายบุคคล ทีม/ฝ่าย/คณะ และหน่วยงานใหญ่ รวมถึงหน่วยงานคู่แข่งและพันธมิตร

Scival (ที่มา http://www.elsevier.com/online-tools/research-intelligence/products-and-services/scival)

เครื่องมือที่ช่วยค้นคืนผลงานวิจัยและวิชาการ และช่วยจัดทำรายงานวิเคราะห์ความสามารถจากผลงานวิจัยและวิชาการ ในรูปแบบ Visualization matrix นับเป็นตัวช่วยที่สำคัญสำหรับหน่วยงานวิจัย (ครอบคลุมบุคลากรในตำแหน่งและระดับต่างๆ เช่น นักวิจัย หัวหน้าทีม/ฝ่าย/คณะ และผู้บริหาร) ผู้กำหนดนโยบาย และแหล่งทุนเพื่อสนับสนุนการวิจัย ยกตัวอย่าง SciVal ซึ่งเป็นเครื่องมือ ที่พัฒนาขึ้นโดยบริษัท Elsevier และทำงานบนฐานข้อมูล Scopus โดยผู้ใช้สามารถเข้าถึงผลงานวิจัยและวิชาการจากหน่วยงานวิจัยกว่า 4,600 แห่ง ใน 220 ประเทศทั่วโลก เพื่อติดตามและตรวจสอบความสามารถและผลงานวิจัยและวิชาการของทุกระดับภายในหน่วยงาน หรือ ระหว่างหน่วยงาน ผ่าน

  1. Scholarly output
  2. Performance by individual / research group / faculty / university(ies)
  3. Performance by journal category
  4. Field-weighted citation impact
  5. Citations

เพื่อจัดทำรายงานวิเคราะห์ สำหรับ

  1. เปรียบเทียบความสามารถและผลงานภายในหน่วยงาน หรือกับคู่แข่ง
  2. แสดงจุดอ่อนและจุดแข็งเกี่ยวกับหัวข้อหรือพื้นที่การวิจัยที่หน่วยงานกำลังดำเนินการ หรือ สนใจจะศึกษาและลงทุน
  3. ค้นหาและกระตุ้นให้เกิดการสร้างเครือข่ายความร่วมมือภายในและภายนอกหน่วยงาน
  4. บริหารจัดการทรัพยากร
  5. รายงานหรือยื่นขอการสนับสนุน
  6. ปรับปรุงแผนหรือกลยุทธ์การดำเนินงานวิจัย เป็นต้น

จากการสัมมนาเรื่อง SciVal research management forum ซึ่งจัดขึ้นโดย Elsevier BV เมื่อวันที่ 8 พ.ค. 2557 ณ โรงแรม Four Points by Sheraton Bangkok ได้มีการนำเสนอและแบ่งปันประสบการณ์การประยุกต์ใช้ SciVal เพื่อการจัดการการวิจัยในมหาวิทยาลัย

กรณีมหาวิทยาลัย Putra Malaysia โดย Prof.Mohamad Hamiruce Marhaban ซึ่งได้ยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้ SciVal เพื่อจัดทำรายงานแสดงสถานะ ความสามารถ และความเข้มแข็งของมหาวิทยาลัยกับคู่แข่ง โดยเฉพาะการปรับปรุงคลัสเตอร์ โปรแกรม และกลุ่มวิจัยของมหาวิทยาลัยจากรายงานการวิเคราะห์ความสามารถและความเข้มแข็งของผลงานวิจัยและวิชาการที่ผ่านมาของบุคลากรภายในหน่วยงานและระหว่างหน่วยงาน

ขณะที่มหาวิทยาลัยมหิดล โดย ศาสตราจารย์นายแพทย์ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดลได้ยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้ Scientometrics และ SciVal เพื่อจัดทำรายงานแสดงสถานะผลงานวิจัยและวิชาการของมหาวิทยาลัยมหิดลและคู่แข่ง เพื่อวางแผนกลยุทธ์การวิจัย ทั้งนี้เพื่อการขยับฐานะของมหาวิทยาลัยมหิดลเพื่อก้าวขึ้นสู่การเป็น World Class Research University หรือ WCRU

กรณีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดย ดร.ชนินทร์ ตรงจิตภักดี ผู้ช่วยรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้ SciVal เพื่อจัดทำรายงานวิเคราะห์ความสามารถทางวิจัยและวิชาการของอาจารย์ คณะ และมหาวิทยาลัย ตลอดจนหน่วยงานคู่แข่งทั้งในและต่างประเทศ เพื่อค้นหาพันธมิตรภายนอกเพื่อสร้างความร่วมมือ เพื่อนำไปสู่การวางแผนกลยุทธ์การวิจัย ไปจนถึงการจัดการความรู้ภายในองค์กรต่อไป

การวิเคราะห์ความสามารถจากผลงานการวิจัยและวิชาการของบุคลากรภายในหน่วยงานยังมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล (Human resource management) และ การจัดการความรู้ (Knowledge management) เช่น การแบ่งปันและถ่ายโอนความรู้จากบุคลากรที่มีผลงานวิจัยและวิชาการซึ่งได้รับการอ้างอิงถึงแต่กำลังจะเกษียณอายุงาน

อย่างไรก็ตามข้อจำกัดหนึ่งที่สำคัญของการจัดทำรายงานสารสนเทศวิเคราะห์ คือ การขาดมาตรฐานและความสม่ำเสมอในการลงชื่อ-นามสกุลเจ้าของผลงาน และชื่อหน่วยงานเจ้าของผลงาน เช่น การเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล การลงชื่อหน่วยงานด้วยชื่อเต็มหรือชื่อย่อ การลงชื่อหน่วยงานใหญ่หรือเฉพาะหน่วยงานรองที่เจ้าของผลงานสังกัด เป็นต้น ซึ่งอาจทำให้การค้นคืน รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลตกหล่นได้ ดังนั้นการส่งเสริมเรื่องมาตรฐานการลงรายการชื่อ-นามสกุลเจ้าของผลงาน และชื่อหน่วยงานเจ้าของผลงานจึงเป็นประเด็นที่ควรคำนึงเพื่อให้การค้นคืนผลงานวิจัยและวิชาการเพื่อการวิเคราห์และจัดทำรายงานมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น อีกประเด็นคือขอบเขตและปริมาณผลงานวิจัยและวิชาการที่ฐานข้อมูลรวบรวมมานั้นมีความครบถ้วนสมบูรณ์มากเพียงไรสำหรับการจัดทำรายงานการวิเคราะห์– ( 155 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


one − 1 =

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>