magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก ฝึกภาษาด้วยตัวเองง่ายๆ ผ่านแอพ
formats

ฝึกภาษาด้วยตัวเองง่ายๆ ผ่านแอพ

ด้วยเทรนด์ยุคดิจิตอลปัจจุบัน นักพัฒนามีการคิดค้นแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ ขึ้นมาตอบสนองให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์คนยุคไอทีในการฝึกภาษาให้รวดเร็วทันใจมาก ขึ้น

และยิ่งประเทศไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่การเปิดเสรีประชาคมอาเซียน หรือ เออีซี ในปี 2558 นี้ ภาษาในการใช้สื่อสารถือว่าเป็นสิ่งสำคัญมากที่ประชาชนชาวไทยจะต้องปรับตัว โดยเฉพาะเด็กซึ่งกำลังจะเติบโตในโลกยุคอาเซียน เเละยุคดิจิตอลในเวลาเดียวกัน

อ.อรภัค สุวรรณภักดี นักวิชาการอิสระ นักเขียนหนังสือทำตลาดบนเฟซบุ๊กฉบับประยุกต์แอพพลิเคชั่น เล่าว่า การที่ประเทศไทยกำลังเข้าสู่การเปิดเสรีประชาคมอาเซียน สิ่งสำคัญที่จะทำให้อุปสรรคทุกอย่างลุล่วงด้วยดีคือการปฏิสัมพันธ์ติดต่อ สื่อสาร

ปัจจุบัน เด็กไทยนอกจากจะต้องเรียนภาษาอังกฤษที่ถือเป็นภาษากลางของทุกชาติแล้ว ผู้ปกครองส่วนมากมักต้องการให้เด็ก ๆ เหล่านี้เข้าใจ อ่านออก เขียนได้ในภาษาจีนด้วย  เเละนอกจากนี้เเล้วยังมีภาษาอาเซียนอีกหลายภาษาที่อาจจะจำเป็นที่จะใช้ ติดต่อสื่อสารต่อไป 

ดังนั้น สิ่งที่ผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ ต้องพัฒนาคือ แอพ การเรียนรู้เกี่ยวกับภาษาต่าง ๆ โดยเฉพาะภาษาจีนที่ถือเป็นหัวใจหลักของการค้าขายเพราะเป็นตลาดการค้าขนาด ใหญ่ เเละนอกจากนี้ภาษาจีนยังใช้ในการติดต่อประสานงาน และการท่องเที่ยวอีกด้วย

อ.อรภัค เล่าว่า ก่อนหน้านี้ เด็ก ๆ มักอ่านออกเสียงเพี้ยน เพราะไม่มีใครบอก แต่ปัจจุบัน สมาร์ทโฟนเข้ามามีบทบาท สามารถโหลดแอพพลิเคชั่นได้ง่าย ๆ เพื่อช่วยในการอ่านออกเสียง ต่างจากในยุคอดีต เมื่อเด็กไม่รู้คำศัพท์ต้องเปิดพจนานุกรมของแต่ละภาษา และขนาดของเล่มก็มีความใหญ่โต พกพาลำบาก ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะมีแต่ภาษาเขียน ไม่มีตัวอย่างของการออกเสียง

เเอพพลิเคชั่นในยุคปัจจุบันนอกจากจะฝึกฝนในเรื่องของการสนทนา การอ่านออกเสียงเเล้ว ก็ยังมีการเขียนอีกด้วย

ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การสื่อสารเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนไทยเพื่อตอบรับกับการหารายได้จากการท่อง เที่ยวเเละธุรกิจการบริการ ซึ่งไม่เพียงเเต่ภาคการศึกษา ภาคการค้า ภาคท่องเที่ยวที่ต้องปรับตัว เเต่ยังมีภาครัฐที่อาจจะต้องศึกษาเพิ่มมากขึ้น

ทั้งนี้ จะไปเรียนภาษาเพื่อนบ้านทุกภาษาคงเป็นไปไม่ได้สำหรับทุกคนในทุกภาคส่วน จึงแนะนำแอพพลิเคชั่นเกี่ยวกับดิกชันนารี สำหรับการเรียนภาษาผ่านแอพพลิเคชั่น อาทิ Oxford Dictionary, Advanced English หรือ Thai Dictionary เป็นต้น ซึ่งจะทำให้อ่านภาษาอังกฤษ ได้ง่ายขึ้น

นอกจากนี้ ยังมี กูเกิล ทรานสเลท (Google Translate) ซึ่งเป็นเเอพพลิเคชั่นช่วยให้แปลภาษาได้ไม่ต่ำกว่า 30 ภาษา โดยผู้ใช้งานไม่ต้องมีความเชี่ยวชาญทางด้านภาษาก็สามารถก๊อบปี้ แล้วนำไปวางช่องที่เตรียมไว้ เพียงแค่กดปุ่มแปลให้เป็นภาษาที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว หากท่านที่ต้องการจะใช้เว็บสามารถเข้าไปได้ที่ http:// translate.google.com ได้เช่นกัน

“ถึงแม้ กูเกิล ทรานสเลท จะมีข้อผิดพลาดบางคำศัพท์ แต่ก็ช่วยให้เข้าใจและเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการเรียนรู้ภาษาใน ทางลัดที่ง่ายและสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา เพียงเเต่เข้าถึง สมาร์ทโฟน”

ในส่วนของภาษาจีน ก็มีแอพพลิเคชั่นให้อ่าน เขียน แปลภาษาเป็นไทยมากมาย อาทิ Learn Chinese, chinese-thai เป็นต้น ซึ่งสิ่งที่ผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่นได้คิดค้นไว้ ถือเป็นอีกช่องทางให้คนไทยได้เรียนรู้ภาษาให้เกิดประโยชน์ในการเปิดเออีซี ได้อย่างดี

นอกจากนี้ ยังมีแอพพลิเคชั่นภาษาจีนเพื่อธุรกิจ เเละการสนทนาในชีวิตประจำวัน รวมถึงการใช้งานคำศัพท์อีกมากมาย ในอนาคตเด็กไทยจะได้พัฒนาการเรียนรู้ ความจำในภาษาจีน ภาษาอังกฤษ ได้ง่ายขึ้นเมื่อเข้าถึงเทคโนโลยี

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาการออกเสียง การเขียน ภาษาจีนยังยากอยู่ ซึ่งแอพปัจจุบันได้สอนวิธีลากเส้น การออกเสียงที่ถูกต้อง และพึ่งครูน้อยลง

“โลกของอินเทอร์เน็ต ทำให้มีการเรียนรู้ได้มากขึ้น คนสามารถหาแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ที่สนใจได้อย่างต่อเนื่อง ตลอดเวลา เพียงแต่นักพัฒนาแอพจะเห็นช่องทางในการผลิตแอพที่ตรงกับความต้องการของตลาด และผู้บริโภค”

หากเราใช้เทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัวอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด สิ่งที่จะได้กลับมานั้น ถือว่าคุ้มค่ามาก  โดยเฉพาะคนที่ไม่มีเวลาไปติววิชากับสถาบันสอนภาษา.

รายการอ้างอิง :

กัญณัฏฐ์ บุตรดี. (2557). ฝึกภาษาด้วยตัวเองง่ายๆ ผ่านแอพ. เดลินิวส์ (ไอที), ค้นเมื่อวันที 17 เมษายน 2557. จาก http://www.dailynews.co.th/Content/IT/229990/ฝึกภาษาด้วยตัวเองง่ายๆ+ผ่านแอพ.– ( 52 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


− 2 = six

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>