magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home การแพทย์/สาธารณสุข ฟักข้าว-ขมิ้นชันป้องกันต้อตา
formats

ฟักข้าว-ขมิ้นชันป้องกันต้อตา

ผลฟักข้าว

พบสารต้านอนุมูลอิสระในฟักข้าว และขมิ้นชัน ช่วยป้องกันต้อกระจก

สถิติการเป็นโรคต้อกระจกในคนไทยอายุประมาณ 55 ปีขึ้นไป มีโอกาสเป็นต้อกระจก ประมาณ 50 % แต่อาจจะยังเกิดอาการตามัวจนกระทั่งอายุ 65 ปีขึ้นไป และเมื่ออายุ 75 ปีขึ้นไป เกือบทุกคนจะมีอาการของโรคต้อกระจก

ต้อกระจก คือ โรคของเลนส์แก้วตาที่มีความขุ่นเกิดขึ้น โดยความขุ่นนี้จะเป็นตัวกั้นไม่ให้แสงผ่านเข้าไปในตา ทำให้แสงแตกกระจาย และการมองเห็นลดลง โดยทั่วไปต้อกระจกเกิดจากความเสื่อมตามอายุ ซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติ โดยเลนส์แก้วตาจะเริ่มขุ่นเมื่ออายุ 40 ปี

ส่วนสาเหตุอื่นๆ ได้แก่ ความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด เช่น การติดเชื้อหัดเยอรมันของมารดาระหว่างตั้งครรภ์ โรคภายในลูกตา เช่น ม่านตาอักเสบ ตาติดเชื้อ ต้อหิน และได้รับอุบัติเหตุทางตา การใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ ทั้งยาหยอดตา ยาพ่น ยารับประทานหรือยาฉีด ภาวะแทรกซ้อนจากโรคต่างๆ เช่น เบาหวาน โรคขาดสารอาหาร สภาวะแวดล้อมและการดำรงชีวิต เช่น การทำงานที่อยู่ท่ามกลางแสงแดดเป็นเวลานาน การประกอบอาชีพเกี่ยวกับการเชื่อมโลหะโดยไม่ได้ใส่อุปกรณ์ป้องกันที่ถูกต้อง ผู้ที่สูบบุหรี่ เป็นต้นผู้ป่วยโรคต้อกระจกจะมีอาการตามัว โดยมักจะเริ่มมีอาการอย่างช้าๆ เหมือนมีหมอก หรือกระจกฝ้ามาบัง เมื่อออกไปกลางแดดจะมีอาการมากขึ้น แต่จะมองเห็นดีขึ้นในที่ร่มหรือในที่มีแสงสลัว อาการตามัวจะมากหรือน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับความขุ่นของเลนส์แก้วตา บางรายอาจมองเห็นภาพซ้อน มองเห็นแสงไฟเป็นแสงกระจาย ปวดตา หรือในรายที่เป็นมากๆ อาจมีอาการปวดศีรษะร่วมด้วย

จากการศึกษาค้นคว้าข้อมูลงานวิจัยพบว่า สมุนไพรหลายชนิดสามารถป้องกันโรคต้อกระจกได้ โดยเฉพาะในสมุนไพรที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ ขมิ้นชัน และฟักข้าว โดยในขมิ้นชัน มีสารต้านอนุมูลอิสระสำคัญ คือ เคอร์คิวมินอยด์ (curcuminoid) และอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี วิตามินอี ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก และเกลือแร่ต่างๆ รวมไปถึงเส้นใย คาร์โบไฮเดรตและโปรตีน เป็นต้น ขมิ้นชันจึงมีสรรพคุณในการช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย และสามารถรักษาอาการและโรคต่างๆ ได้หลายชนิด

ส่วนฟักข้าวนั้น มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสำคัญ คือ ไลโคปีน (lycopene) โดยในเยื่อหุ้มเมล็ดของฟักข้าวมีไลโคพีนสูงกว่ามะเขือเทศ 12 เท่า ซึ่งสามารถช่วยในการบำรุงและรักษาสายตา ป้องกันโรคเกี่ยวกับดวงตา โรคต้อกระจก และประสาทตาเสื่อม และตาบอดตอนกลางคืนได้ อีกทั้ง ยังมีงานวิจัยพบว่า ไลโคปีนและเคอร์คิวมินอยด์ ยังช่วยป้องกันต้อกระจกที่เกิดจากโรคเบาหวานได้อีกด้วย

การรับประทาน กะเพรา มะระขี้นก มะขามป้อม ลูกซัด และชาเขียวเป็นประจำ ก็สามารถช่วยป้องกันต้อกระจกได้ โดยอาจทานในรูปแบบของผัก หรือต้มน้ำทาน เช่น

น้ำกะเพรา ให้นำกะเพราทั้งต้นและใบที่ล้างสะอาดแล้ว 1 กำมือ ต้มกับน้ำประมาณ 2 ลิตร ด้วยไฟปานกลางประมาณ 10 – 15 นาที ดื่มวันละ 1 แก้ว หรือคั้นน้ำจากมะระขี้นก ดื่มวันละ 2 – 3 ผลต่อวัน ไม่แนะนำให้ทานเยอะเกินไป เนื่องจากมะระขี้นกมีผลในการลดระดับน้ำตาลในเลือดได้

น้ำมะขามป้อม ให้นำผลแห้งประมาณ 10 ผล ใส่น้ำพอท่วม ต้มด้วยไฟปานกลาง ประมาณ 10 – 15 นาที ดื่มวันละ 1 แก้ว มะขามป้อมจัดเป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงมาก ซึ่งจากการศึกษาพบว่า วิตามินซีมีบทบาทในการป้องกันการเกิดต้อกระจก โดยทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และกรองรังสียูวีให้เลนส์ตา นอกจากมะขามป้อมแล้ว ยังมีผลไม้อื่นๆ ที่มีวิตามินซีสูง ได้แก่ ฝรั่ง มะปราง ขนุน ละมุด มะละกอ มะกอก ส้ม มะขาม ลูกหว้า พุทรา ซึ่งสามารถเลือกทานเป็นประจำได้เช่นเดียวกัน

นอกจากนี้ การรับประทานพวกธัญพืชต่างๆ เช่น งาดำ ข้าวซ้อมมือ จมูกข้าว ข้าวโพด ที่อุดมไปด้วยวิตามินอี ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มระดับสารต้านอนุมูลอิสระอย่างกลูตาไทโอนในร่างกาย ก็สามารถช่วยป้องกันโรคต้อกระจกที่เกิดจากน้ำตาล สเตียรอยด์ และรังสียูวีได้

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร

โทร 037-211-289

รายการอ้างอิง :

โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร. (2557). ฟักข้าว-ขมิ้นชันป้องกันต้อตา. กรุงเทพธุรกิจ (Life Style : สุขภาพ).  ค้นเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2557,  จาก http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/life-style/health/20140409/572658/ฟักข้าว-ขมิ้นชันป้องกันต้อตา.html.– ( 356 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


seven × = 49

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>