magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก เมืองน่าอยู่ต้อง…อัจฉริยะ?
formats

เมืองน่าอยู่ต้อง…อัจฉริยะ?

เทคโนโลยี Internet of Things (IoT) นอกจากมีแนวคิดเรื่องสมาร์ทโฮม ซึ่งเชื่อมต่อระบบอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และแนวคิดเรื่องสมาร์ทคาร์หรือ Connected Car ซึ่งหมายถึงรถยนต์ของเราสามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต และสามารถสื่อสารกับอุปกรณ์ต่างๆ รอบๆ ตัวเรา มีระบบบนมือถือที่สามารถ “คุย” หรือสื่อสารกับรถยนต์ผ่านหน้าปัดบนรถยนต์ได้แล้ว เทคโนโลยี  Internet of Things คงไม่จำกัดอยู่แค่นั้น มันถูกนำไปขยายผลกว้างกว่านั้น มันอยู่ทุกหนทุกแห่งจริงๆ เรากำลังหมายถึง เมือง (City) ที่เราอาศัยอยู่นั่นเอง
คาดการณ์ว่าทั่วโลกมีการย้ายเข้ามาอาศัยอยู่ในเมืองใหญ่เพิ่มขึ้นทุกปี ปีละกว่า 60 ล้านคน และในปี 2593 ประชากรโลกจะอาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ถึงร้อยละ 60  คำว่า เมืองอัจฉริยะหรือสมาร์ทซิตี้ เราคงไม่ได้หมายถึงเมืองที่มีบริการไว-ไฟให้เชื่อมต่อฟรีทุกหนทุกแห่งเท่านั้น (แต่ความเป็นจริง Free Wi-Fi ผมไม่เคยใช้ได้เลยอย่างกรุงเทพฯ)


แต่เป็นแนวความคิดที่นำเทคโนโลยี Internet of Things มาใช้เพื่อสร้างบริการใหม่ๆ หรือเพิ่มขีดความสามารถของบริการใหม่ๆ ที่เป็นบริการจากภาครัฐหรือองค์กรที่บริหารเมืองนั้นๆ โดยอาศัยเทคโนโลยีเซนเซอร์และการเชื่อมต่อกับโลกอินเทอร์เน็ตทั้งแบบมีสายและไร้สาย และเน้นเรื่องความยั่งยืน (Sustainability) ของระบบบริการ
แนวคิดเรื่องสมาร์ทซิตี้ กำลังมาแรง เมืองใหญ่ๆ ในโลกนี้ ตัวอย่างเช่น บาร์เซโลนา ประเทศสเปน อัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ และ ปูซาน ประเทศเกาหลี นำไปลงมือทำ มีบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่อย่าง ไอบีเอ็ม ซิสโก้ เอทีแอน์ด์ที ฯลฯ เป็นหัวหอกและแน่นอนเข้ามาจับมือกัน เพราะเป็นธุรกิจที่จะทำเงินในอนาคต
ตัวอย่างเช่น ซิสโก้จับมือกับฟิลิปส์ เข้าไปช่วยเมืองอัมสเตอร์ดัมพัฒนาระบบไฟส่องสว่างถนนให้เชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ตและควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ ด้วยการเปลี่ยนจากหลอดไฟมาเป็นแบบหลอดแอลอีดี จะสามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้ถึงร้อยละ 50-70 แต่ถ้ามีระบบควบคุมที่อัจฉริยะจะลดได้ถึงร้อยละ 80
ระบบไฟส่องสว่างอัจฉริยะดังกล่าวมีความสามารถในการแจ้งศูนย์ควบคุมว่าเกิดการชำรุด ต้องเปลี่ยนหลอด และคำนวณเส้นทางการทำงานของช่าง ลดปัญหาการจราจรติดขัด สามารถหรี่หรือลดความสว่างลงในยามที่การจราจรเบาบาง และสว่างมากในบางบริเวณที่ต้องการเพิ่มความปลอดภัย เช่น บริเวณจุดตัด ทางแยก เป็นต้น
ล่าสุดไอบีเอ็มและเอทีแอน์ดทีก็ประกาศร่วมมือกัน โดยนำข้อมูลที่ได้จากผู้ใช้โทรศัพท์มือถือในเมือง เรียกว่า Crowdsourcing เพื่อนำไปจัดการโดยศูนย์ข้อมูลกลางขนาดใหญ่ของไอบีเอ็ม เช่น ติดตามการใช้บริการต่างๆ ของเมืองโดยผู้ใช้บริการแต่ละราย นอกเหนือจากระบบอื่นๆ เช่น ระบบการจัดการขยะอัจฉริยะ ระบบการจัดเก็บค่าไฟ ค่าน้ำแบบทางไกล ระบบรายงานข้อมูลการจราจรแบบเรียลไทม์ ระบบเซนเซอร์ที่จอดรถว่างในเมืองเพื่อการวางแผนการเดินทาง
ตัวอย่างเรื่องจราจรนี้ในกรุงเทพฯ จะเห็นได้ชัดเจนว่าเรามีระบบรายงานการจราจรทางแอพลิเคชั่นมือถือ Traffy สร้างโดยทีมจากเนคเทค ช่วยทำให้ผมวางแผนการเดินทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ  โดยเฉพาะช่วงที่มีการปิดกรุงเทพฯ ที่ผ่านมา เมื่อจบงานนี้ ขอให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่นอกจากจะน่าอยู่แล้วจะเป็นเมืองอัจฉริยะจริงๆ ด้วยทีเถอะ

รายการอ้างอิง :

ดร.อดิสร เตือนตรานนท์. (2557). เมืองน่าอยู่ต้อง…อัจฉริยะ?. กรุงเทพธุรกิจ (เทคโนโลยีปริทรรศน์). ฉบับวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2557 หน้า 9– ( 102 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


− one = 2

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>