magnify
magnify

Open Knowledge for all 

formats

Internet of Things

The Discovery iQ 48 Dual-Fuel Range with a 7-inch Android 4.0 tablet built into the front panel from appliance maker Dacor is displayed at “CES: Unveiled,” the media preview for International CES, at the Mandalay Bay Convention Center in Las Vegas, Nevada. The tablet runs apps and controls all the functions of the oven via the touchscreen and the included Discovery iQ app and also connects into the home network.

ดร.อดิสร นักเทคโนโลยีจากเนคเทค ฉายภาพทิศทาง Smart Home กำลังจะมาแรงในปี 2014 ผลพวงจาก Internet of Things เทคโนโลยีที่ทำให้การใช้ชีวิตอัจฉริยะยิ่งขึ้น

ระบบบ้านอัจฉริยะ หรือ Smart Home นอกจากจะหมายถึง ระบบควบคุมอุณหภูมิของบ้าน ระบบรักษาความปลอดภัยภายในและภายนอกบ้าน หรือ ระบบความบันเทิงต่างๆ แต่ครอบคลุมไปถึงระบบเชื่อมโยงเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านทุกชนิดเข้าด้วยกัน ตั้งแต่ภายในห้องครัวจนถึงห้องน้ำเลยทีเดียว และที่สำคัญที่สุดคือ เชื่อมโยงกับผู้อยู่อาศัยทุกคนภายในบ้าน และเชื่อมโยงกับข้อมูลที่มีอยู่มากมายบนโลกออนไลน์ เรียกได้ว่า connected life เลยทีเดียว

เทคโนโลยีที่ผมกล่าวมานี้พวกเราเรียกว่า เทคโนโลยี Internet of Things ความจริงเทคโนโลยีนี้ถือกำเนิดมาตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1999 โดยนักเทคโนโลยีนามว่า Kevin Ashton เป็นคนตั้งชื่อเทคโนโลยีนี้ โดยมีไอเดียว่าในอนาคตไม่ไกล คอมพิวเตอร์จะมีขนาดเล็กลงจนสามารถเข้าไปอยู่ในอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ และสามารถเก็บข้อมูล รับส่งข้อมูลระหว่างกันได้โดยไม่ต้องอาศัยมนุษย์สั่งการ ซึ่งในขณะนั้นเรามีเทคโนโลยี RFID หรือ การสื่อสารและระบุตัวตนด้วยคลื่นวิทยุ ซึ่งจะสามารถประกอบร่วมกับเซ็นเซอร์ตรวจจับต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น อุณหภูมิ ความร้อน ความชื้น การเคลื่อนไหว แสง ฯลฯ และจัดเก็บข้อมูลเหล่านี้อย่างเป็นระบบ
แต่เมื่อไม่กี่ปีมานี้ ไอเดียเรื่อง Internet of Things เริ่มแพร่หลายไปสู่การสื่อสารผ่านระบบสื่อสารเครือข่ายไร้สาย (Wireless Network) และทำให้อุปกรณ์ต่างๆ สามารถคุยกันได้ด้วยภาษาเดียวกัน แต่ในระยะเริ่มแรก จะถูกนำไปใช้ในการใช้งานที่ต้องการเก็บข้อมูลจากพื้นที่กว้าง เช่น ระบบเตือนไฟป่า หรือวัดการชำรุดของสะพานหรือเขื่อน เป็นต้น แต่เมื่อระบบถูกพัฒนาให้เล็กลงและกินไฟน้อยลง และมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ จึงมีบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านสนใจเทคโนโลยีดังกล่าวมากขึ้น กลายเป็นแนวคิดเรื่อง Smart Home

ในงาน CES 2014 ที่ผ่านมา ทิศทางเรื่อง Smart Home เด่นชัดมากในปีนี้ นับว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่มาแรงอย่างแน่นอน และในปีนี้อีกห้องในบ้านที่จะอัจฉริยะมากยิ่งขึ้นได้แก่ ห้องครัว ซึ่งผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้ายักษ์ใหญ่หลายยี่ห้อได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ของตน เช่น LG ได้เปิดตัว LG Home Chat ที่เราสามารถส่ง SMS จากโทรศัพท์มือถือเพื่อสั่งงานให้เตาอบสามารถอุ่นเครื่องตัวเองได้เพื่อประหยัดเวลาอบอาหาร ตั้งอุณหภูมิการอบ และสั่งให้ตู้เย็นปรับอุณหภูมิเพื่อการประหยัดไฟ

บริษัท GE ก็เปืดตัวเตาอบสั่งทางมือถือได้เช่นกัน อีกบริษัทอย่าง Siemens ก็เปิดตัวตู้เย็นที่สามารถถ่ายรูปภายในตู้เย็นและส่งไปให้เจ้าของทางมือถือ ทำให้เราสามารถรู้ได้ว่ามีของอะไรเหลือหรือขาด เราจะได้แวะซื้อที่ตลาดได้ก่อนกลับเข้าบ้าน หรือบริษัท SmartThings ได้เปิดตัวระบบที่สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ในห้องครัวกับผู้อาศัย เช่น เมื่อเราตื่นขึ้นก็มีเซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหว และสั่งให้กาต้มกาแฟอุ่นกาแฟเตรียมเอาไว้ สั่งให้วิทยุเปิดเพลงที่เราชอบ เมื่อเราแต่งตัวออกจากบ้านทุกอย่างก็จะปิดสวิตซ์เอง

หรือ บริษัท Orange Chef เปิดตัวเขียงอัจฉริยะที่สามารถบอกปริมารสารอาหารที่เรากำลังเตรียมบนเขียงนั้น และคำนวณแคลลอรี่ให้เราเสร็จสรรพ และมีตำราอาหารโชว์บน iPad ที่ฝั่งอยู่กับเขียง และอุปกรณ์เครื่องครัวอัจฉริยะอื่นๆ อีกมากมายในงาน CES 2014 ดังนั้นจะเห็นได้ว่าเทรนด์ Smart Home หรือบ้านอัจฉริยะ กำลังจะมาแรงในปี 2014 อย่างแน่นอน

บทความโดย * ดร. อดิสร เตือนตรานนท์ ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการนาโนอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องกลจุลภาค

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

adisorn.tuantranont@nectec.or.th

รายการอ้างอิง :
ดร. อดิสร เตือนตรานนท์. (2557). Internet of Things. กรุงเทพธุรกิจ (ไอที-นวัตกรรม : นวัตกรรม). ค้นเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2557. จาก http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/innovation/20140222/564576/Internet-of-Things.html.– ( 93 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


+ two = 11

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>