magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก ระวัง! แวมไพร์แห่งพงไพร
formats

ระวัง! แวมไพร์แห่งพงไพร

คุณรู้หรือไม่ว่า สัตว์ที่ถูกกล่าวขวัญถึงมากที่สุดเวลาเดินป่าคือตัวอะไร ไม่ใช่เสือ ช้างป่า หรือหมาใน แต่สัตว์ที่ว่ากลับมีขนาดเล็กนิดเดียว ลำตัวเป็นปลล้องนิ่ม ๆ ยืดหดได้ รูปทรงเรียวยาว มีเมือกเหนียวหุ้มลำตัวไว้ไม่ให้แห้ง และเคลื่อนไหวโดยการกระดืบช้า ๆ ที่สำคัญมันดูดเลือกเป็นอาหาร จนหลายคนขนานนามว่า “แว้ไพร์แห่งพงไพร” สัตว์ที่เอ่ยถึงนี้ เรารู้จักกันในชื่อ “ทาก” ความจริงแล้วทากไม่ได้น่ากัวหรือมีอันตราย รวมทั้งไม่ใช่พาะหนะนำดรคอย่างที่คนส่วนใหญ่คิด แต่ทากกลับเป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่า เพราะมันอาศัยในป่าทึบที่มีความชื่นสูงและดำรงชีวิตด้วยการดูดเลือดสัตว์อื่นเป็นอาหาร ฉะนั้นที่ไหนมีทาก ที่นั่นย่อมมีป่าสมบูรณ์และสัตว์ป่าชุกชุม ปัจจุบันการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติกำลังได้รับความนิยมนักท่องเที่ยวที่เลือกมาศึกษาความงามของธรรมชาติในช่วงหน้าฝนที่ปาเขียวชอุ่มและงดงามมากที่สุด จึงหลีกเลี่ยงการเผชิญกับทาก “จอมดูดเลือด” ได้ยากทางจะชูหัวทำหน้าที่คล้ายเรดาร์เพื่อจับหาความร้อนจากตัวเหยื่อหรือแรงสั่นสะเทือนขณะเหยื่อเคลื่อนไหว เมื่อล็อกเป้าหมายได้แน่นอนแล้ว ทากจะคืบตรงไปเกาะติดตัวเหยื่ออย่างรวดเร็วเพื่อการผิวหนังส่วนที่บางที่สุด เช่น  ข้อพับ ชอกนิ้ว แล้วฝังเขี้ยวหรือขากรรไกรทั้งสามแฉก ซึ่งมีฟันซี่เล็ก ๆ ถี่ ๆ จากนั้นก็ปล่อยสาร “ฮีรูดีน” ซึ่งทำให้เลือดไม่แข็งตัว แล้วจึงเจาะดูดเลือดเหยื่อก่อนเดินทาง นักท่องเที่ยวจึงควรเตรียมตัวให้พร้อม โดยแต่งกายให้รัดกุม ใส่ถุงกันทากที่ทำจากผ้าฝ้ายดิบเนื้อแน่นจนทากไม่อาจแทรกตัวผ่านมาถึงตัวเราได้ โดยสวมทับถุงเท้าสูงขึ้นมาถึงเข่า แล้วสวมรองเท้าหุ้มส้นอีกทีเท่านี้ก็เดินเที่ยวป่าได้อย่างสบายใจ ไม่ต้องพะวักพะวน ว่าจะถูกเจ้าแวมไพร์จิ๋วแบ่งเลือดไปใช้แต่หากเราป้องกันอย่างดีแล้วยังถูกเจ้าทากกัด ก็อย่าเพิ่งกระชากตัวทากออกทันที เพราะจะทำให้เกิดบาดแผลใหญ่และเลือดไหลไม่หยุดขอแนะนำให้ค่อย ๆ ดึงตัวมันออก แล้วใช้กระดาษทิชชูปิดปากแผลไว้เยื่อกระดาษจะชับเลือดและช่วยให้เลือดแข็งตัวหยุดไหล ส่วนคนที่เดินป่าจนชำนาญ เขาจะหยิบฉวยใบสาบเสือที่มีฤทธิ์ห้ามเลือดได้มาขยี้แล้วโปะบนปากแผล แต่สำหรับคนที่ใจบุญสุด ๆ ผสมกับใจแข็งสุด ๆ จะปล่อยให้เจ้าทากดูดเลือดไปก่อนก็ได้ เพราะพอมันอิ่ม มันจะเก็บเขี้ยวและทิ้งตัวหลุดจากผิวหนัะงเราไปเอง

แม้คนทั่วไปจะรู้สึกกลัวทาก แต่แท้จริงแล้วพวกมันมีประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะสารสังเคราะห์ ซึ่งเลียนแบบสารฮีรูดีนในตัวทากนั้นใช้เป็นตัวยาในครีมนวดลดอาการฟกช้ำและยารักษาอาการเลือดอุดตันตามอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายคน ฉะนั้นเวลาเข้าป่าถ้าเจอทากกระดืบเข้ามาใกล้ ก็อย่าเผลอใช้ไฟจี้หรือเอายาหม่องป้ายที่ตัวมัน เพราะจะทำให้สัตว์ร่วมโลกตัวเล็ก ๆ มากประโยชน์ชนิดนี้ต้องตายอย่างไร้คุณค่า

แหล่งที่มา : พรเพ็ญ วงศ์ศุภชัยนิมิต. (2555). “ซอกแซก : ระวัง! แวมไพร์แห่งพงไพร”. สารคดี, 28(331) : 136 ; กันยายน  2555.– ( 12 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


nine − = 6

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>