magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Health เครื่องสำอางสมุนไพร เลือกอย่างไรปลอดเชื้อโรค
formats

เครื่องสำอางสมุนไพร เลือกอย่างไรปลอดเชื้อโรค

สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทน. โดยนักวิจัยของศูนย์ฉายรังสี ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นทางจุลชีววิทยาในวัตถุดิบสมุนไพรและส่วนผสมชนิดอื่นๆ ที่มักใช้ผลิตเป็นเครื่องสำอางสมุนไพรไทย 10 ชนิด ได้แก่ ไพล ขมิ้นอ้อย ขมิ้นชัน ว่านนางคำ ทานาคา กวาวเครือ จันทน์หอม เปลือกมังคุด ดินสอพอง และจันทน์เทศแดง

ผลพบว่าในวัตถุดิบทั้ง 10 ชนิด มีจำนวนแบคทีเรียทั้งหมดในระดับที่สูงมาก คือ 1,000 ถึง 1,000,000 โคโลนีต่อกรัม ทั้งๆ ที่ค่ามาตรฐานของไทยที่กำหนดคือ ต้องมีไม่เกิน 1,000 โคโลนีต่อกรัม

จากนั้นสุ่มตรวจเครื่องสำอางสมุนไพรไทยที่ สามารถหาซื้อตามตลาดทั่วไป เช่น ครีมโคลนสมุนไพรพอกตัว 12 ตัวอย่าง พบว่า จำนวนเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมดเกินมาตรฐานที่กำหนดไว้ 5 ตัวอย่าง (ร้อยละ 41.67) แป้งสมุนไพรพอกหน้าและขัดตัวจำนวน 40 ตัวอย่าง พบว่ามีจำนวนเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมดเกินมาตรฐานที่กำหนดไว้ 27 ตัวอย่าง (ร้อยละ 67.5) ทั้งพบการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ Clostridium spp. ถึง 22 ตัวอย่าง (ร้อยละ 55) ของผลิตภัณฑ์ทั้งหมดจะเห็นได้ว่า การที่เครื่องสำอางสมุนไพรไทยไม่ได้มาตรฐาน สาเหตุหลักเนื่องจากวัตถุดิบเป็นสมุนไพรที่มีการปนเปื้อนของ เชื้อจุลินทรีย์มาก หากจะนำมาใช้ในผลิต ภัณฑ์เครื่องสำอางจะต้องมีคุณภาพสูง และปราศจากเชื้อจุลินทรีย์คือเป็น Sterilized grade ซึ่งในตลาดเมืองไทยปัจจุบันผู้ประกอบการละเลยในจุดนี้

อย่าง ไรก็ตาม สทน.ได้นำเทคโนโลยีการฉายรังสีแกมมาประยุกต์เพื่อใช้ในการฆ่าเชื้อโรคใน ผลิตภัณฑ์อาหาร สมุนไพร เครื่องเทศ เพื่อลดปริมาณเชื้อจุลินทรีย์รวมถึงการกำจัดเชื้อก่อโรค ผลปรากฏว่า การใช้รังสีแกมมาเพื่อลดปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ในวัตถุดิบของเครื่องสำอาง สมุนไพรและเครื่องสำอางสมุนไพรประเภทแป้งพอกหน้าขัดตัว ครีมโคลนหมักตัวสามารถดำเนินการได้ และมีประสิทธิภาพมาก โดยปริมาณรังสีที่ใช้จะขึ้นกับปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ โดยพบว่า ปริมาณรังสีแกมมาที่ 6.5-10 กิโลเกรย์สามารถลดปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ลงได้อย่างน้อยหมื่นถึงแสนเท่า ซึ่งอยู่ในขั้นปลอดภัยและเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด

ฉะนั้น เพื่อความปลอดภัย ผู้บริโภคควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานผ่านการฆ่าเชื้อโรคอย่างถูกวิธี เพื่อหลีกเลี่ยงเชื้อโรคที่อาจจะทำอันตรายต่อผิวและร่างกายได้ ดร.สมพรกล่าวในตอนท้าย

หากผู้ประกอบการเกี่ยวกับเครื่อง สำอาง หรือผลิตภัณฑ์สมุนไพร สนใจนำวัตถุดิบหรือสินค้า นำมาฉายรังสีแกมมาเพื่อฆ่าเชื้อโรค-ลดปริมาณจุลินทรีย์ ติดต่อได้ที่ศูนย์ฉายรังสี สทน. โทร. 0-2401-9889 ต่อ 6101 หรือ www.tint.or.th

รายการอ้างอิง :
เครื่องสำอางสมุนไพร เลือกอย่างไรปลอดเชื้อโรค. (2557, 23 มกราคม). ข่าวสดออนไลน์. ค้นเมื่อวันที่ 30 มกราคม, จาก http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNNU1EUTBOalEzTWc9PQ==&subcatid=.

 – ( 73 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


4 × one =

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>