magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Health หยุดเซลล์จับกลิ่นคนในยุง
formats

หยุดเซลล์จับกลิ่นคนในยุง

นักวิทยาศาสตร์ในแคลิฟอร์เนีย ใกล้บรรลุผลสำเร็จในการพัฒนาวิธีไล่ยุงแบบใหม่ โดยทำให้ความสามารถของยุงในการค้นพบตัวคนหายไป

นักวิทยาศาสตร์ในแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ เชื่อว่า พวกเขาใกล้บรรลุผลสำเร็จในการพัฒนาวิธีไล่ยุงแบบใหม่ ที่มีราคาถูก และมีประสิทธิภาพมากกว่าทุกวิธีที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยมีเป้าหมายอยู่ที่การลดโรคที่มียุงเป็นพาหะ อย่างเช่น มาลาเรีย ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ควบคู่ไปกับการลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับประเทศเหล่านี้ ที่มียุงเป็นแมลงที่เกิดขึ้นตามฤดูกาล

ในห้องทดลองที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ บรรดานักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า พวกเขาใกล้ที่จะประสบความสำเร็จในการพัฒนาวิธีการไล่ยุงแบบใหม่แล้ว เป็นสารเคมีที่ทำให้ความสามารถของยุงในการค้นพบตัวคนหายไป
ตามปกตินั้น ยุงมักจะถูกดึงดูดให้เข้าคน ด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่อยู่ในลมหายใจ แต่ดอกเตอร์ อนันดาสันคาร เรย์ หัวหน้าคณะทำงานวิจัยเรื่องนี้่ ระบุว่า เซลล์ประสาทที่ดึงดูดยุงให้เข้าหาคนในระยะไกลนั้น มีระบบทำงานในขั้นที่ 2 ในทันทีที่ยุงบินเข้าใกล้คนมากขึ้น

เรย์บอว่า เซลล์ประสาทเดียวกันกับที่ตรวจจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้นั้น จะสามารถจับกลิ่นตัวของคนได้ เมื่อยุงบินเข้ามาใกล้กับคน เป็นระบบการทำงานแบบคู่ ที่ได้รับการกระตุ้นจากกลิ่นต่างๆ ที่ออกมาจากผิวหนัง และทำให้ยุงสามารถหาตัวคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หลังทำการทดสอบสารเคมีมากกว่าครึ่งล้านชนิด ทีมงานของเรย์ก็ได้ค้นพบสารตัวหนึ่งที่จะทำให้ระบบการทำงานดังกล่าวปิดตัวลง โดยสารเคมีที่ว่านี้มีชื่อเรียกว่า เอธิลไพรูเวท เป็นสารเคมีที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มีอยู่ในผลไม้ และสามารถสกัดความสามารถในการตรวจจับก๊าซคาร์บอน และกลิ่นต่างๆ ของยุงได้

เรย์อธิบายถึงการทดลองว่า เมื่อมีการทาสารตัวนี้ ไว้ที่แขนของคน และยื่นเข้าไปกรงที่มียุงหิวโหยรออยู่นั้น มียุงเพียง 2-3 ตัวเท่านั้น ที่ตรวจจับกลิ่นคนได้ เพราะส่วนใหญ่ไม่ได้รับกลิ่นนี้ และไม่ได้ให้ความสนใจกับมือที่ยื่นเข้าไป สารเคมีอีกตัวหนึ่ง มีชื่อว่า ไซโคลเพนทานอน ให้ผลในทางตรงกันข้าม เพราะจะเป็นสารที่ดึงดูดให้ยุงเข้ามาหา เป็นคุณสมบัติที่เรย์บอกว่า สามารถนำไปพัฒนาใช้เพื่อการดักจับยุงได้

อย่างไรก็ดี การค้นพบดังกล่าว ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างง่าย โดยงานอย่างแรก ที่เจเนวีฟ โทกซ์ หนึ่งในผู้ร่วมงานวิจัยนี้ต้องทำ คือ การค้นหาระบบประสาทที่จะถูกกระตุ้นด้วยกลิ่นของสาเคมี ซึ่้งเป็นเรื่องที่ยากมากสำหรับการค้นหาระบบนี้ในยุง

เธอเล่าว่า ต้องหาทางใส่อิเล็กโตรดขนาดเล็กจมากๆ เข้าไปในส่วนที่เป็นจมูกของยุง ซึ่งเป็นที่อยู่ของระบบประสาทนี้ จากนั้นก็ต้องคอยติดตามอ่านข้อมูลที่เกิดขึ้นตามเวลาจริง กุญแจสำคัญสำหรับการพัฒนาเครื่องมือไล่ยุ่งที่ดีขึ้น อยู่ที่ความสามารถในการปั่นป่วนสัญญาณที่ส่งออกมานี้ ซึ่งเป็นเรื่องที่สารเคมีไล่ยุงแบบดั้งเดิม อย่าง ดีอีอีทีทำไม่ได้

เรย์ แสดงความมั่นใจว่า เขาและทีมงานกำลังเดินมาถูกทางแล้ว ซึ่งวิธีไล่ยุงที่มีราคาถูก และมีประสิทธิภาพมากขึ้น อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมแล้ว

รายการอ้างอิง :
หยุดเซลล์จับกลิ่นคนในยุง. (2557). กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ (ไอที-นวัตกรรม : นวัตกรรม). ค้นเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2557. จาก http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/innovation/20140120/557226/หยุดเซลล์จับกลิ่นคนในยุง.html.– ( 40 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


+ 7 = twelve

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>