magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home ASEAN “เทคโนโลยี-งานวิจัย” ตัวช่วยอุตสาหกรรมยุคใหม่
formats

“เทคโนโลยี-งานวิจัย” ตัวช่วยอุตสาหกรรมยุคใหม่

เมื่อประเทศคู่แข่ง โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน ต่างเร่งพัฒนาเทคโนโลยีในภาคอุตสาหกรรมของตน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและเตรียมตัวพร้อมรับกับกระแสการเปลี่ยนแปลงทุกด้านที่ กำลังจะเกิดขึ้นในโลกอนาคต แน่นอนว่าอุตสาหกรรมของไทยก็ต้องเตรียมความพร้อมด้วยการใช้ประโยชน์จากผลงาน วิจัยที่มีอยู่ โดยจากเวทีสัมมนา OIE Forum 2556 Next Generation of Thai Industry “อุตสาหกรรมยุคใหม่” ก้าวที่ท้าทายสู่อนาคต ของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ทั้งภาครัฐและเอกชนมีความเห็นในทิศทางเดียวกันว่า อุตสาหกรรมยุคใหม่ที่สามารถอยู่รอดได้จำเป็นต้องเพิ่มขีดความสามารถในการ แข่งขัน มีการนำเทคโนโลยีนวัตกรรม และงานวิจัยเข้ามาเป็นตัวช่วย

นาย สมชาย หาญหิรัญ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กล่าวว่า อุตสาหกรรมยุคใหม่ที่สามารถอยู่รอดได้ในอนาคต จำเป็นต้องตอบโจทย์ 3 ด้านนี้ให้ได้ คือ 1.การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ท่ามกลางตลาดมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น และเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้น ซึ่งทุกอุตสาหกรรมไทยมีโอกาสในการแข่งขัน เพียงแต่ต้องเลือกเวทีการค้าและสินค้าให้ตรงกับความต้องการ โดยการสร้างความร่วมมือให้แข็งแกร่ง ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ รวมทั้งการนำเทคโนโลยีนวัตกรรมเข้ามาตอบโจทย์ด้วย

2.ประเด็นระดับ นานาชาติ (Global) เช่น แรงงานในภาคอุตสาหกรรม ต้องสามารถข้ามเงื่อนไขของกฎระเบียบและมาตรฐานสากลได้ และ 3.ประเด็นระดับท้องถิ่น (Local) คือการที่ภาคอุตสาหกรรมต้องอยู่ร่วมกับสังคมให้ได้ โดยอาศัยเครื่องมือ เช่น การทำกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR) หรือการพัฒนาไปสู่ Green industry ซึ่งจะสามารถลดต้นทุนและความสูญเสีย และนำไปสู่การแข่งขันที่ดีขึ้น

อย่าง ไรก็ตาม ปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ทันกับประเทศอื่นๆ ที่พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ขึ้นมาจำนวนมาก ซึ่งเทคโนโลยีถือเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมให้ เดินไปข้างหน้า โดย รศ.ดร.วีระศักดิ์ อุดมกิจเดชา ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ หรือ MTEC กล่าวว่า สิ่งสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมให้ยั่งยืน คือ การพูดคุยกันเพื่อสร้างความไว้วางใจ และนำไปสู่ความร่วมมือของทุกฝ่าย แต่อุตสาหกรรมจะขาดความมั่นคง ถ้าไม่มีเทคโนโลยี และเทคโนโลยีจะไม่มีความหมาย ถ้าอุตสาหกรรมไม่นำไปใช้

ดังนั้น อุตสาหกรรมกับวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีจะต้องก้าวไปด้วยกัน และต้องปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงสู่อุตสาหกรรมยุคใหม่ ปัจจุบันเรามีแหล่งข้อมูลเชิงลึกมากมายด้านอุตสาหกรรม ทั้งจาก สศอ. และสถาบันเฉพาะทาง รวมถึงคลังข้อมูลงานวิจัย 6 ส 1 ว ซึ่งเป็นการบูรณาการหน่วยงานวิจัยของประเทศ เพื่อลดความซ้ำซ้อน และต่อยอดงานวิจัยให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งแหล่งข้อมูลต่างๆ เหล่านี้จะสามารถช่วยเหลือผู้ประกอบการในการพัฒนาอุตสาหกรรมได้

รศ.ดร.วี ระศักดิ์ กล่าวอีกว่า ในอนาคตเทคโนโลยีชีวภาพจะเข้ามามีบทบาทเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการพัฒนาต่อยอดงานวิจัยด้านเทคโนโลยีไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ สำหรับภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือเอสเอ็มอี จำเป็นต้องมีความพร้อมทั้งด้านบุคลากรและห้องทดสอบ ซึ่งทาง MTEC มีห้องทดสอบ เพื่อให้บริการทดสอบและวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ ตามโจทย์ที่ภาคเอกชนกำหนดว่าต้องการจะผลิตสินค้าใด โดยจะช่วยแก้ปัญหาและทำวิจัยและพัฒนา (R&D) ร่วมกับภาคเอกชน

ด้าน รศ.ดร.สนอง เอกสิทธิ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวัสดุ ศูนย์นวัตกรรมนาโนเทคโนโลยี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การพูดคุยกันระหว่างนักวิจัยและผู้ประกอบการเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพื่อให้นักวิจัยเข้าใจความต้องการของผู้ประกอบการที่ชัดเจน และพัฒนาเทคโนโลยีตรงกับความต้องการนั้น อย่างไรก็ตาม ระบบมหาวิทยาลัยไทยมีข้อจำกัด ทำให้ไม่สามารถทำงานวิจัยเชิงรุกหรือเชิงพาณิชย์ได้อย่างเต็มตัว จึงทำได้เฉพาะงานวิจัยพื้นฐานที่อาจไม่ตรงตามความต้องการของภาคเอกชน

ใน อนาคตเทคโนโลยีนาโนจะเป็นกระแสที่มาแรงในวงการอุตสาหกรรม เนื่องจากสามารถนำมาประยุกต์ใช้ผลิตสินค้าได้หลากหลาย เช่น เสื้อผ้า ยาสีฟัน เครื่องใช้ไฟฟ้า โดยประเทศผู้นำด้านเทคโนโลยีนาโน ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เยอรมนี จีน เกาหลี ญี่ปุ่น แต่วัสดุที่ทำจากเทคโนโลยีนาโนมีราคาแพงมาก หากนำเข้ามาใช้ในประเทศจะสูญเสียเงินตราต่างประเทศ จึงต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวขึ้นมา ซึ่งปัจจุบันไทยสามารถพัฒนาไปถึงขั้นการปรับปรุงขนาดรูปร่างและสีของวัสดุนา โนได้แล้ว และสามารถควบคุมคุณสมบัติให้เหมาะสมกับการนำไปพัฒนาสินค้า

ด้าน นายพรชัย หอมชื่น ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ บริษัท บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม จำกัด (มหาชน) ให้มุมมองในฐานะภาคเอกชนว่า ภาครัฐควรมีนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ชัดเจน และบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน เช่น กระทรวงอุตสาหกรรมดูแลเรื่องการผลิต กระทรวงพาณิชย์ดูแลเรื่องตลาด และกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เข้ามาช่วยเพิ่มศักยภาพการผลิต ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์กับภาคเอกชน

อย่างไรก็ตาม การลงทุนทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้นั้น จำเป็นต้องทราบข้อมูลด้านตลาดก่อน ซึ่งผู้ซื้อบรรจุภัณฑ์ คือ ร้านค้า ไม่ใช่ผู้บริโภคคนสุดท้าย ดังนั้น บริษัทจึงมุ่งไปที่ตลาด โมเดิร์นเทรด และเมื่อทราบตลาดที่ชัดเจนแล้ว จึงเชื่อมโยงองค์ความรู้ที่มีอยู่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ วิเคราะห์ความเป็นไปได้ และจัดหาแหล่งเงินทุนต่อไป

“อุตสาหกรรม ไทยจำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้ต่างๆ เพื่อพัฒนาต่อไปได้อย่างยั่งยืน และสิ่งสำคัญคือ การปรับความคิดของนักวิจัยและความต้องการของผู้ประกอบการให้ตรงกัน เพื่อสร้างผลงานวิจัยที่ตอบโจทย์ความต้องการและสามารถต่อยอดไปสู่การผลิต เชิงพาณิชย์ของอุตสาหกรรมยุคใหม่ได้”

รายการอ้างอิง :
2556. “เทคโนโลยี-งานวิจัย” ตัวช่วยอุตสาหกรรมยุคใหม่. คม ชัด ลึก (กรอบบ่าย-ปิดหูเปิดตาอาเซียน). ฉบับวันที่ 18 ตุลาคม.– ( 80 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


seven + 1 =

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>