magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Tip & Trick กูเกิ้ลเพลย์ (Google Play) คืออะไร
formats

กูเกิ้ลเพลย์ (Google Play) คืออะไร

Google Play หรือ ร้านค้าออนไลน์ของกูเกิลที่มีบริการเนื้อหาดิจิทัล ทั้งแบบฟรี และต้องจ่ายสตางค์ ตัวอย่างชนิดของเนื้อหาดิจิทัล ได้แก่ เพลง, ภาพยนตร์, หนังสือ, แอพพลิเคชัน, เกมและอื่นๆ

บนอุปกรณ์ที่เป็นระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ (Android) เช่น แอนดรอยด์สมาร์ทโฟน แอนดรอยด์แท็บเล็ต (Tablet) และ Android Devices ชนิดอื่นๆ ผู้ใช้สามารถเข้าถึงร้านค้า Google Play ได้โดยผ่านแอพพลิเคชัน “Play Store” โดยผู้ใช้ต้องลงทะเบียนบัญชีออนไลน์ในการเปิดใช้งานครั้งแรก ด้วยบัญชีอีเมลของ “Gmail” หลังจากนั้นผู้ใช้สามารถเข้าไปเลือกดาวน์โหลดโปรแกรม (Apps) และ/หรือเกมที่ต้องการได้ ซึ่งจะมีการแบ่งประเภทของแอพพลิชันและเกม ไว้ในมุมมองต่างๆ ได้แก่ แบ่งตามประเภทหมวดหมู่ แบ่งตามประเภทการดาวน์โหลด แบบที่ต้องจ่ายเงิน แบบที่ดาวน์โหลดฟรี โดยเรียงลำดับตามความนิยมในการดาวน์โหลดไปใช้งาน จากมากไปน้อย เป็นต้น

กรณีที่ผู้ใช้มีอุปกรณ์ Android device มากกว่า 1 เครื่อง ซึ่งแต่ละอุปกรณ์มีการลงทะเบียนบัญชีกับ Google ไว้แล้ว  (โดยใช้บัญชีกูเกิลเป็นชื่อเดียวกันในทุกอุปกรณ์) เมื่อผู้ใช้เปิดโปรแกรม Play Store และเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตแล้ว สามารถเรียกดูรายชื่อทั้งหมด ของรายการแอพพลิเคชัน /เกมส์ (ทั้งแบบฟรีและซื้อแล้ว) “My apps” ที่เคยติดตั้งไปแล้วในทุกอุปกรณ์ที่ผู้ใช้ลงทะเบียนไว้ และสามารถเลือกเพิ่มการติดตั้งให้กับอุปกรณ์ Android อื่นๆ ของผู้ใช้ได้

แอพพลิเคชันส่วนใหญ่จะมีให้ดาวน์โหลดใช้งานได้ฟรี ส่วนแอพพลิเคชันที่ต้องจ่ายเงินซื้อมักจะเป็นในลักษณะที่หากผู้ใช้ต้องการเวอร์ชันที่ไม่มีแบนเนอร์โฆษณา หรือเวอร์ชันที่มีฟังก์ชันการใช้งานที่เพิ่มขึ้น ดีขึ้น เป็น Full Version ที่สมบูรณ์ ก็ต้องจ่ายเงินซื้อ ซึ่งแอพพลิเคชันที่ได้จ่ายเงินซื้อไปแล้ว โดยส่วนใหญ่สามารถเพิ่มการติดตั้งในอุปกรณ์แอนดรอยด์อื่นๆ ของผู้ใช้ (อุปกรณ์ต้องลงทะเบียนบัญชีเป็นชื่อเดียวกัน) ได้ไม่จำกัดจำนวนอุปกรณ์ แต่ก็มียกเว้นในบางแอพพลิเคชันที่ต้องจ่ายเงินซื้อสำหรับทุกๆ 1 อุปกรณ์

ข้อจำกัดอื่นๆ ของแอพพลิเคชันบนแอนดรอยด์ที่มี ได้แก่ ความเข้ากันได้ของแอพพลิเคชันและอุปกรณ์ ยกตัวอย่างเช่น แอพพลิเคชันที่ออกแบบมาเพื่อใช้กับ แอนดรอยด์ แท็บเล็ต ที่ใช้ปากกาเขึยนได้ หรือต้องการขนาดแสดงผลบนหน้าจอที่ค่อนข้างใหญ่ ก็อาจจะไม่สามารถทำงานได้ หรือทำงานได้ไม่เต็มรูปแบบ บนสมาร์ทโฟน หรืออีกตัวอย่าง เช่น แอพพลิเคชันที่สามารถทำงานได้บนมือถือยี่ห้อหนึ่ง รุ่นหนึ่ง ก็อาจทำงานได้ไม่สมบูรณ์ บนมือถือยี่ห้อเดียวกัน แต่รุ่นที่ต่ำลง หรือรุ่นที่เพิ่งตกรุ่นไป หรือเป็นคนละประเภท เช่น ยี่ห้อเดียวกัน แต่เป็นแท็บเล็ต กับ สมาร์ทโฟน แต่ก็มีบางแอพพลิเคชันที่ผู้พัฒนามีการพัฒนาออกมาแยกเวอร์ชันให้รองรับการทำงานบนอุปกรณ์ต่างประเภทกัน

รวมถึงตัวเวอร์ชันของระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ซึ่งแอพพลิเคชันที่พัฒนาออกแบบให้รองรับอุปกรณ์ใหม่ๆ ก็อาจจะไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ในอุปกรณ์ที่เป็นระบบรุ่นเก่าที่ไม่สามารถอัพเกรดระบบปฏิบัติการให้เป็นเวอร์ชันใหม่ได้แล้ว เนื่องจากข้อจำกัดในเรื่องของฮาร์ดแวร์ที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัยขึ้น เช่น ระบบ sensor ต่างๆ ที่ใส่มาในอุปกรณ์รุ่นใหม่ๆ สาเหตุหลักเนื่องมาจากแผนการตลาดของผู้ผลิตนั่นเอง– ( 135 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


− 1 = two

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>