magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home ข่าววิทยาศาสตร์ พัฒนาธุรกิจด้วย วิทย์+เทคโนโลยี
formats

พัฒนาธุรกิจด้วย วิทย์+เทคโนโลยี

เมื่อเร็วๆ นี้เอง ผมเพิ่งมีโอกาสเข้าไปเยี่ยมเว็ปไซต์ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช.ก็พบข้อมูลหลายประการที่เป็นผลงานและความประสงค์ที่จะทำให้เรื่องของ องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจได้ โดยเฉพาะในการส่งเสริมหรือสนับสนุนให้ธุรกิจมีความสามารถในการแข่งขันที่สูง ขึ้น

ประเด็นที่ผมเข้าไปสืบค้นข้อมูลในเว็ปของ สวทช. ก็เพื่อที่จะดูว่า งานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของ สวทช. นั้นจะมีอะไรบ้างที่เป็นแนวทางการสนับสนุนธุรกิจในยุคของเศรษฐกิจสีเขียว ที่มีขอบข่ายกว้างกว่า เออีซี ซึ่งเป็นเรื่องในระดับภูมิภาค          ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมธุรกิจไทยให้เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ในเศรษฐกิจสีเขียว สวทช. ได้มีผลงานวิจัยต่างๆเท่าที่พอประมวลได้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสิ่ง แวดล้อมและพลังงานที่ยั่งยืน โดยสรุป มีดังนี้

ได้จัดให้มีกลุ่มคลัสเตอร์งานวิจัยด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม เป็นกลุ่มวิจัยเฉพาะกลุ่มหนึ่งมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาเทคโนโลยี สนับสนุนการสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม และสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิต โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเกษตรของประเทศ ประกอบด้วย 3 โปรแกรมวิจัย คือ

(1) โปรแกรมสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน (Sustainable Environment) (2) โปรแกรมประสิทธิภาพทรัพยากรและพลังงาน (Resources and Energy Efficiency) (3) โปรแกรมพลังงานหมุนเวียนและเทคโนโลยีพลังงานใหม่ (Renewable Energy and New Energy Technology)

ข้อมูลในเว็บไซต์ของ สวทช. ได้นำเสนอโครงการและแผนงานสำหรับการวิจัยในรอบปี และผลของงานวิจัยที่สามารถนำมาขยายผลให้กับภาคธุรกิจเอกชนที่ต้องการพัฒนา ความแข็งแกร่งของธุรกิจ ตัวอย่างเช่น

งานวิจัยสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน (Sustainable Environment) มีผลงานวิจัยที่น่าสนใจ ได้แก่

การจัดทำ Life Cycle Inventory (LCI) หรือ วงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ เพื่อที่จะศึกษาว่า ตลอดช่วงชีวิตของผลิตภัณฑ์ใดๆจะสร้างผลกระทบอะไรบ้างต่อสิ่งแวดล้อม มีการใช้พลังงานไปมากน้อยเพียงใด ตั้งแต่การผลิต การใช้งาน ไปจนถึงการกำจัดทำลายภายหลังหมดอายุใช้งาน องค์ความรู้ด้านนี้ จะมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อธุรกิจที่จะส่งผลิตภัณฑ์ของตนเองเข้าไปจำหน่ายใน ตลาดโลก โดยเฉพาะในประเทศที่อาจมีกฎระเบียบหรือข้อบังคับให้ธุรกิจ ต้องจัดทำ LCI ของผลิตภัณฑ์ด้วย

การจัดทำ Greenhouse Gas (GHG) Inventory  หรือ ทะเบียนการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในระหว่างกระบวนการผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ขึ้นมา ในส่วนของ สวทช.จะมีผลงานที่ศึกษา ทะเบียนการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของภาคเกษตรและอาหารของประเทศ

ทั้ง 2 ผลงานวิจัยนี้ สามารถสร้างฐานข้อมูล ด้าน LCI และ GHG Inventory ของอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารของไทยได้แล้วกว่า 100 ฐานข้อมูล และของอุตสาหกรรมอื่นๆ อีกกว่า 50 ฐานข้อมูล

การวิเคราะห์ค่า Carbon Footprint (CF) หรือ “รอยเท้าคาร์บอน” ของผลิตภัณฑ์ด้านเกษตรและอาหารที่สำคัญ “รอยเท้าคาร์บอน” คือการติดตามว่าในทุกขั้นตอนการผลิตสินค้า ธุรกิจหรืออุตสาหกรรม จะปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมามากน้อยเท่าใดเมื่อคำนวณเทียบผลกระทบต่อสิ่ง แวดล้อมในหน่วยเทียบเท่ากับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ CO2 โดย สวทช. มีสมรรถนะในการประเมินค่า CF ของผลิตภัณฑ์ด้านเกษตรและอาหารไม่น้อยกว่า 50 ผลิตภัณฑ์ต่อปี และยังเน้นสนับสนุนให้เกิดระบบการประเมิน Carbon Footprint ที่ยั่งยืน เป็นที่น่าเชื่อถือสอดคล้องกับมาตรฐานนานาชาติ และสามารถสร้างผู้เชี่ยวชาญ/ที่ปรึกษา และผู้ทวนสอบ รวมไม่น้อยกว่า 50 คนต่อปี และโปรแกรมสำเร็จรูปด้านการประเมินวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ของประเทศไทย

การวิเคราะห์ค่า Water Footprint (WF) ของผลิตภัณฑ์ด้านเกษตรและอาหารที่สำคัญ หากจะแปลคำว่า Carbon Footprint เป็น “รอยเท้าคาร์บอน” Water Footprint ก็ต้องแปลว่า “รอยเท้าน้ำ”ซึ่งหมายถึงการติดตามกระบวนการผลิตสินค้าว่า ในแต่ละขั้นตอนจะมีการใช้น้ำในปริมาณเท่าใด เนื่องจากสภาวะด้านสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน เรื่องของการขาดแคลนน้ำที่มีคุณภาพดีพอสำหรับการดำรงชีวิตของมนุษย์ ถือได้ว่าเป็นภัยคุกคามที่สำคัญอย่างหนึ่งดังนั้น ธุรกิจหรืออุตสาหกรรม จึงจำเป็นที่จะต้องใช้น้ำอย่างประหยัด ในประมาณน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้

งานวิจัยด้าน ประสิทธิภาพทรัพยากรและพลังงาน (Resources and Energy Efficiency) มีผลงานที่น่าสนใจ เช่นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรและพลังงานในภาคอุตสาหกรรม (เน้นอุตสาหกรรมเกษตร: ข้าว มัน ยาง) สามารถเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมเกษตร (โรงแป้ง :ขยายผลเพิ่ม 10 โรงงาน และเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตไม่ต่ำกว่า 80%, โรงสีข้าว และโรงงานยาง : ขยายผลร่วมกับพันธมิตร ไม่ต่ำกว่า 10 โรงงาน) การจัดการของเสียอุตสาหกรรมเพื่อผลิตพลังงาน ประเภทความร้อน ขยะ น้ำเสีย สามารถจัดการของเสียอุตสาหกรรม โดยเพิ่มประสิทธิภาพไม่ต่ำกว่า 80% และขยายผลไม่ต่ำกว่า 5 โรงงาน

นอกจากตัวอย่างของงานวิจัยเชิงพาณิชย์ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมแล้ว สวทช. ยังมี โปรแกรมวิจัยตามเทคโนโลยี ที่เน้นการสร้างและสั่งสมความรู้และทุนทางปัญญาในเทคโนโลยีที่สำคัญตามแนว โน้มเทคโนโลยี อันเป็นแนวทางสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ และเป็นคลังข้อมูลวิทยาการของประเทศ

รวมไปถึงการบูรณาการความสามารถของ สวทช. และเครือข่ายวิจัยของประเทศด้วย Technology road map (TRM) ที่มีความชัดเจน ภายใต้เวลาที่เหมาะสม สามารถวัดความสำเร็จเชิงกระบวนการบริหารจัดการที่ทำให้บรรลุผลตามเป้าหมาย ที่กำหนดไว้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างฐานเทคโนโลยีใหม่ๆ หรือที่สำคัญในสาขาวิทยาการหลักของศูนย์แห่งชาติ ที่ต้องใช้เป็นฐานในการสร้างผลงานในรูปผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการที่สามารถตอบ สนองความต้องการอุตสาหกรรมได้ในคลัสเตอร์ต่างๆ ทั้งในปัจจุบันและอนาคตซึ่งดำเนินการโดยศูนย์แห่งชาติทั้ง 4 ศูนย์ ตามสาขาเทคโนโลยี ได้แก่ (1) ด้านพันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพ (2) เทคโนโลยีโลหะและวัสดุ (3) เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ และ(4) ด้านนาโนเทคโนโลยี ที่มีเป้าหมายผลผลิตหรือการสร้างเทคโนโลยีที่มีแนวโน้มที่จะเป็นเทคโนโลยีใน อนาคต

หากภาคธุรกิจหรืออุตสาหกรรมใด ที่ต้องการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของตนด้วยพื้นฐานของการใช้วิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยี ก็น่าจะลองเข้าไปติดต่อสอบถาม หรือ พูดคุยกับ สวทช. ได้

เพราะเป็นการให้บริการของภาครัฐ ในการสนับสนุนธุรกิจไทยให้ก้าวไกลในระดับที่สูงขึ้น

ดร.เรวัต ตันตยานนนท์ เชี่ยวชาญด้านธุรกิจเอสเอ็มอีจบปริญญาโท สำหรับผู้บริหารรุ่นที่ 13 คณะพาณิชยศาสตร์

และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์”บทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน

ไม่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานที่สังกัด”

รายการอ้างอิง :
เรวัต ตันตยานนท์. พัฒนาธุรกิจด้วย วิทย์+เทคโนโลยี. กรุงเทพธุรกิจ. ฉบับวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556.– ( 260 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


3 − three =

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>