magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก ดู’เอสซีจีวีเจน’อาสายั่งยืนสร้างคนรุ่นใหม่ใส่ใจ’ดินเค็ม’
formats

ดู’เอสซีจีวีเจน’อาสายั่งยืนสร้างคนรุ่นใหม่ใส่ใจ’ดินเค็ม’

นานแค่ไหนไม่มีใครทราบที่ชาวบ้านใน ชุมชนทุ่งเมืองเพีย อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น ต้องประสบปัญหาดินเค็ม ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ในพื้นที่แห่งนี้ส่งผลให้การประกอบอาชีพการเกษตรมีผลผลิต ตกต่ำ หนำซ้ำพื้นที่บางแห่งก็ถูกทิ้งร้าง เนื่องจากปลูกพืชอะไรไม่ขึ้น ทำให้คนรุ่นใหม่ยอมละทิ้งถิ่นฐานไปหางานทำในเมืองใหญ่ปล่อยให้พ่อแม่อยู่ตาม ลำพัง บางคนถึงขั้นยอมขายที่ดินในราคาถูกเพื่อแลกกับเงินประทังชีวิตไปวัน ๆ
แต่หลังจาก”เอสซีจี(SCG)”ร่วมกับศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่ง ชาติ(ไบโอเทค)และ กรมพัฒนาที่ดิน ได้ร่วมกันนำองค์ความรู้และวิธีการแก้ปัญหาดินเค็มมาถ่ายทอดสู่ชุมชนเมื่อ ประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านดีขึ้น หลังสามารถนำพื้นที่ดังกล่าวมาใช้ประโยชน์ในประกอบอาชีพทางด้านการเกษตร          “ท่อง โลกเกษตร”อาทิตย์นี้จะพาไปดูกิจกรรมของคนรุ่นใหม่ผู้มีจิตใจอาสาโดยการนำของ ศิลปินดัง”เต๋อ”ฉันทวิทย์ ธนะเสวี และน้องนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศที่อยากเข้ามาเรียนรู้และช่วยเหลือ สังคมร่วมกับเอสซีจี ภายใต้โครงการ”SCG V GEN อาสายั่งยืน”ในรูปแบบเรียลลิตี้เพื่อสร้างคนรุ่นใหม่ที่มีหัวใจอาสาพร้อม อุทิศแรงกายแรงใจที่จะไปเรียนรู้ ส่งต่อ สืบทอดและขยายองค์ความรู้และภูมิปัญญาต่าง ๆ เหล่านั้นไปถ่ายทอดสู่ชุมชนอื่นต่อไปเพื่อเป็นตัวอย่างให้กับคนรุ่นใหม่ทั่ว ประเทศ
บ่ายแก่ ๆ ของวันที่อากาศร้อนอบอ้าวต้นเดือนเมษายนที่ศูนย์เรียนรู้การแก้ปัญหาดินเค็ม บ้านหัวหนอง ต.หัวหนอง อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่นที่มีพ่อบรรยา หมื่นแก้วเป็นประธานศูนย์ฯ มีนักศึกษากลุ่มหนึ่งพร้อมศิลปินวัยรุ่นชื่อดัง นั่งล้อมวงรับฟังการบรรยายสรุปถึงสภาพปัญหาดินเค็มในหมู่บ้าน พร้อมวิธีการแก้ปัญหาจากดร.เฉลิมพล เกิดมณี นักวิจัยจากไบโอเทคเพื่อนำองค์ความรู้ไปถ่ายทอดสู่ชุมชนใกล้เคียง
ดร.เฉลิม พลอธิบายว่าวิธีการแก้ปัญหาดินเค็ม โดยใช้ภูมปัญญาชาวบ้านให้นำปุ๋ยพืชสด ผักตบชวา มูลสัตว์ ยิปซัมหรือปูนขาวมาใส่ในแปลงนาเพื่อลดความเค็มลง จากนั้นหาพืชมาปลูกโดยใช้ไม้ยืนต้นที่ทนดินเค็มและมีรากยาวลงลึกถึงใต้ดิน อย่างเช่น ยูคาลิปตัส ถั่วต้นใหญ่ มะขามเทศ สะเดา ต้นนนทรี ไผ่ตรง และไผ่หวาน ซึ่งล้วนแต่เป็นพืชที่มีรากยาวและลึก ทำให้พืชเหล่านี้ดูดน้ำจากใต้ดิน ช่วยลดความเค็มให้กับดินลงได้
นอก จากยังให้ความรู้แก่เกษตรกรเข้าใจในการปลูกต้นยูคาลิปตัสมากขึ้น จากก่อนหน้านี้ที่เคยเข้าใจกันว่าต้นยูคาลิปตัสเมื่อปลูกแล้วจะไปแย่งอาหาร พืชต่าง ๆ ซึ่งหากศึกษาจากโครงสร้างของต้นยูคาลิปตัส พบว่าเป็นพืชที่ไม่ควรปลูกใกล้กับพื้นที่สวนผลไม้ เพราะผลไม้ส่วนใหญ่มีรากยาวเหมือนกับต้นยูคาลิปตัส จึงถูกต้นยูคาลิปตัสแย่งอาหาร ทำให้ได้ผลผลิตไม่ดี
“เกษตรกร ส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าปลูกยูคาลิปตัสไม่มีประโยชน์ แต่ในความจริงแล้วสามารถปลูกได้ในพื้นที่ทำนา โดยเกษตรกรส่วนใหญ่มักจะปลูกกันตามหัวไร่ปลายนาเพื่อช่วยดูดความเค็มออกจาก ดิน ส่วนต้นก็สามารถตัดขายได้ด้วย”
นักวิจัยคนเดิมกล่าวต่อไปว่า ที่ผ่านมาได้แนะนำให้ชาวบ้านใช้วิธีการใส่อินทรียวัตถุที่สามารถทำได้ง่าย ๆ จากสิ่งที่มีอยู่แล้ว อย่างรำอ่อน แกลบ ปุ๋ยคอก และน้ำหมักชีวภาพ ที่สามารถทำเองได้มาผสมกัน และใช้การปลูกพืชรากลึกอย่างต้นยูคาลิปตัสมาดูดความเค็ม ที่นอกจากจะช่วยให้เกษตรกรสามารถปลูกข้าวได้แล้ว ต้นยูคาลิปตัสเมื่อโตเต็มที่ยังสามารถตัดขายสร้างรายได้อีกทางหนึ่งด้วย
“หลัง จากปรับเปลี่ยนวิธีการ เกษตรกรก็สามารถทำนาได้ จากปีแรกได้ผลผลิตเพียง 30% ปีที่สองได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นถึง 80% ทำให้ชาวบ้านเห็นผล จึงเริ่มรวมตัวกันมาเรียนรู้วิธีการจากศูนย์บ่มเพาะฯ แล้วนำกลับไปใช้ในพื้นที่ของตัวเองจนประสบผลสำเร็จ”ดร.เฉลิมพลกล่าว
หลัง รับฟังการบรรยายสรุปอยู่พักใหญ่ จากนั้นทั้งหมดก็ลงมือปฏิบัติจริงในการทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพตามขั้นตอนต่าง ๆ ที่ดร.เฉลิมพลแนะนำ เพื่อเตรียมพร้อมนำองค์ความรู้เรื่องวิธีการแก้ปัญหาดินเค็มทั้งภาคทฤษฎีและ การปฏิบัติจริงไปแนะนำชาวบ้านในชุมชมบ้านสระบัว ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านหัวหนองออกไปประมาณ 5 กิโลเมตรในวันรุ่งขึ้น โดยมีภารกิจหลักเพื่อช่วยชาวบ้านร่วมกันวางแผนแก้ปัญหาดินเค็ม ทดลองทำปุ๋ยหมักและน้ำชีวภาพ พร้อมสรุปผลจากกระบวนการเรียนรู้เพื่อเป็นแนวทางพัฒนาสู่ความยั่งยืนสืบไป
ก่อน จาก”เต๋อ”ฉันทวิทย์ ธนะเสวี ศิลปินวัยรุ่นชื่อดังกล่าวถึงความประทับใจในการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ แม้ว่าอากาศจะร้อนมาก แต่ก็ไม่ได้ทำให้ความมุ่งมั่นและตั้งใจของตนเองและน้อง ๆ นักศึกษาลดลงไป เมื่อเห็นชาวบ้านในชุมชนให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ก็ยิ่งมีกำลังใจเป็นพลัง ขับเคลื่อนเพื่อไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ โดยเฉพาะตัวศิลปินจะเป็นตัวชี้นำให้กับเยาวชนคนรุ่นใหม่ได้ดีที่สุด
“ก็ อยากฝากไปถึงเพื่อน ๆ ศิลปินนักแสดงด้วยกันให้มาสนใจปัญหาสังคมรอบข้างมากขึ้น โดยตัวเราเป็นผู้จุดประกายผ่านทางเด็ก ๆ เยาวชนคนรุ่นใหม่ก็น่าจะมีส่วนดึงพ่อแม่ผู้ปกครองให้มาสนใจปัญหาใกล้ตัวมาก ยิ่งขึ้น อย่างน้อยกลุ่มคนเหล่านี้จะเป็นผู้สืบสานต่อแทนคนรุ่นเก่าต่อไป”เต๋อกล่าวอ ย่างภูมิใจในฐานะตัวแทนศิลปินผ่านโครงการ”SCG V Gen อาสายั่งยืน”
สำหรับ เรื่องราวการเรียนรู้ของ”SCG V Gen” จะถูกถ่ายทอดผ่านรายการเจาะใจ ในรูปแบบของเรียลลิตี้โชว์ตลอด 6 สัปดาห์ตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายนถึง 11 กรกฎาคม 2556 เพื่อจะพาคนไทยก้าวสู้การเรียนรู้วิธีคิด ภูมิปัญญา และนวัตกรรมสมัยใหม่ในการแก้ปัญหาดินเค็ม ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของพื้นที่ภาคอีสานในปัจจุบัน

รายการอ้างอิง :
สุรัตน์ อัตตะ. ตามดู’เอสซีจีวีเจน’อาสายั่งยืนสร้างคนรุ่นใหม่ใส่ใจ’ดินเค็ม’. คม ชัด ลึก (กรอบบ่าย-ท่องโลกเกษตร). ฉบับวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2556.– ( 111 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


nine − = 6

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>