magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Human Rights สังคมอยู่ดี (Universal Design) : ความท้าทายใหม่ในภูมิภาคอาเซียน
formats

สังคมอยู่ดี (Universal Design) : ความท้าทายใหม่ในภูมิภาคอาเซียน

การสัมมนา เรื่อง สังคมอยู่ดี (Universal Design) : ความท้าทายใหม่ในภูมิภาคอาเซียน (Inclusive Society by Universal Design : New Challenge in AEC) วันอังคารที่ 2 เมษายน 2556 ในการประชุมวิชาการประจำปี 2556 สวทช. ครั้งที่ 9 ซึ่งจัดภายใต้หัวข้อเรื่อง “ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” นั้น เน้นที่การคิดค้นเทคโนโลยีเพื่อเสริมการออกแบบที่เป็นสากล ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาการเข้าถึงพื้นที่ ผลิตภัณฑ์ การบริการสาธารณะ และข้อมูลข่าวสารสำหรับทุกคน วิทยากรประกอบด้วยกลุ่มตัวแทนจากผู้ใช้ กลุ่มผู้ให้บริการ และนักวิจัย จากการเสวนาในครั้งนี้ หวังว่าจะช่วยให้ทราบถึงสถานภาพของความเป็นจริงของสังคมในปัจจุบัน และโอกาสของความเป็นไปได้ที่จะทำงานร่วมกันทั้งภาครัฐและเอกชน ที่จะพัฒนาเทคโนโลโยีเพื่่อช่วยแก้ปัญหาสำหรับทุกคนให้มีชีวิตอย่างสมบูรณ์ โดยมุ่งใช้เทคโนโลยีโดยที่ไม่เป็นภาระ เทคโนโลยีจะไม่เป็นสิ่งกีดขวางผู้ใด เทคโนโลยีจะสร้างสังคมที่ยั่งยืน และเทคโนโลยีจะช่วยสร้างสังคมอยู่เย็นเป็นสุข

การจะก่อให้เกิดสังคมอยู่ดีนั้น ต้อง

  1. มีความเสมอภาค และไม่เลือกปฏิบัติ ต้องส่งเสริมให้เกิดความเสมอภาค และหลีกเลี่ยงการเลือกปฏิบัติ
  2. คำนึงถึงการเข้าถึงและการใช้ประโยชน์

ดังนั้น ในการเตรียมเพื่อให้สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ จะต้องมีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ

  1. การออกแบบ (Design) ต้องมีการออกแบบทั้งสินค้า/ผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อให้คนมากกลุ่มที่สุดสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ โดยไม่ต้องดัดแปลง แก้ไข หรือ ดัดแปลง แก้ไขน้อยที่สุด หรืออาจะมีเทคนิคเฉพาะ
  2. การปรับ (Adaptation) มีสิ่งอำนวยความสะดวก (Assistive Technology-AT) โดยใช้หลักการต่อเติม เพื่อให้เหมาะสม ซึ่งจะแตกต่างจาก Universal Design (UD) ที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่แรก สามารถนำ UD และ AT มารวมเข้าด้วยกัน ซึ่งจะทำให้เกิดการลงตัว เป็นการเสริมซึ่งกันและกัน
  3. การให้ความช่วยเหลือ/ความอำนวยความสะดวกที่สมเหตุสมผล (Reasonable accommodation) ผู้ให้จัดให้ได้โดยไม่เสียผลประโยชน์ และผู้รับก็ไม่รู้สึกเสียศักดิ์ศรี

การที่คนพิการไม่สามารถเดินทางไปไหนมาไหนได้ เนื่องจากสภาพแวดล้อมพิการทำให้เป็นคนพิการ เพราะไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในการเอื้ออำนวยให้คนเหล่านี้ ให้สามารถออกไปใช้ชีวิตได้ตามปรกติเหมือนคนทั่วไป จึงมักจะเก็บตัวอยู่ที่บ้านเพื่อไม่ให้เป็นภาระคนรอบข้าง การออกแบบที่เรียกว่า อารยะสถาปัตย์ หรือ Universal Design ต้องคำนึง การออกแบบที่ก่อให้เกิดความสะดวก การออกแบบที่ก่อให้เกิดความปลอดภัย และ การออกแบบที่ก่อให้เกิดความสวยงาม (หรือจะเพิ่มความสง่างามในนัยยะของความเท่าเทียม)

ทั้งนี้กลุ่มผู้ใช้บริการ ได้เสนออุปสรรคที่ทำให้งานวิจัยเพื่อคนพิการไม่สามารถใช้ได้ คือ

  1.  ราคาแพง
  2. มีขนาดใหญ่ รูปลักษณ์และขนาด เทอะทะในการใช้งาน
  3. หามาใช้ได้ยาก การได้มาก็ยาก มีเงื่อนไขหลายอย่าง
  4. กรณีของซอฟต์แวร์ apps ต่างๆ นักพัฒนามักใช้บน Android แต่ผู้ใช้มักใช้ IOS

ดังนั้น การพัฒนาใดๆ ก็ตาม ให้คำนึงถึงว่า สิ่งที่พัฒนามีความจำเป็นมากแค่ไหน จึงต้องขวนขวายมาใช้ และ ควรมีการพูดคุยกับกลุ่มผู้ใช้งาน ช่วยกำหนดทิศทาง ร่วมสนับสนุนกันไปด้วยกัน

โดยในด้านของนักวิจัย ได้เสนอสรุปประเด็นในการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสร้างสังคมอยู่ดี ดังนี้

1. เป้าหมาย : มีเป้าหมายในการพัฒนาอยู่บนพื้นฐานของ Universal Design, Assistive Technology และ Reasonable accommodation

2. ข้อจำกัด ในเรื่อง

  • งบประมาณ
  • แผนปฏิบัติที่ต่อเนื่อง
  • สภาพแวดล้อมพิการยาวนานจนฝังรากลึก
  • องค์ความรู้การวิจัย พัฒนา ผลิตภัณฑ์และโครงสร้งพื้นฐานที่มีหรือสรรหามาได

3. โอกาส

  •  ความตื่นตัวของภาคประชาสังคม
  • กฎหมาย ข้อกำหนด และนโยบายภาครัฐ
  • งบประมาณ ในส่วนนี้ถือว่าเป็นโอกาสได้ถ้ารัฐบาลให้การสนับสนุน

4. การเติบโตของเทคโนโลยีในประเทศไทย

  • เทคโนโลยีที่ทำแล้ว เช่น TT RS, GR code, Digital TV, Smart Phone ฯลฯ
  • เทคโนโลยีที่จะทำ เช่น Sign language, e-Pub (มาตรฐานให้เกิดการใช้งานอย่างจริงจัง) Navigation สำหรับคนพิการ, Smart Phone สำหรับสังคมผู้สูงอายุ เป็นต้น

 – ( 465 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
1 Comment  comments 

One Response

  1. ขอบคุณครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


+ 6 = thirteen

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>