magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก กลยุทธ์ การคิดสร้างสรรค์ เพื่อสร้างนวัตกรรม (Creative Innovation Thinking)
formats

กลยุทธ์ การคิดสร้างสรรค์ เพื่อสร้างนวัตกรรม (Creative Innovation Thinking)

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 เมษายน 2556 ที่ผ่านมา ทางอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ร่วมกับ ชมรมผู้เช่าอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย  ได้จัด  TSP Talk เรื่อง “กลยุทธ์ การคิดสร้างสรรค์ เพื่อสร้างนวัตกรรม : Creative Innovation Thinking” โดย อาจารย์ ดร. ภูมิพร ธรรมสถิตย์เดช อาจารย์ประจำวิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อาจารย์ ดร. ภูมิพร ให้ความหมายของคำว่า นวัตกรรม หรือ Innovation เป็นสูตรจำง่ายๆ ว่า Idea + Know how = Innovation

ดังนั้น เวลาที่จะทำอะไร ต้องเห็นภาพรวม เห็น output สุดท้าย แล้วถึงวางแผนว่าจะต้องเตรียมอะไร ทำอะไรบ้าง ใส่อะไรเข้าไปจึงจะบรรลุภาพรวมหรือ output สุดท้ายนั้นๆ

จะเห็นได้ว่า บริษัทที่สามารถดำเนินกิจการอยู่ได้นั้น มีการทำวิจัยและพัฒนาหรือ R & D อยู่ จึงต้องมี value creation คิดถึงผู้ใช้ ผลิตอะไรออกมาให้โดนใจผู้ใช้ ต้องสร้างคุณค่าให้เกิดขึ้นก่อนแล้วมูลค่าจะตามมา ส่วนที่ผลิตออกมาให้โดนใจผู้ใช้ ก็จะมีนวัตกรรมเข้าไปมีส่วนร่วมด้วย

ระดับของนวัตกรรม มี 3 ระดับ คือ
1. Incremental innovation เป็นนวัตกรรมที่เกิดขึ้นจากผู้บริโภค ว่าต้องการอะไรสร้างตามนั้น
2. Next generation เป็นนวัตกรรมรูปแบบใหม่ เป็นการรวมระดับที่ 1 และ 3
3. Breakthrough เป็นการสร้างนวัตกรรมที่เปลี่ยนมากสุด ท้าทายพฤติกรรมของผู้บริโภค

นักวิจัย วิจัยงานออกมาแล้ว ไม่สามารถนำผลงานวิจัยออกมาในเชิงพาณิชย์ได้ เพราะนักวิจัย ถูกสอนให้เป็นนักวิทยาศาสตร์ นักประดิษฐ์ แต่ไม่ใช่ผู้ประกอบการ (Entrepreneur) ทำงานวิจัย คิดประดิษฐ์แล้ว ใครจะเอาไปใช้ต่อ มีองค์ความรู้ แต่บางทีมองไม่ออก ต้องให้คนอื่นช่วยบอก หรือทำแล้ว แต่ทำไม่สุด ควรส่งออกไปให้คนอื่นต่อยอด (Open) ซึ่งกระบวนการผลิตจนถึงเชิงพาณิชย์จะมีภาพเป็น

Idea –> Prototype –> Pilot –> Production –> Commercialization
วิทย์                                    วิศว                                        ธุรกิจ

Quantum Thinking มีไอเดีย คิดไอเดียใหม่ๆ จะมีกระบวนการให้ไอเดียนี้สำเร็จได้อย่างไร  ความคิดสร้างสรรค์ ต้องมองให้ออกเป็นนิสัย เป็นสิ่งที่ต่อยอดออกไปเรื่อยๆ

ทักษะสำคัญ 6 ประการ คือ

1. Personal mastering เก่งในสิ่งที่เราเก่งจริง
2. Intuition มีหลักคิด มองเห็นว่าใช้ได้เลย
3. Mastery of context ตีความเรื่องราวโดยใช้เรื่องราวนั้นๆ เห็นภาพอนาคต
4. Context integration สามารถเอามาผสมผสานกันได้
5. Creation synthesis เริ่มเปลี่ยนข้อมูลเป็นความรู้
6. Hyper-acclerated information processing ตีความ แปลงข้อมูลได้อย่างสะดวก รวดเร็ว

ดังนั้น ต้องมีการสร้างนิสัยของคนในองค์กรให้เกิดก่อน มีการสร้าง creative team ให้เกิดกระบวนการ know, share, learn & working together ต้องเอาไปใส่ใน corporate value ยกตัวอย่างของบางบริษัทที่มีกระบวนการที่เรียกว่า 3R’s โดย R ทั้ง 3 หมายถึง Rapid, Rough และ Right พูดง่ายๆ คือ สร้างเร็ว ไม่ต้องเป๊ะ แต่ถูกต้อง

ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) คือ ความสามารถในการสังเคราะห์เชื่อมโยง 4P นี้ เข้าด้วยกัน คือ Personal, Psychometric, Process และ Product

ผู้เขียนได้มอบรายการอ้างอิง ไว้ให้ด้วย เผื่อสนใจไปศึกษาหรืออ่านเพิ่มเติม เลยส่งภาพหน้าปกหนังสือพร้อมวิทยากรไว้ด้วยเลยค่ะ

แต่ส่งรายชื่อหนังสือข้างต้นให้เห็นกันชัดๆ อีกที

Different Thinking : Creative Strategies for Developing the Innovative Business (by Anja Foerster & Peter Kreuz)

The New Age of Innovation : Driving Cocreated Value Through Global Networks (by C.K. Prahalad and M.S. Krishnan)

Managing Technological Innovation : Competitive Advantage from Change (by Frederik Betz)

Open Service Innovation : Rethinking Your Business to Grow and Compete in a New Era (by Henry Chesbrough)

Quantum Leap Thinking : An Owner’s Guide to the Mind (by James Mapes)

Strategic Management of Technological Innovation (by Melissa Schilling)

The Power of Co-creation : Build It with Them to Boost Growth, Productivity, and Profits (by Venkat Ramasawamy and Francis Gouillart)– ( 2320 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


× two = 10

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>