magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก โรคมือ เท้า ปาก รับมืออย่างไรให้ไกลจากโรค
formats

โรคมือ เท้า ปาก รับมืออย่างไรให้ไกลจากโรค

เมื่อไม่นานมานี้ ข่าวโรคมือ เท้า ปาก ที่ระบาดในเด็ก ได้มีการนำเสนออย่างต่อเนื่อง จนทำให้โรงเรียนเหล่านี้ต้องปิดการเรียนการสอน เพื่อทำความสะอาดสถานที่ ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกัน และอยู่ให้ห่างจากโรคดังกล่าว เรามาทำความรู้จักโรคนี้กันให้มากขึ้น

โรคมือ เท้า ปาก เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มเอนเทอโรไวรัสหลายสายพันธุ์ย่อย โดยโรคนี้ถูกพบเมื่อ พ.ศ. 2500 ที่เมืองโทรอนโต ประเทศแคนาดา โดยเด็กจะมีอาการไข้และเกิดตุ่มน้ำใสในช่องปาก ต่อมาก็เกิดการระบาดอีกที่เมือง เบอร์มิงแฮม ประเทศอังกฤษ จนมีการเรียกกลุ่มอาการที่พบนี้ว่า โรคมือ เท้า ปาก ซึ่งประเทศเขตหนาวจะพบในช่วงฤดูร้อน ส่วนในประเทศเขตร้อนพบได้ตลอดทั้งปี ส่วนใหญ่จะระบาดในโรงเรียนอนุบาลหรือระดับประถม การติดต่อนั้นจะเกิดการสัมผัสโดยตรงจากน้ำลาย น้ำมูก หรืออุจจาระของผู้ป่วย

อาการของโรคนี้จะเริ่มจากไม่สบาย มีไข้ประมาณ 36 ถึง 39 องศา อยู่หนึ่งถึงสองวัน เบื่ออาหาร เจ็บคอ มีน้ำมูก มีผื่นแดงอักเสบที่ลิ้น เหงือก ฝ่ามือ ฝ่าเท้า จะเป็นเช่นนี้ประมาณ 10 วัน อาการต่างๆ ก็จะทุเลา แต่ถ้ามีอาการซึม ไม่รับประทานอาหาร ปวดศีรษะรุนแรง อาเจียนบ่อย ชักหรือแขนขาอ่อนแรง ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

วิธีป้องกัน
ควรหมั่นดูแลรักษาความสะอาด ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังทำกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะบริเวณผิวหนังที่มีผื่นหรือตุ่มใส่ รับประทานอาหารที่สะอาด ไม่ควรให้ช้อนร่วมกับผู้อื่น ไม่คลุกคลีกับผู้ป่วย ควรแยกเด็กป่วยไม่ปะปนกับเด็กปกติ รักษาความสะอาดบริเวณผิวหนังที่เป็นตุ่ม ไม่ควรเกา และควรตัดเล็บให้สั้น ควรทำความสะอาดของใช้ต่างๆ ของเด็กเป็นประจำ

แม้ในขณะนี้การระบาดของโรคมือ เท้า ปากจะยังไม่รุนแรง แต่ก็ให้ดูแลสังเกตน้องๆ ที่อยู่รอบตัวว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือไม่ จะได้ระมัดระวัง ให้ห่างไกลจากโรคชนิดนี้

 

แหล่งที่มา : หนูชะเอม. “โรคมือ เท้า ปาก…รับมืออย่างไรให้ไกลจากโรค”. Update. 27 (298) ; 107 ; สิงหาคม 2555.– ( 37 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


eight − 5 =

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>