magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก การเกิดพายุสุริยะ
formats

การเกิดพายุสุริยะ

ภาพดวงอาทิตย์ขณะปะทุและมีใยสุริยะพวยพุ่งออกมาจากชั้นบรรยากาศ

หอดูดาวอวกาศโซลาร์ไดนามิกส์ (Solar Dynamics Observatory) หรือยานอวกาศเอสดีโอ (SDO) ขององค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐ (นาซา) รวมถึงหอดูดาวสังเกตดวงอาทิตย์อื่นๆ ได้จับภาพปรากฏการณ์ใยสุริยะ (solar filament) และการปะทุของชั้นบรรยากาศดวงอาทิตย์ซึ่งพ่นมวลชั้นโคโรนา (coronal mass ejection) หรือซีเอ็มอี (CME) สู่อวกาศเมื่อวันที่ 31 ส.ค.2012 ที่ผ่านมา

มวลชั้นโคโรนาของดวงอาทิตย์ได้พุ่งสู่อวกาศด้วยความเร็วมากกว่า 1,450 กิโลเมตรต่อวินาที โดยมวลเหล่านั้นคืออนุภาคมีประจุที่เมื่อปะทะโลกแล้วจะรบกวนการทำงานของดาวเทียมและการสื่อสารวิทยุ รวมถึงทำลายระบบส่งกระแสไฟฟ้าได้ แต่นอกจากด้านร้ายๆ แล้ว ผลกระทบจากอนุภาคเหล่านั้นยังทำให้เกิดออโรรา (aurora) หรือแสงเหนือ (Northern Light) แสงใต้ (Southern Light) ที่สวยงามเมื่อปะทะสนามแม่เหล็กโลก

อย่างไรก็ดี ยังนับว่าเป็นโชคดีสำหรับโลกเพราะจากข้อมูลที่นักวิทยาศาสตร์นาซาแถลงสเปซด็อทคอมระบุว่า อนุภาคซีเอ็มอีไม่ได้พุ่งมายังโลกโดยตรง แต่ก็มีการเชื่อมกับสภาพแม่เหล็กของโลกหรือแมกเนโตสเฟียร์ (magnetosphere) ด้วยการแฉลบไป และเป็นสาเหตุให้เกิดแสงออโรราในคืนวันที่ 3 ก.ย. ตามเวลาซีกโลกตะวันตก

ซี อเล็กซ์ ยัง (C. Alex Young) นักฟิสิกส์สุริยะจากศูนย์การบินอวกาศก็อดดาร์ด (Goddard Space Flight Center) ของนาซากล่าวว่า “เป็นเรื่องยากที่จะระบุขนาดของปรากฏการณ์ 3 มิติ จากภาพ 2 มิติในมุมที่เห็นนี้ แต่คาดว่าใยสุริยะน่าจะมีขนาดมากกว่าเส้นผ่านศูนย์กลางของโลก 30 เท่า และเมื่อใยสุริยะพุ่งสู่อวกาศแล้วก็จะขยายตัวอย่างรวดเร็วได้เป็นระยะทางหลายล้านกิโลเมตร”

สำหรับภาพใยสุริยะนี้หอดูดาวเอสดีโอได้บันทึกไว้ด้วยความยาวคลื่นที่แตกต่างกัน 4 ความยาวคลื่น สัมพันธ์กับอุณหภูมิของวัตถุสุริยะที่แตกต่างกัน และจากเปรียบเทียบภาพเหล่านี้สเปซด็อทคอมระบุว่านักวิทยาศาสตร์คาดหวังที่จะปรับปรุงแผนที่การเคลื่อนไหวของพลาสมาบนดวงอาทิตย์ระหว่างการปะทุให้ดีขึ้น

สเปซด็อทคอมระบุอีกว่า ใยสุริยะยังเป็นที่รู้จักว่าเป็นเปลวสุริยะ (prominence) ซึ่งเราเรียกว่าใยสุริยะเมื่อเห็นลักษณะการพ่นมวลที่ขวางกับพื้นผิวดวงอาทิตย์ โดยใยสุริยะเหล่านั้นจะยึดติดกับบรรยากาศชั้นล่างของดวงอาทิตย์ที่เรียกว่าโฟโตสเฟียร์ (photosphere) และจะขยายออกสู่บรรยากาศชั้นนอกที่เรียกว่าโคโรนา (corona)

การเกิดพายุสุริยะมีสาเหตุมาจากกิจกรรมสนามแม่เหล็กบนพื้นผิวดวงอาทิตย์ที่เพิ่มขึ้นและทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ  ตามรอบวัฏจักรสุริยะ (solar cycle) ทุกๆ 11 ปีนั้น ในปี 2013 ดวงอาทิตย์จะเกิดกิจกรรมและการปะทุถี่มากที่สุดจากนั้นจะค่อยลดจำนวนและสงบลงอย่างเช่นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา และกิจกรรมบนดวงอาทิตย์นี้ยังสอดคล้องกับจำนวน “จุดมืด” (sunspot) ซึ่งช่วงนี้กำลังเพิ่มมากขึ้นด้วย

ภาพใยสุริยะจากกล้องของหอดูดาวอวกาศไซลาร์ไดนามิกส์ 4 ความยาวคลื่น ไล่ตามเข็มนาฬิกาจากซ้ายบน 335, 171, 304 และ 131 อังสตรอม (นาซา/สเปซด็อทคอม)

แหล่งที่มา : ว้าว! คลิป “ดวงอาทิตย์” ปะทุอีก คราวนี้ยืดยาวสุดๆ. ผู้จัดการออนไลน์ [ออนไลน์]. (วันที่ 12 กันยายน 2555). เข้าถึงได้ที่ : http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9550000112181. (วันที่ค้นข้อมูล 18 ตุลาคม 2555).– ( 209 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


four + 4 =

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>