magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก 5 โอกาสเสี่ยงตายเมื่อ “ดิ่งพสุธาจากขอบอวกาศ”
formats

5 โอกาสเสี่ยงตายเมื่อ “ดิ่งพสุธาจากขอบอวกาศ”

ฟีลิกซ์ บามการ์ทเนอร์ ขณะเตรียมกระโดดจากความสูงกว่า 39.045 กิโลเมตรในชั้นสตราโทสเฟียร์ (ภาพประกอบจาก รอยเตอร์)

ถึงแม้ว่า “ฟีลิกซ์ บามการ์ทเนอร์” นักดิ่งพสุธาชาวออสเตรียวัย 43 ปีจะทำสถิติดิ่งโลกที่ระดับความสูงเกินกว่าที่ตั้งเป้าไว้ที่ระดับ 36 กิโลเมตรไปหลายกิโลเมตร และยังพุ่งตัวลงมาด้วยความเร็วมากกว่าความเร็วเสียง แต่ปฏิบัติการดังกล่าวก็มีถึง 5 ปัจจัยเสี่ยงที่จะปลิดชีวิตเขาได้

ฟีลิกซ์ บามการ์ทเนอร์ (Felix Baumgartner) นักดิ่งพสุธาวัย 43 ปีชาวออสเตรีย ทำสถิติ “ตกอิสระ” (Freefall) จากความสูง 39,045 กิโลเมตร และทำสถิติพุ่งตัวด้วยความเร็วมากกว่าความเร็วเสียงได้เป็นคนแรกโดยไม่อาศัย ยานพาหนะช่วยในการทำความเร็ว เมื่อวันที่ 14 ต.ค.2012 ตามเวลาท้องถิ่นจากฐานปฏิบัติการของภารกิจเรดบูลสตราโทส (Red Bull Stratos) ที่รอสเวลล์ นิวเม็กซิโก อย่างไรก็ดี ไลฟ์ไซน์ระบุว่าบามการ์ทเนอร์และทีมเรดบุลสตราโทสได้ประเมินถึง 5 ปัจจัยความเสี่ยงที่จะทำให้เขาเสียชีวิตระหว่างปฏิบัติภารกิจ ดังนี้

หมุนควง “แฟลตสปิน” ปัญหาคือเมื่ออยู่ในที่สูงซึ่งมีความดันอากาศต่ำ นักดิ่งพสุธาเสี่ยงที่จะตกอยู่ในภาวะ “แฟลตสปิน” ซึ่งในสภาวะดังกล่าวร่สงกายของนักดิ่งพสุธาจะหมุนควงในแนวนอน และการหมุนที่ไม่อาจควบคุมได้นี้อาจทำให้บามการ์ทเนอร์หมดสติได้ เลือดจะพุ่งพรวดไปที่สุดปลายสุดของร่างกาย ซึ่งรวมถึงศีรษะของเขาเมื่อเลือดพุ่งไปที่ศีรษะก็อาจไปกองที่ดวงตาและทำให้เกิดภาวะตาบอดชั่วคราว ได้ กรณีเลวร้ายที่สุดคือแรงหมุนและแรงฉีดเลือดพุ่งไปยังศีรษะ อาจเป็นสาเหตุให้เลือดออกที่สมองและจับตัวเป็นลิ่ม ซึ่งเป็นสาเหตุถึงตายได้โดยง่าย ทั้งนี้แนวทางป้องกันกรณีที่เกิดการหมุนจนไม่สามารถควบคุมได้นั้น ร่มชูชีพที่ออกแบบมาพิเศษจะดีดตัวออกทันทีเพื่อช่วยให้การตกลงมานิ่งขึ้นอ (ระหว่างการตกอิสระของบามการ์ทเนอร์ในภารกิจประวัติศาสตร์นั้น เผยให้เห็นการหมุนตกลงมาด้วย แต่เขาก็กางร่มชูชีพและร่อนลงอย่างปลอดภัย)

เลือดเดือดเป็นฟอง ที่ขอบอวกาศ (edge of space) ซึ่งบามการ์ทเนอร์ใช้เป็นจุดเริ่มต้นการดิ่งพสุธานั้น มีความดันอากาศน้อยกว่า 1% ของความดันอากาศที่พื้นผิวโลก โดยที่ความสูง 19,200 ขึ้นไปนั้นการขาดความดันอากาศจะทำให้เกิดฟองอากาศขึ้นในกระแสเลือดซึ่งเป็น อาการของ “เลือดเดือด” (Boiling Blood)ฟองอากาศดังกล่าวใหญ่พอที่จะหยุดการไหลของกระแสเลือดในเส้นเลือดใหญ่และเป็น สาเหตุของความตายได้ และการลดความดันอากาศอย่างฉับพลันทำให้ปอดขยายและยุบตัวได้ และการลดความดันอากาศนี้เป็นสาเหตุให้ร่างกายบวมในไม่กี่วินาที ซึ่งเป็นเรื่องที่เคยเกิดกับ โจเซฟ ดับเบิลยู กิตติงเจอร์ (Capt. Joseph W. Kittinger) อดีตทหารสหรัฐฯ ผู้ทำสถิติดิ่งพสุธาที่ความสูง 31.133 กิโลเมตรเมื่อปี 1960 โดยเมื่อถุงมือของเขาไม่สามารถปรับความดันได้ตามปกติ มือของเขาก็บวมขึ้นเป็น 2 เท่าระหว่างที่ตกลงมา

สำหรับแนวทางป้องกันนั้น ทีมงานได้ออกแบบชุดปรับความดันและหมวกนิรภัยสำหรับบามการ์ทเนอร์ ที่ช่วยปกป้องนักดิ่งพสุธาจากปัญหาดังกล่าว และยังมีมาตรการฉุกเฉินทางการแพทย์รองรับทันที ในกรณีที่เกิดวิกฤตเมื่อบามการ์ทเนอร์ลงมาถึงพื้น

แข็งตาย ที่ชั้นบรรยากาศสูงๆ นั้นเย็นจัดมาก โดยทีมเรดบูลสตราโทสประเมินว่า เมื่อบามการ์ทเนอร์ก้าวเท้าออกจากแคปซูลเขาจะเผชิญกับอุณหภูมิประมาณ -23 องศาเซลเซียส และเมื่อดิ่งตัวลงมาเขาจะเผชิญกับอุณหภูมิถึง -56 องศาเซลเซียสหรือต่ำกว่านั้น และที่อากาศเย็นขนาดนั้นร่างกายของเขาจะไม่สามารถรักษาระดับอุณหภูมิที่ 37 องศาเซลเซียสตามอุณหภูมิปกติไว้ได้ เมื่ออุณหภูมิร่างกายลดต่ำลงถึง 28 องศาเซลเซียสก็ทำให้เกิดการมหดสติได้ และเสียชีวิตได้เมื่อร่างกายมีอุณหภูมิต่ำกว่า 21 องศาเซลเซียส ดังนั้น เพื่อป้องกันการแข็งตายชุดของเขาจึงต้องป้องกันอุณหภูมิได้ถึง -58 องศาเซลเซียส

ปะทะคลื่นกระแทก เมื่อร่างของบามการ์ทเนอร์พุ่งตัวด้วยความเร็วระดับเสียง จะเกิดแรงกระทำระหว่างคลื่นกระแทก (shock wave) เมื่อปะทะกับอากาศในชั้นสตราโทสเฟียร์ ซึ่งจะมีแรงตีเข้าหาร่างของเขาและอาจทำอันตรายแก่ร่างกายหรือชุดปรับความดัน และเขาจะปะทะกับอากาศอย่างรวดเร็วจนอากาศไม่สามารถไหลออกจากเส้นทางที่เขา พุ่งตัวลงมา แต่กรณีนี้ไม่เป็นปัญหามากนัก เพราะคลื่นกระแทกจะมีความรุนแรงน้อยในอากาศที่มีความหนาแน่นต่ำ

โหม่งพื้น จากตกจากพื้นที่ความสูงกว่า 39 กิโลมตรโดยที่ไม่ลดความเร็วอย่างเพียงพอนั้นเป็นเรื่องอันตรายมาก แม้ว่าในกรณีที่บามการ์ทเนอร์หมดสติระหว่างดิ่งพสุธานั้นร่มชูชีพจะกางออก ได้อัตโนมัติ แต่เขาก็ไม่อาจปรับความเร็วเพื่อลงจอดได้อย่างปลอดภัย ซึ่งจะทำให้การกลับสู่พื้นโลกเป็นเรื่องยากมากนอกจากที่ชั้นบรรยากาศสตราโทสเฟียร์ยังมีสภาพแวดล้อมที่อันตรายเกินกว่า มนุษย์จะมีชีวิตอยู่ได้ ที่ชั้นบรรยากาศดังกล่าวไม่มีออกซิเจนเพียงพอสำหรับมนุษย์และอุณหภูมิก็เย็น จัดมาก และยังเป็นภาวะสุญญากาศ ซึ่ง อาร์ต ทอมป์สัน (Art Thompson) ผู้อำนวยการโครงการด้านเทคนิคของเรดบูลสตราโทสกล่าวว่า หากอยู่ในชั้นสตราโทสเฟียร์โดยไม่สวมชุดอวกาศ คนเราจะตายภายใน 4 วินาที

แหล่งที่มา : 5 โอกาสตายเมื่อ ดิ่งพสุธา จากขอบอวกาศ. Khon Ken Community. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้ที่ : http://forum.khonkaenlink.info/index.php?topic=16949549.0. (วันที่ค้นข้อมูล 18 ตุลาคม 2555).– ( 179 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
1 Comment  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


1 + one =

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>