magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home ASEAN เครือข่ายความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของอาเซียน (ASEAN Occupational Safety and Health Network : ASEAN-OSHNET)
formats

เครือข่ายความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของอาเซียน (ASEAN Occupational Safety and Health Network : ASEAN-OSHNET)

สืบเนื่องจากที่ประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ความเป็นไปได้ในการจัดตั้งศูนย์เครือข่ายการฝึกอบรมและสารสนเทศด้านการปรับปรุงสภาพการทำงานและสิ่งแวดล้อมสำนักงานเลขาธิการอาเซียน (Workshop on Feasibility Study on Establish ASEAN Training and Information Centre / Network for Improvement of Working Conditions and Environment) ณ Quezon City ประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งจัดขึ้นโดย สำนักเลขาธิการอาเซียน มีมติที่ประชุม
1. จัดตั้งเครือข่ายความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของอาเซียน (ASEAN Occupational Safety and Health Network : ASEAN-OSHNET)
2. จัดตั้งคณะกรรมการบริหารเครือข่ายความปลอดภัย และอาชีวอนามัยของอาเซียน (ASEAN-OSHNET Coordinating Board)
3. รายงานผลการดำเนินงานต่อที่ประชุมคณะอนุกรรมการอาเซียนด้านแรงงาน (ASEAN Subcommittee on Labour Affairs-ASCLA) หรือที่ประชุมรัฐมนตรีแรงงานอาเซียนในปัจจุบัน

ในที่ประชุม The 6th Workshop of ASCLA (ASEAN Subcommittee on Labour Affairs) ณ กรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า เลขาธิการอาเซียน ได้แจ้งที่ประชุมถึง การจัดตั้งเครือข่ายความปลอดภัย และอาชีวอนามัยของอาเซียน อย่างเป็นทางการ ประกอบด้วยประเทศสมาชิก 10 ประเทศ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้

1. เพื่อเพิ่มความร่วมมือและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
2. พัฒนาขีดความสามารถ ส่งเสริมการฝึกอบรม และวิจัยด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
3. ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ทักษะและการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
4. ส่งเสริมการพัฒนามาตรฐานและแนวปฏิบัติความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของอาเซียน

พันธกิจ
1. รวบรวมและเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
2. พัฒนาพื้นฐานความรู้ด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัยของภูมิภาคที่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศมาชาก
3. พิจารณาจัดการฝึกอบรมด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัยที่ตรงกับความต้องการของประเทศสมาชิก โดยการให้การสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญและวิทยากรในกลุ่มประเทศสมาชิก
4. ร่วมกันรับผิดชอบต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน กิจกรรม โครงการของเครือข่ายฯ
5. การดำเนินงานวิจัยโดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัย สถาบันเชี่ยวชาญด้านการวิจัยภาคเอกชน และองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไรต่างๆ
6. ร่วมเป็นเครือข่านกับองค์กรด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัย
7. วางรากฐานพื้นฐานที่จำเป็นด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัยของกลุ่มประเทศสมาชิกให้เท่าเทียมกัน เพื่อตอบสนองนโยบาย กฎหมาย มาตรฐานสากล
8. ระดมความร่วมมือและการสนับสนุนด้านงบประมาณ และด้านเทคนิคจากกลุ่มประเทศสมาชิก องค์กรหรือองค์กรพันธมิตรอื่นๆ ที่ประเทศสมาชิกประสานความร่วมมืออยู่
9. ประสานเชื่อมโยงกับหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ของอาเซียน องค์กรพันธมิตรของอาเซียน องค์กรสากล และภาคเอกชนที่มีส่วนการดำเนินงานในภูมิภาคอาเซียน รวมถึงองค์กรนายจ้าง ลูกจ้าง และองค์กรที่เกี่ยวเนื่องด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
10. เผยแพร่ข้อมูลการดำเนินงนของเครือข่ายฯ ไปสู่สาธารณชน ผู้ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัย และผู้สนใจ

หน้าที่ของแต่ละประเทศสมาชิก

1. ด้านสารสนเทศ ประเทศไทย เป็นผู้รับผิดชอบ
2. ด้านการฝึกอบรม ประเทศฟิลิปปินส์ เป็นผู้รับผิดชอบ
3. ด้านการวิจัย ประเทศอินโดนีเซีย เป็นผู้รับผิดชอบ
4. ด้านมาตรฐานความปลอดภัย อาชีวอนามัย ประเทศมาเลเซียเป็นผู้รับผิดชอบ
5. ด้านการตรวจความปลอดภัย ประเทศสิงคโปร์ เป็นผู้รับผิดชอบ
6. ด้าน National OSH Framework ประเทศเวียดนาม เป็นผู้รับผิดชอบ
7. ด้าน SME and Informal Economy ประเทศกัมพูชา เป็นผู้รับผิดชอบ

สำหรับประเทศไทย หน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ กระทรวงแรงงาน http://www.oshthai.org ส่วนเว็บไซต์ทางการของเครือข่ายความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของอาเซียน คือ  http://www.aseanoshnet.org/

รายการอ้างอิง:

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. สำนักความปลอดภัยแรงงาน. เครือข่ายความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของอาเซียน. [ออนไลน์] : http://www.oshthai.org– ( 642 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


3 − = two

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>