magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home ห้องสมุด ความคล้ายคลึงและความแตกต่างของ Information science Library science และ Computer science
formats

ความคล้ายคลึงและความแตกต่างของ Information science Library science และ Computer science

ความหมาย ขอบเขต และความสัมพันธ์ระหว่าง Information science Library science และ Computer science

Information science
Information science หรือ Information studies มีคำเรียกที่แตกต่างกันในภาษาไทย เช่น “วิทยาการสารสนเทศ” (ทักษิณา และ ฐานิศรา, 2546 : 348 ; ราชบัณฑิตสถาน, 2543 : 79) “สารสนเทศศาสตร์” (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์, 2542 : 32) หรือ “สนเทศศาสตร์” (องค์การยูเนสโก, 2538 : 4)

Borko (2007) ทักษิณา และ ฐานิศรา (2546 : 348-349), ราชบัณฑิตสถาน (2543 : 79) และ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์ (2542 : 32) กล่าวว่า Information science เป็นสหวิทยาการหนึ่งใน วิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์ (Applied computer science) อย่างไรก็ตาม Information science เป็นสหสาขาวิชาที่กว้างและเกี่ยวโยงกับหลายสาขาวิชาไม่เพียงเฉพาะ วิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer science)

การศึกษาเกี่ยวกับลักษณะการจัดการและการใช้สารสนเทศครอบคลุมกิจกรรมหลายขั้นตอน คือ การจัดหา  การคัดเลือก  การวิเคราะห์  การรวบรวม  การจัดหมวดหมู่ การจัดการ การจัดเก็บ การค้นคืน การเผยแพร่ และการใช้ สารสนเทศ (Borko, 2007 ; ทักษิณา และ ฐานิศรา, 2546 : 348-349 ; ราชบัณฑิตสถาน, 2543 : 79 ; มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์, 2542 : 32)

เนื่องจาก Information science เป็นสหวิทยาการประกอบด้วยวิชาที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างและเนื้อหาวิชาต่างๆ โดยเฉพาะการจัดการเนื้อหา ทำให้มีความคาบเกี่ยวกับ Library science หรือ บรรณรักษศาสตร์ เช่นเดียวกันการวิเคราะห์ การประมวลผล การเก็บ และการค้นคืนสารสนเทศ ซึ่งจำเป็นที่จะต้องนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาสนับสนุน จึงมีความคาบเกี่ยวกับ Computer science หรือ วิทยาการคอมพิวเตอร์


มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์ (2542 : 34-35) เสนอว่า แม้เนื้อหาหลักของวิชา Information science จะคล้ายคลึงกับวิชาพื้นฐานทาง Library science แต่จะเน้นการศึกษาเฉพาะเรื่องให้ลึกซึ่ง นอกจากนี้ทฤษฎีและวิธีการที่ต้องอาศัยศาสตร์อื่นสำหรับ Information science คือ เครื่องมือสำหรับวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์และพฤติกรรม  การประมวลผล การเก็บ และการเผยแพร่สารสนเทศ  เครื่องมือสำหรับวิเคราะห์และทำให้เข้าใจถึงสิ่งแวดล้อม ตลอดจนเครื่องมือสำหรับการบริหารและจัดการ

เมื่อเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างระหว่าง Information science และ Library science มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์ (2542 : 36) ได้สรุปความคล้ายคลึงและความแตกต่างของศาสตร์ทั้ง 2 ไว้ดังนี้
ความคล้ายคลึงระหว่าง Information science และ Library science คือ
1. ศาสตร์ทั้งสองมีลักษณะเป็นสหวิทยาการและเกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ ข้อมูลข่าวสาร ที่มีการบันทึกไว้ เพื่อการอนุรักษ์และการใช้
2. กระบวนการจัดการที่เป็นทำนองเดียวกัน
3. ศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องและถูกนำมาใช้คล้ายคลึงกัน
ขณะที่ความแตกต่างระหว่าง Information science และ Library science คือ
1. Information science เน้นการแสวงหาและนำเนื้อหาออกมาใช้ ขณะที่  Library science เน้นการรวบรวมและอนุรักษ์เนื้อหาและทรัพยากรสารสนเทศ
2. Information science จะดำเนินงานทางเทคนิคเพื่อวิเคราะห์เนื้อหาอย่างละเอียดและเจาะลึก เพื่อให้ผู้เข้าถึงเนื้อหาอย่างเร็ว ขณะที่ Library science จะดำเนินงานทางเทคนิคเพื่อเก็บเนื้อหาอย่างกว้างๆ
3. Information science มุ่งให้บุคคลหรือกลุ่มเป้าหมายเฉพาะเข้าถึงสารสนเทศเฉพาะเรื่องอย่างลึกซึ้งตามความต้องการ ต่างจาก Library science มุ่งให้คนส่วนใหญ่เข้าถึงสารสนเทศทั่วไป

Library science
Library science หรือ Library studies โดยกำหนดใช้ในภาษาไทย คือ “บรรณารักษศาสตร์” เป็นสหสาวิชาที่เกี่ยวข้องกับห้องสมุดเน้นการดูแล อนุรักษ์ และใช้ “บรรณ” หรือ วรรณกรรม ในฐานะที่เป็นผลผลิตและทรัพย์สินทางปัญญา และจัดระบบวิชาการต่างๆ เพื่อความสะดวกในการใช้ ซึ่งอาศัยหลักการณ์บางส่วนของ Information science

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์ (2542 : 31-32) เสนอเนื้อหาหลักของ Library science ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับความรู้ ความคิด ประสบการณ์ ข้อมูล ข่าวสาร ที่ได้รับการบันทึกลงในสื่อต่างๆ ทฤษฎี หลักเกณฑ์ และวิธีปฏิบัติในการพิจารณาคุณภาพของวรรณกรรมเพื่อคัดเลือกไว้ในห้องสมุด การจัดหมวดหมู่วรรณกรรม การทำรายการวรรณกรรม มาตรฐานการลงรายการ การสร้างหัวเรื่อง การจัดเก็บหนังสือเพื่อการใช้และอนุรักษ์หนังสือ ตลอดจนการให้บริการแก่ผู้ใช้ ขณะที่เนื้อหาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้องกับ Library science ได้แก่ วิชาการบริหารงานและการจัดการทรัพยากร การกำหนดนโยบายวางแผนและประเมินผล วิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ในการดำเนินงานและบริการของห้องสมุด วิชาจิตวิทยา สังคมวิทยา มนุษยสัมพันธ์ ทักษะในการสื่อสาร และโทรคมนาคมสำหรับการจัดบริการ ความรู้ภาษาต่างประเทศในการอ่านวรรณกรรมภาษาต่างๆ ความรู้พื้นฐานในวิชาต่างๆ ที่มีอยู่ในห้องสมุด เพื่อให้สามารถอ่านวรรณกรรมในวิชานั้นได้ รวมทั้งวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ และการประยุกต์ใช้กับการวิจัยทางบรรณารักษศาสตร์

Computer science
Computer science หรือ Computing science ราชบัณฑิตยสถาน (2543 : 31) แปลคำดังกล่าวเป็นภาษาไทยว่า “วิทยาศาสตร์เชิงคอมพิวเตอร์” อนึ่งศัพท์นี้ในภาษาไทยมีใช้กันอยู่หลายคำ เช่น  “คอมพิวเตอร์ศาสตร์” “วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์” “ศาสตร์คอมพิวเตอร์” แต่ทบวงมหาวิทยาลัยกำหนดให้ใช้ “วิทยาการคอมพิวเตอร์” ทักษิณา และ ฐานิศรา (2546 : 140)

Computer science เป็นสาขาวิชาที่เน้นการเรียนรู้และการทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และวิศวกรรม โดยเฉพาะที่ว่าด้วยการกำหนดรูปแบบ และการนำเครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์มาใช้งาน หรือสั่งให้ทำงานตามที่ต้องการ เช่น กระบวนการต่างๆ ในการประมวลผลข้อมูลเพื่อให้เป็นสารสนเทศ (Information) (Burkot, 2012 ; ทักษิณา และ ฐานิศรา, 2546 : 140 ; ราชบัณฑิตยสถาน, 2543 : 31 ; ทักษิณา, 2529 : 94-95) Computer science มักถูกพิจารณาให้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับคณิตศาสตร์มากกว่าสาขาวิชาอื่นๆ ทางด้านวิทยาศาสตร์ (Denning, 2000)

The Computing Sciences Accreditation Board, Inc. (CSAB) ซึ่งถูกก่อตั้งจากผู้แทนของ The Association for Computing Machinery (ACM), and The IEEE Computer Society (IEEE-CS) ระบุ 4 ขอบเขตหลักของ Computer science คือ
1.    ทฤษฎีของการคำนวณ
2.    อัลกอริทึมและโครงสร้างข้อมูล
3.    วิธีการเขียนโปรแกรมและภาษา และ
4.    องค์ประกอบคอมพิวเตอร์และสถาปัตยกรรม

ติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม คลิกที่นี่

รายการอ้างอิง

  • Borko, H. (2007). “Information Science: What Is It?”. American Documentation [Online]. 19, 1 (3-5). http://onlinelibrary.wiley.com.eresources.shef.ac.uk/doi/10.1002/asi.5090190103/pdf [Accessed 1 January 2013].
  • Burkot, R. (2012). What is Computer Science? [Online]. Nevada: wiseGEEK. http://www.wisegeek.com/what-is-computer-science.htm [Accessed 1 January 2013].
  • Computing Sciences Accreditation Board. (1997). “Computer Science as a Profession” [Online]. http://www.csab.org/comp_sci_profession.html [Accessed 1 January 2013].
  • Denning, P. J. (2000). “Computer Science: the Discipline”. Encyclopedia of Computer Science [Online]. http://staffweb.worc.ac.uk/DrC/Symposium/Resources/Denning%20CS-The%20Discipline.pdf [Accessed 7 January 2013].
  • The University of Otago. What is Information Science? [Online]. Otago: the University of Otago. http://infosci.otago.ac.nz/what-is-information-science [Accessed 7 January 2013].
  • ทักษิณา สวนานนท์. (2529). พจนานุกรมคอมพิวเตอร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  • ทักษิณา สวนานนท์ และ ฐานิศรา เกียรติบารมี. (2546). พจนานุกรมศัพท์คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ฉบับปรับปรุงใหม่. กรุงเทพ: วี.ที.ซี คอมมิวนิเคชั่น.
  • มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์. (2542). เอกสารการสอนชุดวิชา 13201 สารนิเทศศาสตร์เบื้องต้น. นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
  • ยูเนสโก ; ผู้แปล: ประดิษฐา ศิริพันธ์, เลขา ลิมจิตติ, เรืองศรี จุลละจินดา ; ผู้ตรวจและขัดเกลาภาษา: คุณหญิง แม้นมาส ชวลิต. (2538). สนเทศศาสตร์ : ปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนา. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
  • ราชบัณฑิตยสถาน. (2543). ศัพท์คอมพิวเตอร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน แก้ไขเพิ่มเติม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน.

– ( 1268 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


+ nine = 18

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>