สท.-พัฒนาชุมชนยโสธร เสริมความรู้-เพิ่มทักษะชุมชนทอผ้าด้วยเทคโนโลยี

สท.-พัฒนาชุมชนยโสธร เสริมความรู้-เพิ่มทักษะชุมชนทอผ้าด้วยเทคโนโลยี

เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดยโสธร จัดอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยี “การใช้เอนไซม์เอนอีซ (ENZease) และเทคนิคการสกัดสีจากพืชในท้องถิ่น” ให้ชุมชนทอผ้า อำเภอค้อวัง จังหวัดยโสธร ผู้เข้าอบรมได้ทดลองใช้เอนไซม์เอนอีซทำความสะอาดเส้นไหม ช่วยลดความมันลื่นและย้อมติดสีได้ดี นอกจากนี้ยังได้นำพืชในท้องถิ่น ได้แก่ ดอกบัว ก้านบัว เปลือกและใบของสบู่เลือด (พรรณไม้เถา) มาต้มสกัดสีนำไปย้อมเส้นไหมที่ทำความสะอาดแล้ว โดยใช้สารส้มและปูนแดงเป็นสารมอแดนท์ ได้เส้นไหม 9 เฉดสี ก้านบัวให้โทนสีเทาเข้ม ดอกบัวให้โทนสีเขียวใส เปลือกและใบของสบู่เลือดให้โทนสีน้ำตาลเหลือง ผู้เข้าอบรมให้ความสนใจนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในงานทอผ้าของชุมชน ซึ่ง สท. จะลงพื้นที่ติดตามอีกครั้งเพื่อผลักดันและเพิ่มทักษะให้ชุมชนต่อไป

สท.-พัฒนาชุมชนศรีสะเกษยกระดับผลิตผ้าไหมพื้นเมืองด้วยเทคโนโลยี

สท.-พัฒนาชุมชนศรีสะเกษยกระดับผลิตผ้าไหมพื้นเมืองด้วยเทคโนโลยี

เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับโครงการส่งเสริมศิลปาชีพอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.ศิลาลาด จ.ศรีสะเกษ และสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดเทคโนโลยี “ยกระดับการผลิตผ้าไหมพื้นเมือง” ให้กลุ่มเกษตรกร ผู้ประกอบการทอผ้ามาตรฐานนกยูง จำนวน 25 คน ได้ร่วมเรียนรู้และทดลองใช้เอนไซม์ ENZease กำจัดกาวไหม โดยแช่เส้นไหมในน้ำอุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส นาน 3 ชั่วโมง ช่วยประหยัดพลังงานเชื้อเพลิงในการต้ม และประหยัดเวลามากกว่าร้อยละ 50 นอกจากนี้ผู้เข้าอบรมยังได้เรียนรู้การสกัดสีธรรมชาติจากพืชในท้องถิ่น ได้แก่ ใบยูคาลิปตัสและเปลือกมะพร้าวอ่อน โดยใช้สารส้ม ปูนแดงและสนิมเป็นสารมอร์แดนท์ ได้ 6 เฉดสี ได้แก่ สีโทนเทา

สท.-ม.กาฬสินธุ์ เสริมความรู้มัดย้อมฝ้าย-สกัดสีจากพืชท้องถิ่น ต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้ชุมชน

สท.-ม.กาฬสินธุ์ เสริมความรู้มัดย้อมฝ้าย-สกัดสีจากพืชท้องถิ่น ต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้ชุมชน

เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2566 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับมหาวิทยลัยกาฬสินธุ์ จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “เทคนิคการมัดย้อมฝ้าย” ให้กลุ่มผ้ามัดย้อมบ้านหนองชำไฮ ตำบลด่าน อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติ์ธนัตถ์ ญาณพิสิษฐ์ ผู้อำนวยศูนย์ความเป็นเลิศด้านสิ่งทอพื้นเมืองแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ เป็นวิทยากรให้ความรู้การใช้เอนไซม์เอนอีซทำความสะอาดผ้าฝ้าย การสกัดสีจากพืชในชุมชน เช่น ใบมะม่วงให้สีเหลืองอ่อน เปลือกเพกาให้สีเหลืองเข้ม โดยใช้สารส้ม น้ำปูนใสและดินทุ่งกุลาเป็นสารมอร์แดนท์* ทำให้เม็ดสีเข้มขึ้นและสีย้อมติดทนนาน ผู้เข้าร่วมอบรมได้ฝึกปฏิบัติมัดย้อมผ้าเช็ดหน้าและเสื้อเป็นลวดลายต่างๆ พร้อมต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ของกลุ่มฯ และทดสอบจำหน่ายในงานกาชาดของจังหวัดศรีสะเกษช่วงปลายปีนี้ *มอร์แดนท์หรือสารช่วยย้อม คือ วัตถุธาตุที่ใช้ผสมสีเพื่อให้สีติดแน่นกับผ้าที่ย้อม มีทั้งที่ได้จากเคมีและธรรมชาติ เช่น เหล็ก ทองแดง สารส้ม ดิน เปลือกไม้

สท. ถ่ายทอดความรู้การใช้เอนไซม์เอนอีซ-สกัดสีธรรมชาติให้กลุ่มผู้ทอผ้าอำเภอราษีไศล

สท. ถ่ายทอดความรู้การใช้เอนไซม์เอนอีซ-สกัดสีธรรมชาติให้กลุ่มผู้ทอผ้าอำเภอราษีไศล

เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2566 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับสำนักงานเกษตรอำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดเทคโนโลยีเอนไซม์เอนอีซและการสกัดสีธรรมชาติ ให้กลุ่มผู้ทอผ้าเครือข่ายเกษตรอำเภอและเครือข่ายสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอราษีไศล จำนวน 61 คน โดยมีนายวิวัฒน์ พร้อมพูน ผู้ช่วยปฏิบัติงานวิจัย สวทช. บรรยายให้ความรู้การใช้เอนไซม์เอนอีซ และร่วมกับผู้เข้าอบรมทดสอบการใช้เอนไซม์เอนอีซ ซึ่งเป็นผลงานวิจัยของ สวทช. ที่ใช้กำจัดสิ่งสกปรกและลอกแป้งเส้นใยฝ้ายในขั้นตอนเดียว เอนไซม์เอนอีซยังช่วยให้เส้นใยฝ้ายสะอาด สัมผัสนิ่มขึ้น ไม่ต้องต้มฝ้าย ขณะที่การทำความสะอาดเส้นใยต้องต้มไม่น้อยกว่า 2-3 ชั่วโมง ทำให้ประหยัดพลังงาน ลดการใช้สารเคมี และเมื่อนำมาย้อมจะติดสีได้ดีและสีสม่ำเสมอกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการไม่ใช้เอนไซม์ นอกจากนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติ์ธนัตถ์ ญาณพิสิษฐ์ ผู้อำนวยศูนย์ความเป็นเลิศด้านสิ่งทอพื้นเมืองแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ได้ถ่ายทอดความรู้วิธีการสกัดสีธรรมชาติจากเปลือกต้นเพกาให้สีเหลือง ดินทุ่งกุลาให้สีดำ