ยโสธร

สวทช. โดย สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชนและสถาบันการศึกษาในพื้นที่จังหวัดยโสธร โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานคณะทำงานขับเคลื่อนการทำงานภายใต้โครงการ “การพัฒนาเศรษฐกิจด้วย BCG Model พื้นที่นำร่องทุ่งกุลาร้องไห้ (ปี พ.ศ.2567-2571)” Quick Win:  ข้าว-พืชหลังนา สิ่งทอ โคเนื้อ ผักอินทรีย์   1. การยกระดับคุณภาพมาตรฐานการผลิตข้าวและสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกรด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม 2. การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับสิ่งทอพื้นเมือง 3. การพัฒนายกระดับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม 4. การพัฒนาศักยภาพกลุ่มผู้ผลิตผักในระบบเกษตรอินทรีย์แบบครบวงจร เป้าหมาย: เกษตรกรเข้าถึงเทคโนโลยี 1,000 คน

สท.-พัฒนาชุมชนยโสธร เสริมความรู้-เพิ่มทักษะชุมชนทอผ้าด้วยเทคโนโลยี

สท.-พัฒนาชุมชนยโสธร เสริมความรู้-เพิ่มทักษะชุมชนทอผ้าด้วยเทคโนโลยี

เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดยโสธร จัดอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยี “การใช้เอนไซม์เอนอีซ (ENZease) และเทคนิคการสกัดสีจากพืชในท้องถิ่น” ให้ชุมชนทอผ้า อำเภอค้อวัง จังหวัดยโสธร ผู้เข้าอบรมได้ทดลองใช้เอนไซม์เอนอีซทำความสะอาดเส้นไหม ช่วยลดความมันลื่นและย้อมติดสีได้ดี นอกจากนี้ยังได้นำพืชในท้องถิ่น ได้แก่ ดอกบัว ก้านบัว เปลือกและใบของสบู่เลือด (พรรณไม้เถา) มาต้มสกัดสีนำไปย้อมเส้นไหมที่ทำความสะอาดแล้ว โดยใช้สารส้มและปูนแดงเป็นสารมอแดนท์ ได้เส้นไหม 9 เฉดสี ก้านบัวให้โทนสีเทาเข้ม ดอกบัวให้โทนสีเขียวใส เปลือกและใบของสบู่เลือดให้โทนสีน้ำตาลเหลือง ผู้เข้าอบรมให้ความสนใจนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในงานทอผ้าของชุมชน ซึ่ง สท. จะลงพื้นที่ติดตามอีกครั้งเพื่อผลักดันและเพิ่มทักษะให้ชุมชนต่อไป