“บ้านนางอย-โพนปลาโหล” ชุมชนพึ่งพาตนเองในสถานการณ์ Covid-19

“บ้านนางอย-โพนปลาโหล” ชุมชนพึ่งพาตนเองในสถานการณ์ Covid-19

บ้านนางอย-โพนปลาโหล ตำบลเต่างอย อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร ชุมชนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (ในหลวงรัชกาลที่ 9) ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงทอดพระเนตรเห็นความเป็นอยู่ที่แร้นแค้นของราษฎร และทรงดำเนินการพระราชทานแนวทางเพื่อยกระดับและเปลี่ยนชีวิตผู้คน ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีรายได้ที่มากขึ้น สามารถรักษาสภาพการพัฒนาและความเป็นอยู่ที่ดีต่อไปได้ด้วยกลุ่มชาวบ้านเอง ตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2523 จนถึงปัจจุบัน เป็นเวลา 40 ปี หลายหน่วยงานได้สืบสานพระราชดำริของพระองค์ท่าน ส่งผลให้แม้ในช่วงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19) คนทั่วโลกได้รับผลกระทบ แต่คนในชุมชนแห่งนี้สามารถฝ่าวิกฤตได้ด้วย “เศรษฐกิจพอเพียง” และ “การพึ่งพาตนเอง” ตั้งแต่ปี 2551 “ศูนย์การเรียนรู้วิสาหกิจชุมชนอำเภอเต่างอย” เป็นศูนย์กลางจัดกิจกรรมให้คนในอำเภอเต่างอย เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ โดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของชุมชน เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกพืชและแปรรูป การฝึกอบรมและศึกษาดูงาน ก่อให้เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้แบบพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาชุมชนชนบท: บ้านนางอย-โพนปลาโหล อ.เต่างอย จ.สกลนคร

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาชุมชนชนบท: บ้านนางอย-โพนปลาโหล อ.เต่างอย จ.สกลนคร

หลังจากที่ได้มีการก่อตั้ง “โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 3 เต่างอย” ในปี 2526 โดยมีบทบาทส่งเสริมการปลูกพืชในระบบเกษตรอุตสาหกรรมและเป็นตลาดรับซื้อผลผลิตทางการเกษตร เพื่อแปรรูปและจำหน่าย ส่งผลให้ลดการอพยพของชาวบ้านไปหางานทำนอกพื้นที่ได้ เกิดกลไกการสร้างและสนับสนุนการอยู่ร่วมกันแบบครอบครัว และลดการย้ายพื้นที่ปลูก โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมร่วมกับการจัดการทรัพยากรเพื่อเพิ่มผลผลิตต่อไร่ รวมทั้งส่งผลต่อการยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจของชุมชน ในช่วงปี 2538-2550 โรงงานหลวงฯ เต่างอย เปลี่ยนการดำเนินงานมาอยู่ภายใต้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยจัดตั้งเป็น “บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด” ดำเนินงานโดยใช้กลไกทางธุรกิจเป็นแนวทาง ส่งผลให้ความร่วมมือกับเกษตรกรสมาชิกและชุมชนลดลง และผลการดำเนินงานไม่ประสบความสำเร็จทางด้านธุรกิจ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงทราบ จึงมีแนวพระราชดำริให้ดำเนินงานในรูปแบบวิสาหกิจชุมชน โดยให้ใช้โรงงานหลวงฯ เต่างอย เป็นกลไกการพัฒนาพื้นที่ หารูปแบบและวิธีที่เหมาะสมเพื่อสร้างความสามารถให้กับชุมชนเป็นผู้ดำเนินการโรงงานหลวงฯ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ได้ร่วมกันจัดตั้ง “ศูนย์การเรียนรู้วิสาหกิจชุมชนอำเภอเต่างอย”

บ้านนางอย-โพนปลาโหล อ.เต่างอย จ.สกลนคร

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เสด็จไปยังหมู่บ้านนางอย–โพนปลาโหลจ.สกลนคร เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2523 ทรงทอดพระเนตรเห็นความเป็นอยู่ที่ยากแค้นของราษฎร จึงมีพระราชดำริเกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาหมู่บ้านนางอย–โพนปลาโหล ดังนี้ “ปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของราษฎรในหมู่บ้านนางอย–โพนปลาโหลให้ดีขึ้น ส่งเสริมให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ภายหลังดำเนินการพัฒนาแล้ว ราษฎรในหมู่บ้านสามารถรักษาสภาพความเป็นอยู่และพัฒนาต่อไปได้ด้วยกลุ่มชาวบ้านเอง” จากพระราชดำริดังกล่าว ได้นำไปสู่การจัดตั้ง “โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 3 เต่างอย” ดำเนินงานโดยโครงการพระราชดำริ มีบทบาทส่งเสริมการปลูกพืชในระบบเกษตรอุตสาหกรรมและเป็นตลาดรับซื้อผลผลิตทางการเกษตร เพื่อแปรรูปและจำหน่าย ส่งผลให้ลดการอพยพออกไปหางานทำนอกพื้นที่ เกิดกลไกการสร้างและสนับสนุนการอยู่ร่วมกันแบบครอบครัว และลดการย้ายพื้นที่ปลูก โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมร่วมกับการจัดการทรัพยากรเพื่อเพิ่มผลผลิตต่อไร่ รวมทั้งส่งผลต่อการยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจของชุมชน สวทช. ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) หน่วยงานในท้องถิ่น และชุมชนดำเนิน “โครงการวิสาหกิจชุมชน–โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป” ตั้งแต่ปี 2551 โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกษตรกรพึ่งตนเองได้ โดยใช้โรงงานเป็นเครื่องมือของชุมชนในการพัฒนาตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง นอกจากนี้ยังได้นำความรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี