สท.-สนง.เกษตรสงขลา จัดเวทีถอดบทเรียนยกระดับเครือข่ายเกษตรกรผลิตผักอินทรีย์ด้วยเทคโนโลยี

สท.-สนง.เกษตรสงขลา จัดเวทีถอดบทเรียนยกระดับเครือข่ายเกษตรกรผลิตผักอินทรีย์ด้วยเทคโนโลยี

เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2568 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดสงขลา จัดกิจกรรมถอดบทเรียน “การยกระดับเครือข่ายผู้ผลิตผักอินทรีย์ด้วยเทคโนโลยีโรงเรือนและการบริหารจัดการผลิตพืชผัก” ณ ห้องประชุมสหกรณ์เครดิตยูเนียนบ้านโคกม่วง จำกัด ต.คลองหอยโข่ง อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา โดยได้รับเกียรติจากนายอำนวย พิณสุวรรณ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา เป็นประธานเปิดงาน น.ส.วิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. และนายประถม มุสิกรักษ์ เกษตรจังหวัดสงขลา เข้าร่วมพิธีเปิดงาน โดยมีเกษตรกรจากเครือข่ายผู้ผลิตผักอินทรีย์ในจังหวัดสงขลารวม 45 คน จาก 6 อำเภอ ได้แก่ หาดใหญ่ คลองหอยโข่ง จะนะ รัตภูมิ เทพาและสะเดา

สท. ร่วมหารือขับเคลื่อน “ผ้าทอมือและผลิตภัณฑ์ OTOP ศรีสะเกษ” ด้วยนวัตกรรม

สท. ร่วมหารือขับเคลื่อน “ผ้าทอมือและผลิตภัณฑ์ OTOP ศรีสะเกษ” ด้วยนวัตกรรม

เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2568 นางสาวอัณณ์สุชา พฤกษ์สุนันท์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารจัดการพื้นที่ และนายวิวัฒน์ พร้อมพูน ผู้ช่วยปฏิบัติงานวิจัย สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมประชุมหารือแนวทางการขับเคลื่อน “ผ้าทอมือและผลิตภัณฑ์ OTOP ศรีสะเกษ” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 กับสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ หน่วยงานภาครัฐและภาคีเครือข่าย ณ หอประชุมนันทพันธ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ โดย สท. ได้ร่วมนำเสนอนวัตกรรมพร้อมใช้ ได้แก่ นาโนเทคโนโลยีเคลือบเส้นใยเพิ่มคุณสมบัติพิเศษ กันยูวี นุ่มลื่น กันแบคทีเรีย เพิ่มกลิ่นหอมสะท้อนน้ำ และเทคโนโลยีเอนไซม์ SilkPro ทำความสะอาดเส้นใย

งานประชุมวิชาการประจำปี สวทช. (NAC2025)

งานประชุมวิชาการประจำปี สวทช. (NAC2025)

สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมจัดนิทรรศการในงานประชุมวิชาการประจำปี สวทช. (NAC2025) โดยนำเสนอภายใต้แนวคิด “S & T Implementation for Sustainable Thailand สร้างเศรษฐกิจใหม่เพื่อชุมชน” นำเสนอเทคโนโลยีและนวัตกรรมของ สวทช. ที่ได้ถ่ายทอดสู่เกษตรกรและชุมชนในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ โซนเกษตร โซนวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว โซนเทคโนโลยีสมัยใหม่ โซนเกษตร   โซนวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว ​   โซนเทคโนโลยีสมัยใหม่

สท. ร่วมงานเทศกาลดอกลำดวนบานฯ ศรีสะเกษ นำเสนอเทคโนโลยีด้านสิ่งทอยกระดับผ้าไทย

สท. ร่วมงานเทศกาลดอกลำดวนบานฯ ศรีสะเกษ นำเสนอเทคโนโลยีด้านสิ่งทอยกระดับผ้าไทย

เมื่อวันที่ 12-16 มีนาคม 2568 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ จัดกิจกรรม “เรียนรู้ สร้างสรรค์กับเทคโนโลยีสิ่งทอ สวทช.” พร้อมทั้งจัดแสดงผลิตภัณฑ์ผ้าไหมย้อมสีธรรมชาติจากพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ที่ได้รับการยกระดับด้วยเทคโนโลยีของ สวทช. ภายในงานเทศกาลดอกลำดวนบาน สืบสานประเพณีสี่เผ่าไทยศรีสะเกษ โดยได้รับเกียรติจากนายอนุพงศ์ สุขสมนิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เยี่ยมชมบูธกิจกรรมของ สวทช. และมีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 100 คน กิจกรรมดังกล่าวมุ่งสร้างการรับรู้และส่งเสริมการนำเทคโนโลยีมาพัฒนาและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน โดย สท. ได้นำเทคโนโลยีด้านสิ่งทอที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตผ้าไหม ได้แก่ การลอกกาวไหมด้วยเอนไซม์ซิลค์โปร (SilkPro) ที่สามารถลอกกาวออกได้อย่างมีประสิทธิภาพและรักษาคุณภาพของเส้นไหม การใช้แป้งพิมพ์สีธรรมชาติ Magik Color และการใช้นาโนเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์สิ่งทอไทยให้มีความหลากหลาย ตอบโจทย์ความต้องการของตลาด

‘6 ข้าวสายพันธุ์ใหม่’ ยกระดับประสิทธิภาพการผลิตข้าวในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้

‘6 ข้าวสายพันธุ์ใหม่’ ยกระดับประสิทธิภาพการผลิตข้าวในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้

ข้าวสายพันธุ์ใหม่ จำนวน 6 สายพันธุ์ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มข้าว ดังนี้ 1) กลุ่มพันธุ์ข้าวหอมนุ่มพรีเมี่ยม ได้แก่ สายพันธุ์หอมสยาม 2 ปรับปรุงฐานพันธุกรรมขาวดอกมะลิ 105 (ผลผลิตสูง) 2) กลุ่มพันธุ์ข้าวสีโภชนาการสูง ได้แก่ สายพันธุ์แดงจรูญ นิลละมุน ไรซ์เบอร์รี่ 2 3) กลุ่มพันธุ์ข้าวเหนียวเพื่ออุตสาหกรรมข้าวเม่า ได้แก่ สายพันธุ์ธัญสิรินต้นเตี้ย ข้าวเหนียวดำ 

เกษตรกรยโสธรเฮ ปลูก ‘ถั่วเขียว KUML’ 2 เดือน สร้างรายได้หลักหมื่น สวทช.-ธ.ก.ส.-สนง.เกษตรยโสฯ นำปลูกครบวงจร ขยายปลูกพันไร่ ปี 69

เกษตรกรยโสธรเฮ ปลูก ‘ถั่วเขียว KUML’ 2 เดือน สร้างรายได้หลักหมื่น สวทช.-ธ.ก.ส.-สนง.เกษตรยโสฯ นำปลูกครบวงจร ขยายปลูกพันไร่ ปี 69

(11 มีนาคม 2568) ณ บ้านกุดเสถียร ตำบลสร้างมิ่ง อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร น.ส.วิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และผู้อำนวยการ สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) นำสื่อมวลชนร่วมงานวันเก็บเกี่ยวถั่วเขียว KUML และเปิดตัวศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตถั่วเขียว KUML ระดับชุมชน จากงานวิจัยสู่แปลงผลิตด้วยความรู้และเทคโนโลยี โดยมีนายสันชัย พัฒนะวิชัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร เป็นประธานเปิดงาน น.ส.วิราภรณ์ กล่าวว่า สท. สวทช. ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน กลุ่มส่งเสริมพืชน้ำมันและพืชตระกูลถั่ว สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร

เพราะอยาก (เรียน) รู้ จึงมาหา ‘ความรู้’

เพราะอยาก (เรียน) รู้ จึงมาหา ‘ความรู้’

เลอทีชา เมืองมีศรี และ ปิยพร เศรษฐศิริไพบูลย์ สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) …โลกของการทำเกษตรอินทรีย์มีเรื่องให้เรียนรู้ไม่จบสิ้น เมื่อได้ออกเดินทางครั้งแรก ย่อมมีครั้งที่สอง … การเดินทางไกลครั้งที่สองของตัวแทนสมาชิกเครือข่ายผู้ผลิตผักอินทรีย์จังหวัดสงขลา ได้เริ่มต้นอีกครั้งเมื่อวันที่ 2-6 มีนาคม 2568 หลังจากเมื่อปลายปี 2566 พวกเขาได้เดินทางไปเรียนรู้ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (คลิกอ่าน “จากสงขลาสู่เชียงใหม่ เรียนให้รู้ ดูให้เห็น ทำให้เป็น” ) ทริปหาความรู้ครั้งนี้ มีหมุดหมายที่ “วิสาหกิจชุมชนปันบุญ” “วิสาหกิจชุมชนปลูกผักปลอดภัยฆ้องชัยพัฒนา” อ.ฆ้องชัย จ.กาฬสินธุ์ และ “คลีนฟาร์ม” ต.หนองหัวโพ อ.หนองแซง จ.สระบุรี “อยากเรียนรู้พร้อมลงมือปฏิบัติ ตั้งแต่ผสมปุ๋ยหมัก วิธีปลูก ดูแลรักษา