เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2564 โปรแกรมการพัฒนาที่ยั่งยืน และโปรแกรมการส่งเสริมกลุ่มนักวิจัยแกนนำ จัดสัมมนาวิชาการผ่านระบบออนไลน์ ในงานประชุมวิชาการประจำปี สวทช. (NAC2021) ภายใต้หัวข้อ “เปิดแนวคิด เทรนด์อุตสาหกรรม ด้วยหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน” โดยมี ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย กล่าวเปิดงาน โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้แก่

  • ศ.ดร.สมนึก ตั้งเติมสิริกุล (นักวิจัยแกนนำ ประจำปี 2562) สังกัด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ดร.วิกรม วัชระคุปต์ สังกัด สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
  • นางสาวสลิลลา สีหพันธุ์ บริษัท โลตัส ประเทศไทย 

โดยการบรรยายภายใต้หัวข้อนี้ ให้ความสำคัญกับการจัดการขยะและของเสียมาใช้ประโยชน์ใหม่ การนำทรัพยากรหมุนเวียนกลับมาใช้เพื่อลดการใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ การเพิ่มประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ มุ่งเน้น 2 ตัวชี้วัดสำคัญ คือ ลดการใช้ทรัพยากรลง 1 ใน 3  จากปัจจุบัน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไม่น้อยกว่า 10 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า โดยกำหนดกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย 3 กลุ่ม ได้แก่ พลาสติกครบวงจร การก่อสร้างอย่างยั่งยืน และอุตสาหกรรมเกษตร และอาหาร

ศ.ดร.สมนึก ตั้งเติมสิริกุล ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการก่อสร้างอย่างยั่งยืน โดยคอนกรีตเป็นวัสดุที่มีการใช้มากที่สุดเป็นอันดับสองรองจากน้ำ อุตสาหกรรมการก่อสร้างปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณร้อยละ 20 มากที่สุดเป็นอันดับสามรองจากภาคการผลิตไฟฟ้าและการขนส่ง อย่างไรก็ตามการก่อสร้างที่ผ่านมาเน้นการก่อสร้างที่มีความแข็งแรง ยังไม่ได้คำนึงความคงทน ปัจจัยสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ความคงทนของสิ่งปลูกสร้างมีความคงทนแตกต่างกัน ดังนั้น การก่อสร้างอย่างยั่งยืนจะต้องพิจารณา 4 ส่วน  ได้แก่ การวิเคราะห์ออกแบบ วัสดุก่อสร้าง การปฏิบัติงานก่อสร้าง และการบำรุงรักษา ซึ่งจะต้องทำการศึกษาและจัดทำมาตรฐาน คู่มือปฏิบัติ และข้อกำหนดที่ใช้ในการก่อสร้างให้ครบอายุการใช้งาน ไปพร้อมกันด้วย

ผู้สนใจสามารถรับชมการบรรยายย้อนหลังและ Download เอกสารได้ที่ 
https://www.nstda.or.th/nac/2021/2021/03/03/ss29-drive-thailand-industries-by-circular-economy/