Line Track Skip to content

พระราชกรณียกิจเกี่ยวกับฟิสิกส์พลังงานสูง โครงการความร่วมมือไทยกับเซิร์น
ตามแนวพระราชดำริฯ

พระราชกรณียกิจเกี่ยวกับฟิสิกส์พลังงานสูง โครงการความร่วมมือไทยกับเซิร์น
ตามแนวพระราชดำริฯ

โครงการความสัมพันธ์ไทย-เซิร์นตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า
กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

ความร่วมมือระหว่างไทยกับเซิร์นเกิดขึ้นด้วยพระกรุณาธิคุณของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่สนพระทัยในความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของเซิร์น ทรงมีพระราชดำริที่จะให้นักวิทยาศาสตร์จากประเทศไทยได้มีโอกาสทำงานวิจัยร่วมกับนักวิจัยที่เซิร์น ทรงแสดงความสนพระทัยในงานของเซิร์นโดยได้ทรงเสด็จนำคณะนักวิทยาศาสตร์ไทยไปเยือนเซิร์นถึง 6 ครั้ง

ครั้งที่ 1

เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 ณ เครื่องตรวจวัดอนุภาค DELPHI (Detector with Lepton, Photon and Hadron Identification) สำหรับเครื่องเร่งอนุภาค Large Electron-Positron Collider (LEP)

ครั้งที่ 2

เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ณ การประชุม RSIS: Role of Science in Information Society

ครั้งที่ 3

เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2552 ณ เครื่องตรวจวัดอนุภาค Compact Muon Solenoid (CMS) สำหรับเครื่องเร่งอนุภาค Large Hadron Collider (LHC)

ครั้งที่ 4

เมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2553 ณ ศูนย์ต้อนรับนักท่องเที่ยวเครื่องตรวจวัดอนุภาค ATLAS (A Toroidal LHC ApparatuS) และศูนย์ทดสอบแม่เหล็ก SM18

ครั้งที่ 5

ในวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ทรงเป็นสักขีในการลงนามกรอบความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กับ CERN และเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมชมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเครื่องเร่งอนุภาค และเครื่องตรวจวัดอนุภาคเพื่อการแพทย์, CMS Crystal factory และเครื่องเร่งอนุภาค Low Energy Ion Ring (LIER)

ครั้งที่ 6

ในวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2562 ณ เครื่องตรวจวัดอนุภาค ALICE (A Large Ion Collider Experiment) และศูนย์ประกอบ Inner Tracking System (ITS)
รุ่นที่ 2

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 เป็นต้นมา หน่วยงานในประเทศไทยได้มีการลงนามในข้อตกลงความร่วมมือกับหน่วยงานของเซิร์นรวมทั้งหมด 6 ฉบับ และการลงนามความร่วมมือระหว่างประเทศกับเซิร์น (International Cooperation Agreement – ICA) ตามลำดับ การลงนามในครั้งต่าง ๆ นั้นเกิดขึ้นหลังจากการพัฒนาความสัมพันธ์ในด้านการศึกษา การวิจัย การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศร่วมกับเซิร์นที่พัฒนามากยิ่งขึ้นตามลำดับ โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. การลงนามเอกสารแสดงเจตจำนงที่จะมีความร่วมมือกัน (Expression of Interest : EOI)

ระหว่างสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) และ Compact Muon Solenoid (CMS) Collaboration ซึ่งเป็นหนึ่งในการทดลองของเครื่องเร่งอนุภาค Large Hadron Collider (LHC) เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2552 ณ CERN Point-5, CMS detector หมู่บ้าน CESSY ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งต่อมาสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการความร่วมมือด้านวิชาการและวิจัยกับเซิร์น เพื่อสนับสนุนความร่วมมือวิจัยระหว่างหน่วยงานของประเทศไทยกับเซิร์น ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็นคณะอนุกรรมการดำเนินงานโครงการสนองแนวพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ด้านวิชาการ CERN-DESY-GSI/FAIR  และได้เริ่มจัดกิจกรรมการคัดเลือกนักศึกษา และครูสอนฟิสิกส์เข้าร่วมโครงการภาคฤดูร้อนเซิร์น นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 เป็นต้นมา

2. การลงนาม MoU ระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ CMS Collaboration

การลงนาม MoU ระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ CMS Collaboration

3. การลงนาม MoU ระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ CMS Collaboration

ซึ่งเป็นหนึ่งในการทดลองของเครื่องเร่งอนุภาค Large Hadron Collider (LHC) เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ณ วังสระปทุม

4. การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ Worldwide LHC Computing Grid (WLCG)

ระหว่างสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี กับเซิร์น เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2556 ณ วังสระปทุม

5. การลงนาม MoU ระหว่างสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ของเซิร์น

ในความร่วมมือด้านเครื่องเร่งอนุภาคเพื่อการแพทย์และประยุกต์อื่น ๆ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ณ เซิร์น

5. การลงนาม MoU ระหว่างสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ของเซิร์น

ในความร่วมมือด้านเครื่องเร่งอนุภาคเพื่อการแพทย์และประยุกต์อื่น ๆ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ณ เซิร์น

6. การลงนาม MoU ระหว่างสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนและ ALICE Collaboration

เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2559 ณ วังสระปทุม

7. การลงนามความร่วมมือระหว่างประเทศ (International Cooperation Agreement – ICA)

ระหว่างราชอาณาจักรไทยกับองค์การวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป (เซิร์น) เมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2561 ณ วังสระปทุม เป็นยกระดับความร่วมมือกับเซิร์น จากระดับหน่วยงาน/มหาวิทยาลัย/สถาบันวิจัย ขึ้นมาเป็นระดับรัฐบาล

การพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและเซิร์น

ความร่วมมือกับเซิร์นเป็นการเปิดโอกาสให้ประเทศไทย ได้เรียนรู้ความก้าวหน้าในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสาขาเกี่ยวกับฟิสิกส์พลังงานสูงและฟิสิกส์อนุภาค เซิร์นเปิดโอกาสให้นักวิทยาศาสตร์ไทยได้เข้าร่วมทำงานวิจัยกับบุคลากรของเซิร์น เข้าใช้เครื่องมือและข้อมูลที่ไม่สามารถจัดซื้อหรือจัดสร้างได้ในประเทศไทย ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องเร่งอนุภาค เครื่องตรวจวัดอนุภาค และซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้หลาย ๆ อย่างได้รับการนำไปพัฒนาเป็นต้นแบบเพื่อการประยุกต์ใช้  รวมถึงด้านการศึกษาที่เป็นหนึ่งในภารกิจหลักของเซิร์นในการให้การศึกษากับนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรในอนาคต รวมถึงการพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในระดับต่าง ๆ เพื่อให้เยาวชนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ นำมาซึ่งการยกระดับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทย และการสร้างกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

การพัฒนากำลังคนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

1. การคัดเลือกนักเรียน นักศึกษาและครูฟิสิกส์เข้าร่วมกิจกรรมที่จัดขึ้นที่เซิร์น ดังนี้

A. โครงการนักศึกษาภาคฤดูร้อนเซิร์น (CERN Summer Student Programme)

เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นให้แก่นักศึกษาจากทั่วทุกมุมโลกได้มีโอกาสเข้าร่วมโครงการในช่วงฤดูร้อนของทุกปี โดยรับนักศึกษาที่ศึกษาระดับปริญญาตรี และปริญญาโท ในสาขาฟิสิกส์ คอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ เพื่อมาเรียนรู้พันธกิจของเซิร์น แนวทางการวิจัยและพัฒนาทางด้านฟิสิกส์อนุภาคในอนาคต ตลอดจนร่วมในการทำงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม 

จนถึงปัจจุบันประเทศไทยได้จัดส่งนักศึกษาเข้าร่วมโครงการแล้ว รวมจำนวน 11 รุ่น (พ.ศ. 2553 – 2563) 
มีนักศึกษาเข้าร่วมโครงการแล้ว จำนวน 30 คน

B. โครงการครูภาคฤดูร้อน (High School Teacher Programme)

เป็นโครงการที่จัดขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541  เพื่อที่จะพัฒนาการสอนฟิสิกส์อนุภาคในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แก่ครูสอนฟิสิกส์ผ่านการอบรม และการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ (workshop) โดยมุ่งหวังให้ครูที่ผ่านการอบรมนำความรู้ที่ได้กลับไปเผยแพร่ความรู้ให้กับนักเรียนต่อไป รวมถึงต้องการให้ครูแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการสอนระหว่างครูที่เข้าร่วมโครงการจากหลากหลายเชื้อชาติ ภายหลังได้ปรับเปลี่ยนผู้เข้าร่วมจากครูฟิสิกส์ เป็นครูวิทยาศาสตร์ และเมื่อปี พ.ศ. 2561 เซิร์นได้เพิ่มกิจกรรม International Teacher Weeks Programme สำหรับครูวิทยาศาสตร์ขึ้นอีกหนึ่งกิจกรรม 

ประเทศไทยได้จัดส่งครูฟิสิกส์เข้าร่วมโครงการครูสอนฟิสิกส์ภาคฤดูร้อน แล้วรวม จำนวน 11 รุ่น (พ.ศ. 2553 – 2563)
มีครูฟิสิกส์เข้าร่วมโครงการ จำนวน 22 คน

C. โครงการจัดส่งนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายไปศึกษาดูงานที่เซิร์น (High School Visit Program at CERN)

เป็นโครงการคัดเลือกนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อไปศึกษาดูงานที่เซิร์น เป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์ โดยกิจกรรมดังกล่าวเริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 เพื่อเป็นการขยายโอกาสให้แก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมศึกษาดูงานที่เซิร์น และสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในการศึกษาต่อด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง โดยโครงการความร่วมมือไทย-เซิร์นได้ร่วมกับ 7 หน่วยงานในประเทศไทย ประกอบด้วย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาพื้นฐาน (สพฐ.) โครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย (โครงการ วมว.) โครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับเด็กและเยาวชน (Junior Science Talent Project, JSTP) ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ โรงเรียนจิตรลดา สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และโรงเรียนกำเนิดวิทย์ คัดเลือกนักเรียน จำนวน 12 คน และครูผู้ควบคุมนักเรียน จำนวน 2 คน เพื่อเป็นตัวแทนนักเรียนและครูผู้ควบคุมนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม จนถึงปัจจุบันมีจำนวน 8 รุ่น (พ.ศ. 2556 – 2563) มีนักเรียนเข้าร่วมโครงการ จำนวน 94 คน ครูฟิสิกส์ ผู้ควบคุมนักเรียนเข้าร่วมโครงการ จำนวน 14 คน รวม 108 คน

จนถึงปัจจุบันมีจำนวน 8 รุ่น (พ.ศ. 2556 – 2563)
มีนักเรียนเข้าร่วมโครงการ จำนวน 94 คน
ครูฟิสิกส์ ผู้ควบคุมนักเรียนเข้าร่วมโครงการ จำนวน 14 คน
รวม 108 คน

2. คณะวิทยาศาสตร์ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความร่วมมือกับสถานีวิจัย CMS

โดยมีอาจารย์ และนิสิตระดับปริญญาตรี โท และเอกทำวิจัยและวิทยานิพนธ์ในหัวข้อร่วมกับสถานีวิจัย CMS ร่วมถึงโครงการปริญญาเอกร่วมกับสถาบันการศึกษาอื่นที่เป็นสมาชิก CMS ด้วยกัน มีจำนวนบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาแล้ว ระดับปริญญาโท 3 คน และระดับปริญญาเอก 1 คน

3. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มีความร่วมมือกับสถานีวิจัย ALICE ในการออกแบบและพัฒนาระบบตรวจจับทางเดินภายใน (Inner Tracking System, ITS)

โดยมีอาจารย์ และนักศึกษาระดับปริญญาโท และเอกทำวิจัยและวิทยานิพนธ์ในหัวข้อร่วมกับสถานีวิจัย ALICE มีจำนวนบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาแล้ว ระดับปริญญาตรี 2 คน ระดับปริญญาโท 7 คน และระดับปริญญาเอก 1 คน

4. การจัดตั้งภาคีโครงสร้างพื้นฐานระดับชาติทางด้าน e-Science (National e-Science Infrastructure Consortium)

เป็นความร่วมมือของ 5 พันธมิตร อันได้แก่ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์แห่งชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) ตั้งแต่ พ.ศ. 2554 ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคำนวณที่มีความจุข้อมูลสูง และมีสมรรถนะในการคำนวณที่รวดเร็ว เพื่อใช้ในการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณมากที่เกิดจากการทดลองของเซิร์น ปัจจุบันมีพันธมิตรเพิ่มเติมอีก 4 หน่วยงาน ได้แก่ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) สำนักงานรัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) และสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ในการร่วมกันพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านการคำนวณสมรรถนะสูง ได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์ ระบบจัดเก็บข้อมูล เครือข่ายคอมพิวเตอร์และฐานข้อมูล เพื่อรองรับการวิจัยด้าน e-Science ในสาขาฟิสิกส์อนุภาคพลังงานสูง และในสาขาอื่น ๆ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบริหารทรัพยากรน้ำ พลังงานและสิ่งแวดล้อม Big Data จักรวาลวิทยา ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ และการวิจัยผลกระทบของอวกาศที่มีต่อโลก

5. หน่วยงานในประเทศได้มีโอกาสเข้าร่วมโครงการปรับปรุงระบบตรวจจับทางเดินภายใน (ITS Upgrade) ของสถานีวิจัย ALICE

ซึ่งเป็นความร่วมมือระดับนานาชาติ ในการค้นหาวัสดุที่เหมาะสมในการผลิตเซนเซอร์ ทดสอบประสิทธิภาพของเซนเซอร์ต้นแบบ จำลองสถานการณ์การวัดอนุภาคทางฟิสิกส์ที่น่าสนใจ และออกแบบระบบควบคุมและจัดการข้อมูล (Online and Offline computing System, O2) ให้แก่สถานีวิจัย ALICE โดยหน่วยงานในประเทศไทยที่ได้เข้าร่วมในโครงการนี้ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)

6. จากการลงนามบันทึกความเข้าใจทางด้านเครื่องเร่งอนุภาคเพื่อการแพทย์และการประยุกต์

นำไปสู่การพัฒนาต้นแบบเครื่องเร่งอนุภาคแนวตรงสำหรับใช้ทางการแพทย์ และยังได้มีการนำองค์ความรู้เกี่ยวกับระบบเครื่องเร่งอนุภาคไปใช้ในการพัฒนา โครงการเครื่องเร่งอนุภาคแนวตรงสำหรับฉายรังสีผลไม้ และการทำวัลคาไนเซชั่นน้ำยางธรรมชาติ นอกเหนือจากนั้นยังได้พัฒนาเทคโนโลยีที่ยังไม่มีในประเทศไทย อาทิ การเชื่อมโลหะแบบพิเศษ ที่เรียกว่า การเชื่อมแบบแล่นประสาน (Brazing) ซึ่งใช้ในการเชื่อมวัสดุต่างชนิดกัน อันช่วยลดอัตราการพึ่งพิงต่างประเทศในการนำเข้าและจัดสร้างเครื่องมือเหล่านี้

ทุกความคิดเห็นของคุณมีความหมาย

ขอความร่วมมือตอบแบบสอบถามเพื่อที่เราจะได้ปรับปรุงแก้ไขพัฒนาในปีต่อๆ ไป

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
Email

บริการของ สวทช.

สวทช. สนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่ายขึ้น ลดความเสี่ยงของการลงทุนวิจัยพัฒนา และเข้าใจการทาธุรกิจเทคโนโลยีดียิ่งขึ้น

การถ่ายทอดเทคโนโลยี

การเงิน ภาษี และมาตรการส่งเสริม

กลไกส่งเสริมธุรกิจ SMEs / Start-up

การพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

โครงสร้างพื้นฐานสาคัญทางวิทยาศาสตร์ และนิคมวิจัยของประเทศ

สอบถามบริการ สวทช.

ติดต่อ ฝ่ายธุรกิจสัมพันธ์
E-mail: brc@nstda.or.th
Call center: 02 564 8000

นิทรรศการที่น่าสนใจ