Line Track Skip to content

แพลตฟอร์มดิจิทัลทางทันตกรรม (Digital Dentistry Platform)

แพลตฟอร์มดิจิทัลทางทันตกรรม (Digital Dentistry Platform)

แพลตฟอร์มดิจิทัลทางทันตกรรม (Digital Dentistry Platform)

แพลตฟอร์มดิจิทัลทางทันตกรรม (Digital Dentistry Platform)

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED)

       แพลตฟอร์มดิจิทัลทางทันตกรรม (Digital Dentistry Platform) เป็นการบูรณาการนวัตกรรมทางด้านท้นตกรรมที่พัฒนา ในประเทศแบบครบวงจร เริ่มตั้งแต่การนำเทคโนโลยีเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทางทันตกรรม (DentiiScan) การวางแผนการฝังรากฟันเทียมด้วยซอฟต์แวร์ (DentiPlan) เพื่อใช้ในการผลิตอุปกรณ์นำเจาะเพื่อฝังรากฟันเทียม (Surgical Drill Guide) ร่วมกับการใช้ระบบรากฟันเทียมไทย (Dental Implant) ตลอดจนการออกแบบและผลิตครอบฟันสะพานฟันด้วยเทคโนโลยีการออกแบบและควบคุมการผลิตด้วยคอมพิวเตอร์ (Dental CAD/CAM/CNC/3D Printer) ทำให้ผู้ป่วยคนไทยสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลทางทันตกรรมเพื่อสุขภาพช่องปากและฟันได้ง่ายขึ้น และสามารถรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของประเทศไทยได้อย่างต่อเนื่อง

ภาพแพลตฟอร์มดิจิทัลทางทันตกรรม แสดงกระบวนการรักษาโดยการเก็บข้อมูล ออกแบบและผลิต

ผลงาน : เครื่องเดนตีสแกน DentiiScan

       เดนตีสแกน 2.0 (DentiiScan 2.0) เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สำหรับงานทันตกรรม คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ 3 มิติ แบบลำรังสีทรงกรวยสำหรับงานทันตกรรมและศัลยกรรมบริเวณช่องปากและใบหน้า ช่วยทำให้การวินิจฉัยโรคและวางแผนการผ่าตัดมีความแม่นยำ แผลมีขนาดเล็กและมีความปลอดภัยมากขึ้น สามารถใช้ในการวินิจฉัยโรค และวางแผนการรักษาในงานทันตกรรมรากฟันเทียม การผ่าฟันคุด และการผ่าตัดบริเวณช่องปาก ขากรรไกร และใบหน้า รวมทั้งการตรวจดูความผิดปกติของไซนัส ผู้ป่วยที่ถูกถ่ายด้วยเครื่องเดนตีสแกนจะได้รับปริมาณรังสีที่ต่ำกว่าเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทางการแพทย์ทั่วไป

     ณ เดือนธันวาคม 2561 มีเครื่องเดนตีสแกนทั้งรุ่น 1.1 และ 2.0 เปิดให้บริการแก่ประชาชนแล้ว รวมทั้งหมด 20 เครื่อง มีการใช้งานมากกว่า 5,000 ครั้ง และในปี พ.ศ. 2563 ได้มีเครื่องเดนตีสแกนให้บริการรวมทั้งสิ้น 60 เครื่องทั่วประเทศ เครื่องเดนตีสแกนผ่านการตรวจสอบความปลอดภัยด้านต่างๆ และได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 13485 นอกจากนี้ยังได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตให้กับบริษัทเอกชน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ทรัพย์สินทางปัญญา

  • สิทธิบัตรการประดิษฐ์เลขที่คำขอ 1201004688 
  • ลิขสิทธิ์เลขที่ 375450, 374098, 374096, 374102, 374099, 374100, 340768 
  • เครื่องหมายการค้าเลขที่ 857894, 940809, 684300

RadiiView-DentiiCloud

คุณสมบัติและจุดเด่นของเทคโนโลยี

  • Login with security awareness (2 options): Use OTP, Single sign-on
  • RadiiView (viewer) แสดงผลภาพ 3 มิติผ่านระบบคลาวด์
  • ทดแทนการเขียนไฟล์ภาพใส่แผ่นซีดี
  • สามารถดูภาพได้ทุกที่ทุกเวลา
  • สามารถใช้ปรึกษาระหว่างทันตแพทย์/แพทย์แบบออนไลน์ (Teleconsult)

วิจัยและพัฒนาโดย
      ดร. เสาวภาคย์ ธงวิจิตรมณี, ดร. วลิตะ นาคบัวแก้ว ดร. ณัฐนันท์ ทัดพิทักษ์กุล และคณะ ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED)

ผลิตภัณฑ์ทางทันตกรรม : M-Bone แคลเซียมฟอสเฟตเซรามิกส์สังเคราะห์ชนิดมีรูพรุนต่อเนื่องสำหรับใช้เป็นวัสดุทดแทนกระดูกมนุษย์

       M-Bone เป็นต้นแบบวัสดุสังเคราะห์ที่มีความปลอดภัยเนื่องจากได้ผ่านการทดสอบความปลอดภัยทางชีวภาพตามมาตรฐาน ISO 10993 โดยห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน และดำเนินการผลิตโดยโรงงานต้นแบบที่ได้มาตรฐานระบบการบริหารงานคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 13485 โดยมีขอบข่ายครอบคลุมกระบวนการวิจัยและพัฒนาและการผลิตต้นแบบ นอกจากนี้ยังได้รับการขึ้นทะเบียนสถานที่ผลิตเครื่องมือแพทย์ จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข และอยู่ระหว่างดำเนินการขออนุญาตผลิตเพื่อการศึกษาวิจัยทางคลินิก ขณะเดียวกันก็ได้รับอนุญาตให้เผยแพร่คำโฆษณาเพื่อให้สามารถโฆษณาต่อผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุขซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายของสินค้าอีกด้วย

วิจัยและพัฒนาโดย
   ดร. นฤภร มนต์มธุรพจน์  ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED)

ติดต่อสอบถาม

กุลภัทร์ เฉลิมงาม
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) สวทช.

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

ทุกความคิดเห็นของคุณมีความหมาย

ขอความร่วมมือตอบแบบสอบถามเพื่อที่เราจะได้ปรับปรุงแก้ไขพัฒนาในปีต่อๆ ไป

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
Email

บริการของ สวทช.

สวทช. สนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่ายขึ้น ลดความเสี่ยงของการลงทุนวิจัยพัฒนา และเข้าใจการทาธุรกิจเทคโนโลยีดียิ่งขึ้น

การถ่ายทอดเทคโนโลยี

การเงิน ภาษี และมาตรการส่งเสริม

กลไกส่งเสริมธุรกิจ SMEs / Start-up

การพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

โครงสร้างพื้นฐานสาคัญทางวิทยาศาสตร์ และนิคมวิจัยของประเทศ

สอบถามบริการ สวทช.

ติดต่อ ฝ่ายธุรกิจสัมพันธ์
E-mail: brc@nstda.or.th
Call center: 02 564 8000

นิทรรศการที่น่าสนใจ