Line Track Skip to content

MuEye RoboKid : มิวอายโรโบคิด

MuEye RoboKid : มิวอายโรโบคิด

MuEye RoboKid : มิวอายโรโบคิด

MuEye RoboKid : มิวอายโรโบคิด

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร.อัชฌา กอบวิทยา
ทีมวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์ (PHT)
กลุ่มวิจัยอุปกรณ์สเปกโทรสโกปีและเซนเซอร์ (SSDRG)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

               กล้องจุลทรรศน์เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในการศึกษารายละเอียดของสิ่งของเล็กๆ มีประโยชน์ทั้งในวงการการศึกษาและอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น การดูสิ่งสิ่งมีชีวิต/วัตถุขนาดเล็กในวิชาวิทยาศาสตร์ ใช้ในการตรวจความบกพร่องของชิ้นงาน รอยแตกขนาดเล็ก หรือสิ่งปลอมปนต่างๆ แต่กล้องจุลทรรศน์ส่วนใหญ่ ต้องติดกล้องถ่ายภาพเพิ่ม ทำให้ราคาเพิ่มสูงขึ้น

       มิวอายโรโบคิด (MuEye ROBOKid) เป็นกล้องจุลทรรศน์ขนาดเล็กที่ประยุกต์มาจากเลนส์มิวอายแบบเดิมที่ทำจากเลนส์พอลิเมอร์ ใช้ติดกับกล้องถ่ายภาพพกพาอย่างแท็บเล็ตหรือสมาร์ทโฟน และใช้งานเป็นกล้องจุลทรรศน์พกพา มิวอายโรโบคิดสามารถแสดงภาพผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ สามารถปรับระยะโฟกัส หรือเลื่อนตำแหน่งของวัตถุตัวอย่างได้โดยสั่งการผ่านบอร์ด KidBright ทำให้การใช้งานกล้องจุลทรรศน์มีความสะดวกและสนุกมากขึ้น

คุณสมบัติและจุดเด่นของเทคโนโลยี

  • มีฟังก์ชั่นเลื่อนหาระยะภาพคมชัดแบบอัตโนมัติ
  • ควบคุมความสว่างของแหล่งกำเนิดแสงด้วยคิดไบร์ท
  • เลื่อนตำแหน่งด้วยความละเอียดถึง 25 ไมครอน/Step ด้วยบอร์ดคิดไบร์ท
  • สแกนถ่ายภาพต่อเนื่องทั้งแผ่นสไลด์ เพื่อเก็บรายละเอียดในแต่ละตำแหน่ง
  • สามารถกดเรียกหาตำแหน่งของวัตถุได้ ทำให้การใช้งานง่ายและสนุกมากขึ้น
  • เลนส์พอลิเมอร์ ทนทานต่อเชื้อรา บรรจุในแผ่นพลาสติก เปลี่ยนกำลังขยายได้ง่าย

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี

  • การเรียนการสอนในและนอกสถานที่ 
  • การตรวจสอบวัสดุปนเปื้อนขนาดเล็กเบื้องต้น เป็นต้น 
  • การแบ่งปันข้อมูลที่ได้ เกิดการเรียนรู้ระหว่างกัน และ การพัฒนาแอพลิเคชั่นโปรแกรมที่เกี่ยวข้อง
  • การเพิ่มประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของการเรียนรู้

สถานภาพของผลงาน: สิทธิบัตร 6 ฉบับ

  • กระบวนการผลิตเลนส์แบบยืดหยุ่นจากวัสดุพอลิเมอร์ เลขที่คำขอ 1401005905
  • กระบวนการผลิตเลนส์โดยอาศัยแรงตึงผิวที่ชั้นรอยต่อของของเหลว เลขที่คำขอ 1401005695
  • กระบวนการผลิตเลนส์จากพอลิเมอร์ เลขที่คำขอ 1501004712
  • กรรมวิธีการขึ้นรูปชิ้นงานด้วยความร้อนแบบไม่ใช้แม่พิมพ์ เลขที่คำขอ 1501004969
  • กระบวนการเพิ่มแรงยึดติด เลขที่คำขอ 1501003211
  • เลนส์ขยาย เลขที่คำขอ 1502002635

กลุ่มเป้าหมาย

  • นักเรียน นักศึกษา บุคคลทั่วไป หรือ งานที่ต้องเก็บตัวอย่างจากภาคสนามมาวิเคราะห์ในห้องแล็บ
  • หน่วยงานภาครัฐ เช่น สพฐ. กระทรวงศึกษาธิการ
  • ผู้ประกอบการที่สนใจในนวัตกรรมใหม่ๆ

วิธีโอสาธิตการใช้งาน MuEye Robokid

ติดต่อสอบถาม

ศศิน เชาวนกุล
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) สวทช.

ทุกความคิดเห็นของคุณมีความหมาย

ขอความร่วมมือตอบแบบสอบถามเพื่อที่เราจะได้ปรับปรุงแก้ไขพัฒนาในปีต่อๆ ไป

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
Email

บริการของ สวทช.

สวทช. สนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่ายขึ้น ลดความเสี่ยงของการลงทุนวิจัยพัฒนา และเข้าใจการทาธุรกิจเทคโนโลยีดียิ่งขึ้น

การถ่ายทอดเทคโนโลยี

การเงิน ภาษี และมาตรการส่งเสริม

กลไกส่งเสริมธุรกิจ SMEs / Start-up

การพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

โครงสร้างพื้นฐานสาคัญทางวิทยาศาสตร์ และนิคมวิจัยของประเทศ

สอบถามบริการ สวทช.

ติดต่อ ฝ่ายธุรกิจสัมพันธ์
E-mail: brc@nstda.or.th
Call center: 02 564 8000

นิทรรศการที่น่าสนใจ