Line Track Skip to content

Ecosystem of Informatics for Sustainability
ระบบสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

Ecosystem of Informatics for Sustainability
ระบบสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

Ecosystem of Informatics for Sustainability
ระบบสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

Ecosystem of Informatics for Sustainability
ระบบสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (TIIS)

        การเปิดเขตการค้าเสรีในปัจจุบัน ส่งผลให้ประเด็นการกีดกันด้านการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (non-tariff barrier) ทวีความรุนแรงและมีข้อเรียกร้องจากคู่ค้าเพิ่มมากยิ่งขึ้นกว่าในอดีต ประเทศไทยในฐานะผู้ส่งออกสินค้าสำคัญหลายประเภท จึงควรเตรียมการความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการค้าของไทยให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการเข้าสู่ยุคดิจิตัล ซึ่งสุภาษิตว่าข้อมูลสินทรัพย์ที่สำคัญยิ่ง อย่างไรก็ดี ข้อมูลความยั่งยืนนั้นถือเป็นจุดอ่อนของประเทศไทยเนื่องจากปัจจุบันขาดความพร้อมในหลายด้าน จากประเด็นดังกล่าว สวทช. จึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งมีข้อมูลหลากหลายด้าน บางสาขามีความพร้อมในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ดี บางส่วนยังขาดการบูรณาการ หากกล่าวถึงข้อมูลเพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน อาทิ การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน การเกษตรที่ยั่งยืน เมืองและการก่อสร้างที่ยั่งยืน การท่องเที่ยวที่ยั่งยืน อาจกล่าวได้ว่าไทยยังขาดข้อมูลอีกมาก

        การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญและมีบทบาทหลักในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและช่วยให้การดำเนินกิจกรรม กระบวนการ เพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรดำเนินการได้สะดวกยิ่งขึ้น การยกระดับความสามารถทางการแข่งขันของประเทศในอนาคต ต้องพัฒนาในรูปแบบ data driven approaches ที่เกิดพัฒนาควบคู่กับการใช้ข้อมูลที่มีคุณภาพช่วยในการตัดสินใจ การทำข้อมูลและระบบสารสนเทศเป็นประโยชน์ต่อการใช้งานหลายด้าน และจำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการดำเนินการ

การดำเนินงานภายใต้สถาบันเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

        สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ทำงานใกล้ชิดกับภาคเอกชนและภาครัฐในการบูรณาการเพื่อให้ได้ข้อมูลเพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยทำงานร่วมกับหน่วยงาน อาทิ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคมหรือ กระทรวงพลังงาน เพื่อนำไปสู่จุดมุ่งหมายร่วมกันคือ ข้อมูลและระบบสารสนเทศที่ครอบคลุมการพัฒนาทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม โดยการดำเนินงานของสถาบันฯครอบคลุม Eco system ทั้งระดับต้นน้ำจนระดับปลายน้ำ ดังต่อไปนี้

  1. การศึกษาแหล่งที่มาของข้อมูล ตามความเหมาะสมกับโจทย์ในแต่ละเรื่อง
  2. กระบวนการสร้างข้อมูล โดยมาจากการข้อมูลที่จากหลายแหล่งที่น่าเชื่อถือ (ข้อมูลทุติยภูมิ) หรือการเก็บข้อมูลจริงตามความเหมาะสม (ข้อมูลปฐมภูมิ) บางครั้ง อาจบันทึกแบบอัตโนมัติด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น อุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณ รวมถึงการ ซื้อข้อมูล หรือการรับข้อมูลจากหน่วยงานอื่น เพื่อนำมาต่อยอดเป็นชุดข้อมูลใหม่
  3. การจัดเก็บข้อมูล เป็นการเนื้อหาที่ต่อจากกระบวนการสร้างข้อมูล เพื่อให้ผลลัพธ์ถูกหลักสากล สามารถแลกเปลี่ยนกับหน่วยงานอื่น และสามารถประมวลผลข้อมูลต่าง ๆ ตามความต้องการได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะจัดเก็บลง แฟ้มข้อมูล หรือระบบการจัดการฐานข้อมูล
  4. การประมวลผลและวิเคราะห์เชิงลึก เพื่อค้นหาความหมายของชุดข้อมูลนั้นๆ โดยการพิจารณาอย่างถี่ถ้วน ใช้มุมมองที่หลากหลายวิเคราะห์ข้อมูล ใช้งานให้เกิดประโยชน์ตามวัตถุประสงค์
  5. กระบวนการเผยแพร่ข้อมูล เป็นการแชร์ข้อมูลในรูปแบบต่างๆ อาทิ การทำเป็นกราฟเพื่อให้เข้าใจได้ง่าย หรือแสดงผลตาม dashboard รวมถึงการถ่ายทอดองค์ความรู้ ที่ปรึกษา หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่อยงาน

Data Ecosystem

รายละเอียดผลงานวิจัย (กระบวนการคิด)

       สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนมีบทบาทและหน้าที่สนับสนุนให้กับหน่วยงานในหลายส่วน ซึ่งลักษณะงานของสถาบันฯ แบ่งออกเป็นสองด้าน คือ (1) การพัฒนาข้อมูล ระเบียบวิธีการและระบบสารสนเทศโครงสร้างพื้นฐานการพัฒนาที่ยั่งยืนที่จะช่วยสร้างประโยชน์ให้กับผู้ใช้งาน (2) การนำข้อมูลไปประยุกต์ต่อยอดเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในรูปแบบของโครงการนำร่อง หรือการเป็นที่ปรึกษาแก่ภาครัฐและเอกชน โดยมีบทบาทและหน้าที่หลายภาคส่วนอาทิ
   – จัดทำและให้บริการข้อมูลความยั่งยืนของประเทศไทย
   – จัดทำข้อมูลด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน
   – จัดทำคลังข้อมูลวัฏจักรชีวิตของวัสดุพื้นฐาน พลังงาน ผลิตภัณฑ์ และบริการ
   – วิจัยและพัฒนาตัวชี้วัดและออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
   – ให้บริการข้อมูลและสารสนเทศสนับสนุนการจัดทำตัวชี้วัดประเภทต่างๆ กับหน่วยงานภาครัฐ เช่นตัวชี้วัดผลิตภัณฑ์มวลรวมสีเขียว (Green GDP) ของกระทรวงอุตสาหกรรม หรือสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตัวชี้วัดการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืนของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

Data Ecosystem

ประโยชน์ที่ได้รับ

        ได้ข้อมูลการพัฒนาที่ยั่งยืนมาเติมเต็มข้อมูลของประเทศ เพื่อยกระดับความสามารถทางการแข่งขันของประเทศให้มีอันดับที่สูงขึ้น และยังสามารถบูรณาการข้อมูลกับหน่วยทุกภาคส่วน

ด้านเศรษฐกิจ

  • นำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานหรือประยุกต์ใช้ในการจัดทำนโยบายต่างๆ อาทิ การจัดทำผลิตภัณฑ์มวลรวมสีเขียวในประเทศ (Green GDP) การจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (GPP) การพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 12 (SDGs, goal 12) เป็นต้น รวมถึงส่งเสริมให้ภาคเอกชน โดยใช้ฐานข้อมูล LCI เป็นข้อมูลต้นทางในอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของตนเอง ด้วยการพัฒนา/ปรับปรุงกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ให้กับอันจะเป็นการลดต้นทุนการผลิตและสร้างโอกาสในการเปิดตลาดต่างประเทศที่ให้ความสำคัญเรื่องสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้ว
  • รักษาและเพิ่มมูลค่าการส่งออกสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไปยังสหภาพยุโรป/ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ในอุตสาหกรรมส่งออก เช่น อาหาร สิ่งทอ ยาง เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
  • ลดต้นทุน/ค่าใช้จ่าย ในการซื้อลิขสิทธิ์โปรแกรมด้านการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากต่างประเทศ
  • ลดต้นทุน/ค่าใช้จ่าย ที่เกิดขึ้นจากการปรับปรุงกระบวนการผลิต 1.03 ล้านบาทต่อผลิตภัณฑ์เพิ่มกำไร/เพิ่มรายได้เกิดขึ้นจากการปรับปรุงกระบวนการผลิต 1.90 ล้านบาทต่อผลิตภัณฑ์

ด้านการศึกษา

  • สามารถขอรับบริการข้อมูลวัฏจักรชีวิตของประเทศ (National LCI Database) ซึ่งเป็นข้อมูลด้านโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล สำหรับต่อยอดการศึกษา ค้นคว้างานวิจัยทั้งในระดับเชิงลึกและเชิงการประยุกต์
  • สามารถบูรณาการหรือแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ รวมทั้งร่วมวิเคราะห์/วิจัย ร่วมกับภาคการศึกษา เพื่อนำผลการวิจัยในระดับจุลภาคไปต่อยอดในระดับมหภาค ให้เกิดประโยชน์ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจของไทยได้อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อการพัฒนาประเทศได้อย่างยั่งยืนครบทุกมิติ

ด้านสิ่งแวดล้อม

  • สนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณในทางวิทยาศาสตร์ให้กับหน่วยงานภาครัฐในการจัดทำตัวชี้วัด หรือกำหนดนโยบายด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน เช่น การจัดทำผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหักด้วยต้นทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (Green Gross Domestic Product : Green GDP) การจัดทำข้อเสนอภาษีสิ่งแวดล้อม (Green Tax) ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการโดยกระทรวงการคลัง ทั้งนี้ คาดว่าเมื่อมีการบังคับใช้ จะช่วยลดการปล่อยมลพิษสู่สาธารณะ และช่วยลดงบประมาณการบริหารจัดการมลพิษของภาครัฐ นอกจากนี้ จะส่งผลดีต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน ลดการเจ็บป่วย หรือความเสี่ยงต่อการเกิดโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ และลดภาระด้านการรักษาพยาบาลและบุคลากร

กลุ่มผู้ใช้เทคโนโลยี

  • กลุ่มหน่วยงานภาครัฐ ประยุกต์ข้อมูลเพื่อพัฒนาประเทเทศสู่ความยั่งยืน ได้แก่
    – กลุ่มที่จัดทำนโยบาย เช่น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
    – กลุ่มที่เป็นผู้ออกข้อบังคับ เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพลังงาน
    – กลุ่มที่เป็นผู้ปฏิบัติงานเฉพาะทาง เช่น สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงการต่างประเทศ
    – กลุ่มภาคเอกชน มีความต้องการข้อมูลเพื่อป้องกันการกีดกันทางการค้าและเพื่อความสามารถในการแข่งขันทั้งภาคการผลิต เช่น – กลุ่มเกษตรและอาหาร กลุ่มการบริการ กลุ่มการท่องเที่ยว เป็นต้น
    – ภาคประชาสังคม สามารถนำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืนและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพัฒนาประเทศในองค์รวม
    – ภาคการศึกษา ถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อการเปลี่ยนแปลงสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

ติดต่อสอบถาม

นายจิตติ มังคละศิริ
สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

ทุกความคิดเห็นของคุณมีความหมาย

ขอความร่วมมือตอบแบบสอบถามเพื่อที่เราจะได้ปรับปรุงแก้ไขพัฒนาในปีต่อๆ ไป

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
Email

บริการของ สวทช.

สวทช. สนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่ายขึ้น ลดความเสี่ยงของการลงทุนวิจัยพัฒนา และเข้าใจการทาธุรกิจเทคโนโลยีดียิ่งขึ้น

การถ่ายทอดเทคโนโลยี

การเงิน ภาษี และมาตรการส่งเสริม

กลไกส่งเสริมธุรกิจ SMEs / Start-up

การพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

โครงสร้างพื้นฐานสาคัญทางวิทยาศาสตร์ และนิคมวิจัยของประเทศ

สอบถามบริการ สวทช.

ติดต่อ ฝ่ายธุรกิจสัมพันธ์
E-mail: brc@nstda.or.th
Call center: 02 564 8000

นิทรรศการที่น่าสนใจ