NAC 2018 | การประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 14 - Microbiomes เทคโนโลยีเพื่อความเข้าใจกลไกการทำงานของสิ่งมีชีวิต และการประยุกต์ใช้

< < สรุปประเด็นสัมมนา > >

 

Microbiomes เทคโนโลยีเพื่อความเข้าใจกลไกการทำงานของสิ่งมีชีวิต และการประยุกต์ใช้

วันจันทร์ที่ 12 มีนาคม 2561 เวลา 09:00 - 12:00 น.

ห้องประชุม CC-403 อาคาร 14 (ศูนย์ประชุม CC)

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี

 

__________________________________________________________________________________________________________________________

 

      ไมโครไบโอม (Microbiomes) เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีปฏิสัมพันธ์กันในสภาวะแวดล้อมหนึ่งๆ เช่น การศึกษา human gut microbiomes เป็นการศึกษากลุ่มจุลินทรีย์และปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นภายในทางเดินอาหารของมนุษย์ มีรายงานว่า microbiomes ของแต่ละคนมีความจำเพาะ เหมือนกับ genetic footprints หรือลายนิ้วมือ เลยทีเดียว ดังนั้นการศึกษาไมโครไบโอมจึงมีความสำคัญ ที่ผ่านมาการศึกษาด้านจุลินทรีย์มุ่งเน้นการระบุชนิดและความแตกต่างของจุลินทรีย์ที่พบในสิ่งมีชีวิต ทั้งคน สัตว์และพืชเศรษฐกิจ เทคโนโลยีที่ใช้มุ่งเน้นเทคโนโลยีโอมิกส์ เช่น DNA sequencing, proteomics และ metabolomics เนื่องจากทิศทางในปัจจุบันมุ่งสู่ความเข้าใจกลไกการทำงานของสิ่งมีชีวิต การระบุชนิดชนิดและความแตกต่างไม่เพียงพอ ทิศทางการศึกษาจึงมุ่งเพื่อให้ได้ความสัมพันธ์ของกลุ่มจุลินทรีย์กับสิ่งมีชีวิตที่เป็นเจ้าบ้าน (correlation) และเพื่อศึกษาสาเหตุและผลที่เกิดขึ้น (cause and effect) โดยมีเป้าหมายตอบโจทย์ความต้องการในการปรับเปลี่ยน หรือสร้างสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมที่จะทำให้เกิดผลที่ต้องการ หรือสร้างเครื่องมือที่จะใช้เพื่อการทำนาย หรือระบุโอกาสการเกิดสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา


     การสัมมนาเรื่อง
Microbiomes เทคโนโลยีเพื่อความเข้าใจกลไกการทำงานของสิ่งมีชีวิต และการประยุกต์ใช้ นี้ มุ่งเน้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูล และประสบการณ์การวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อเร่งให้เกิดการใช้เทคโนโลยีตอบโจทย์ความต้องการของอุตสาหกรรม ทั้งอุตสาหกรรมเกษตร อาหาร และสุขภาพการแพทย์ นอกจากนี้การสัมมนาจะเป็นเวทีที่ช่วยให้นักวิจัยที่เกี่ยวข้องได้มาพบปะ เป็นโอกาสที่จะเกิดการทำงานร่วมกัน อีกด้วย 

 

กำหนดการ  

09:00 – 09:20 น.

Microbiomes คืออะไร สำคัญอย่างไรในบริบทของประเทศ

รศ. ดร. นราพร สมบูรณ์นะ

ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

09:20 – 09:40 น.

เทคโนโลยีสำคัญเพื่อใช้ในงานวิจัยด้าน Microbiomes

ดร. สุภาวดี อิงศรีสว่าง

นักวิจัยอาวุโส หน่วยวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพและชีววัสดุ

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค)

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

09:40 – 10:00 น.

ตัวอย่างการใช้ Microbiomes เพื่อสุขภาพ

รศ. ดร. พญ. นลินี จงวิริยะพันธุ์

ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

10:00 – 10:30 น.

พักรับประทานอาหารว่าง

10:30 – 10:50 น.

ตัวอย่างการใช้ Microbiomes เพื่อการเลี้ยงสัตว์ (probiotics ในหมู)

ดร. มณชยา รัตนประเสริฐ

นักวิจัย หน่วยวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพอาหาร

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค)

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

10:50 - 11:30 น.

ตัวอย่างการใช้ Microbiomes เพื่อส่งเสริมการเจริญและเพิ่มความทนเค็มในพืช

รศ. ดร. อรินทิพย์ ธรรมชัยพิเนต

ภาควิชาพันธุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

11:30 – 11:50 น.

ตัวอย่างการใช้ Microbiomes ด้านอุตสาหกรรม (metagenomics จุลินทรีย์ในลำไส้ปลวก)

ดร. วีระวัฒน์ แช่มปรีดา

นักวิจัยอาวุโส หน่วยวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพจุลินทรีย์และชีวเคมีภัณฑ์

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค)

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

11:50 – 12:00 น.

สรุปการสัมมนา