โครงการวิจัยพหุสัมพันธ์คนกับไก่ระยะที่  1

(HCMR: Human-Chicken Multi-Relationships Research Project)

การศึกษาวิจัยในระยะที่ 1 (พ.ศ.2547 -2550)     

การศึกษาในเชิงชีววิทยาและนิเวศวิทยา

เป็นการศึกษาลักษณะแสดงออกภายนอกและลักษณะแสดงออกทางพันธุกรรมของไก่ (Phenotypic and genotypic studies) ตลอดจนลักษณะทางนิเวศวิทยาและการกระจายตัวของไก่ เพื่อศึกษาความเชื่อมโยงของไก่ป่าและไก่บ้าน เช่น การศึกษาไวรัส
ที่แฝงตัวในสารพันธุกรรมไก่ (Endogenous viral genes) ซึ่งมีในไก่ป่าหากพบไวรัสนี้ในไก่บ้านก็อาจแสดงถึงความเชื่อมโยงทางพันธุกรรมของไก่ป่าและไก่บ้าน เป็นต้น

          

การศึกษาในเชิงมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

       เป็นการศึกษาความเชื่อ พิธีกรรม ตำนานและภูมิปัญญาที่เกี่ยวกับไก่ของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รวมทั้งบทบาทและความสัมพันธ์ของไก่กับมนุษย์

      

การศึกษาในทางสารสนเทศภูมิศาสตร์ 

เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ของมนุษย์กับไก่โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS technology) ในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล โดยเก็บข้อมูลใน 2 ลักษณะ
คือ ข้อมูลเชิงพื้นที่ (spatial data) และ ข้อมูลลักษณะสัมพันธ์ (attribute data)
เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาสนับสนุนการศึกษาในสาขาอื่นๆ ภายใต้โครงการฯ 

การศึกษาในทางเศรษฐศาสตร์

ศึกษามิติความสัมพันธ์ระหว่างคนและไก่เชิงเศรษฐศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับความมุ่งหมายของการเลี้ยง (ไก่พื้นบ้าน) วิธีการเลี้ยง การขยายพันธุ์ การลงทุนและการค้า

ผลการค้นพบจากการศึกษาในระยะที่ 1 

สาขาชีววิทยา

     พบว่า ไก่ป่าสีแดงตุ้มหูขาวมีลำดับทางวิวัฒนาการมาก่อนไก่สายพันธุ์อื่น ดังนั้น ไก่ป่าสีแดงตุ้มหูขาว จึงน่าจะเป็นบรรพบุรุษของไก่พื้นเมืองและไก่สายพันธุ์อื่นในปัจจุบัน

สาขานิเวศวิทยา

     ศึกษาพฤติกรรมไก่กับการดำรงชีวิตในธรรมชาติ พบว่า ไก่เพศผู้มีขนาด และสีสันสดใสกว่าไก่เพศเมียและไก่ป่า จะกินแมลง พืช และสัตว์ขนาดเล็กเป็นอาหาร

สาขามานุษยวิทยา

     ความเชื่อและพิธีกรรมของกลุ่มชาติพันธุ์แสดงออกให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับไก่

สาขาภูมิสารสนเทศ

     ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ในพื้นที่และกิจกรรมของมนุษย์ มีความสัมพันธ์กับถิ่นที่อยู่อาศัยของไก่ป่าและเป็นปัจจัยใน กระบวนการจากไก่ป่ามาเป็นไก่บ้าน


โครงการวิจัยพหุสัมพันธ์คนกับไก่ระยะที่ 2
(HCMR: Human-Chicken Multi-Relationships Research Project)

การศึกษาในวิจัยระยะที่ 2 (พ.ศ. 2555 – 2560)

   จากความสำเร็จในการศึกษาวิจัยของโครงการ HCMR ในระยะที่ 1 เจ้าชายอากิชิโน โนมิยะ ฟูมิฮิโต จึงทรงมีพระประสงค์ ดำริที่จะดำเนินการศึกษาวิจัยภายใต้โครงการ HCMR ต่อไปในระยะที่ 2 เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ อันจะเป็นประโยชน์แก่ทั้งสองประเทศ

แนวทางการศึกษาวิจัยในระยะที่ 2
   นักวิจัยมีความเห็นร่วมกันว่า ควรศึกษาในสาขาเดิม ได้แก่ มานุษยวิทยา ชีววิทยา นิเวศวิทยาให้ลึกยิ่งขึ้น และเพิ่มการศึกษาในสาขาชีวโมเลกุล สาขาโบราณคดี และการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในโครงการตามพระราชดำริ

สาขาชีวโมเลกุล

ซึ่งจะศึกษาเชิงลึกในระดับยีนส์เพื่อประโยชน์ในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางพันธุกรรมของไก่

      

การนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์

นำไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินโครงการตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในหัวข้อ“Food Security in Border Patrol Police Schools” โดยคัดเลือกไก่สายพันธุ์ดี สำหรับมอบให้โรงเรียนในชนบทห่างไกล นำไปเลี้ยงไว้บริโภคเป็นอาหาร 

      

สาขาโบราณคดี

จะทำการศึกษาเกี่ยวกับซากสัตว์โบราณ ข้อมูลทางโบราณคดี เพื่อให้ได้ข้อมูลมาสนับสนุนผลการศึกษาตามสมมติฐานของโครงการ

         

 

 

 

 



 

/hcmr/th