magnify
magnify

Open Knowledge for all 

formats

ผู้บริหารพบนักวิจัย: ดร.มนฤดี เลี้ยงรักษา กับรางวัล Outstanding Poster Award จากงาน 2013 MRS Spring Meeting & Exhibit

ดร.วีระศักดิ์ อุดมกิจเดชา ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ มอบกระเช้าแสดงความยินดีกับ ดร.มนฤดี เลี้ยงรักษา ห้องปฏิบัติการคำนวณระดับนาโน หน่วย วิจัยกลางนาโนเทคโนโลยี ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ โดยผลงานวิจัยเรื่อง “Phonon Transport in an Initially Twisted Nanowire for Thermoelectric Applications” ได้รับรางวัล Outstanding Poster Award จากงาน 2013 MRS Spring Meeting & Exhibit ในวันที่ 1-5 เมษายน 2013 ที่ซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา

Read more…– ( 84 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ชีววิทยาของก็อดซิลล่า

โบราณว่าดูหนังดูละครแล้วให้ย้อนดูตัว นักวิทยาศาสตร์ทั่วทุกมุมโลกไม่ได้เห็นก็อดซิลล่าเป็นแค่สัตว์ประหลาดไร้สาระ แม้มันจะอาละวาดได้แค่บนหน้าจอ แต่ก็อดซิลล่ากลับสร้างคำถามสนุกๆ เชื่อมโลกจินตนาการและโลกวิทยาศาสตร์มาตลอด 60 ปี

หลายวันก่อนนายปรี๊ดถูกเพื่อนสนิทลากไปดูหนังเรื่องก็อดซิลล่าแบบงงๆ ถึงแม้ไม่ได้เป็นแฟนพันธุ์หนังสัตว์ประหลาด แต่ดูจบ แล้วก็สนุกดี แถมถูกจริตนักชีววิทยายิ่งนัก เพราะโครงสร้างหลักๆ ของหนังดำเนินเรื่องด้วย “พฤติกรรมของสัตว์ประหลาด” ซึ่งผู้กำกับอ้างอิงจากสัตว์ที่มีตัวตนอยู่จริง จนหลายคนในโลกออนไลน์ก็เห็นคล้ายกันว่าหนังภาคนี้เหมือนไปนั่งดูสารคดีสัตว์เลย

Read more…– ( 120 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เปลี่ยน “ปลวก” เป็นพลังงาน


       สำหรับใครปลูกบ้านด้วยไม้ ถ้า “ปลวก” ขึ้นบ้าน นับเป็นปัญหาใหญ่ แต่เพราะธรรมชาติที่สามารถกินและย่อยไม้ได้ดีนี่เอง เป็นคุณสมบัติที่นักวิจัยไทยมองว่า จะช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม และสร้างพลังงานเลือกได้ ซึ่งงานวิจัยได้เดินมาถึงขั้นคัดแยกแบคทีเรียจากลำไส้ปลวกเพื่อย่อยเซลลูโลสแล้ว 3 สายพันธุ์ และยังตัดต่อลง E.coli เพื่อลดอันตรายจากแบคทีเรียได้แล้ว 1 สายพันธุ์

       ศ.ดร.สุเมธ ชวเดช นักวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมเคมี วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เล่าให้ฟังว่า เมืองไทยมีวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรจำนวนมาก เช่น ฟางข้าว ซังข้าวโพด และชานอ้อย เป็นต้น ซึ่งชีวมวลเหล่านี้มีเซลลูโลสที่สามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานทางเลือกได้ แต่ที่ผ่านมามักเน้นการใช้สารเคมีและกระบวนการที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อย่างการใช้กรด-ด่าง และกระบวนการทางความร้อน ขณะที่ในธรรมชาติมีจุลินทรีย์ที่สามารถย่อยสลายของเหลือใช้เหล่านี้ได้อย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

 

Read more…– ( 310 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

10 อันดับรถประหยัดน้ำมันที่สุด โดยเช็คราคา.คอม

การซื้อรถยนต์สักหนึ่งคันมีองค์ประกอบการตัดสินใจหลายประการ แต่อย่างน้อยด้านความประหยัดน้ำมันย่อมสำคัญเป็นอันดับแรกๆ  ซึ่งในปัจจุบันรถยนต์ที่มีจำหน่ายในประเทศไทยส่วนมากก็เน้นความประหยัดกันมากขึ้น อาจเพราะกระแสการตื่นตัวในเรื่องอนุรักษ์พลังงานและความประหยัดเมื่อใช้งานในชีวิตประจำวัน ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่ารถยนต์ในหลายรุ่นมักเน้นจุดขายด้านความประหยัดน้ำมัน หรือ เน้นรถยนต์ไฮบริดกันมากขึ้น แต่ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อรถประหยัดน้ำมันนั้น เราควรศึกษาทราบข้อมูลเบื่องต้นก่อนว่ารถยนต์แต่ละรุ่นมีความประหยัดมากน้อยเพียงใด ในนี้เรา จะพามาดูว่ารถประหยัดน้ำมันที่สุด 10 อันดับนั้นมีรถรุ่นใดบ้าง

อันดับที่ 10 Nissan Almera (ราคา 433,000 – 608,000 บาท) ประหยัดน้ำมันได้สูงสุด 20 กม./ลิตร

รายการอ้างอิง :

2557.  10 อันดับรถประหยัดน้ำมันที่สุด โดยเช็คราคา.คอม. ประชาชาติธุรกิจ. ค้นเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2557. จาก http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1400486628.– ( 130 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

คนไทยใช้เฟซบุ๊กติดอันดับ 9 ของโลก

นายภาวุธ พงษ์วิทยภานุผู้ก่อตั้งและประธาน กรรมการบริหาร บริษัท โซเชียล อิงค์ จำกัด เผยผลการวิเคราะห์ความเคลื่อนไหวโลกออนไลน์ของประเทศไทย ในงานไทยแลนด์ โซเชียล อะวอร์ด 2014 ว่า ปัจจุบันคนไทยใช้บริการโซเชียลมีเดียมากเป็นอันดับ 9 ของโลก หรือราว 28 ล้านคน เทียบเท่าประเทศเยอรมัน อันดับ 1ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประมาณ 180 ล้านคน โดยคนไทยใช้เวลาเล่นโซเชียลมีเดียต่อวันเฉลี่ย 3.7 ชั่วโมงต่อวัน รองจากฟิลิปปินส์ที่ 4ชั่วโมงต่อวัน

โซเชียลมีเดียที่คนไทยใช้มากที่สุด คือ เฟซบุ๊ก 28 ล้านคน ทวิตเตอร์ 4.5 ล้านคน และอินสตาแกรม 1.7 ล้านคนโดย เฟซบุ๊กมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนประมาณ 53% ส่วนพื้นที่ที่ใช้งานมากที่สุดคือกรุงเทพมหานคร 55% หรือราว 15.4 ล้านคน รองลงมาคือ เชียงใหม่ ชลบุรี และนครราชสีมา และพื้นที่ที่มีอัตราการเติบโตเพิ่มมากขึ้นคือ พระนครศรีอยุธยา ชัยนาท และมหาสารคาม ในปี 2013 เฟซบุ๊กถูกใช้งานโดยผู้หญิงมากที่สุดประมาณ 50.82% ผู้ชาย 49.18% ทั้งนี้ แนวโน้มในปี 2014 อัตราการใช้เฟซบุ๊กของผู้หญิงน่าจะมีการเพิ่มขึ้นเป็น 51.22% และผู้ชาย48.78% ซึ่งจากจำนวนผู้ใช้บริการทั้งหมดกว่า 14% เป็นการเปิดบัญชีทิ้งไว้แต่ไม่มีความเคลื่อนไหว หรือสร้างบัญชีมาเพื่อรับจ้างกดไลค์เท่านั้น

พฤติกรรมการใช้ บริการเฟซบุ๊กของคนไทยกว่า 57% นิยมการโพสภาพถ่าย 33% เช็คอิน 21% แชร์ลิงค์ต่างๆ 3% แชร์วิดีโอจากยูทูป และอีก2% โพสสเตตัสของตัวเอง โดยช่วงเวลาที่มีผู้ใช้งานมากที่สุด คือ 14.00 น. รองลงมา 15.00 น. และ 10.00 น.ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาทองสำหรับเจ้าของแบรนด์ สินค้า ธุรกิจและสื่อต่างๆที่จะสามารถเพิ่มยอดคนเข้าชมได้มากยิ่งขึ้น

นอก จากนี้ยังมีโซเชียลมีเดียที่คนไทยให้ความสนใจ อาทิ ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม และไลน์ โดยจำนวนคนไทยที่ใช้ทวิตเตอร์มีมากเป็นอันดับที่17 ของโลก ประมาณ 4.5 ล้านคน ช่วงเวลาที่ใช้งานมากที่สุดคือ 21.00-22.00 น. ที่สำคัญปัจจุบันคนไทยนิยมใส่แฮดเทคของตัวเองมากขึ้น อินสตาแกรมปัจจุบันมีคนไทยใช้งานประมาณ 1.5ล้านบัญชี ช่วงเวลาที่มีการใช้งานมากที่สุดคือ กลุ่มธรรมดา 23.00 น. กลุ่มเซเล็บ 21.00น. และคนที่มีอิทธิพล 18.00 น. ยูทูปคนไทยนิยมใช้งานเพื่อฟังเพลงมากที่สุด รองลงมาคือบริการดูทีวีออนไลน์ และไลน์จากผลการสำรวจคนไทย688 คน พบว่า ใช้สำหรับพูดคุย 87% ใช้ถ่ายภาพและแชร์ 47% เล่นเกมไลน์เกม 45%

นอกจากนี้ยังพบว่าปัจจุบัน คนไทยมีอัตราการใช้อินเตอร์เน็ตผ่านมือถือเพิ่มมากขึ้น โดยผ่านระบบแอนดรอย33.15% แอปเปิ้ล 26.95% ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์พีซี 23.72% ผ่านมือถือสมาร์ทโฟน 16.17%

รายการอ้างอิง :

2557. คนไทยใช้เฟซบุ๊กติดอันดับ 9 ของโลก. เดลินิวส์ (ไอที). ค้นเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2557. จาก http://www.dailynews.co.th/Content/IT/240663/คนไทยใช้เฟซบุ๊กติดอันดับ+9+ของโลก

– ( 51 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สสนก.จับมือนาโนเทค พัฒนาเครื่องกรองน้ำกร่อย แก้ปัญหาวิกฤติน้ำเค็มรุกเจ้าพระยา-บางปะกง

สสนก.จับมือนาโนเทค พัฒนาเครื่องกรองน้ำกร่อยด้วยไส้กรองนาโน  ชี้สะดวกในการเคลื่อนย้าย พร้อมช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำจากวิกฤติน้ำเค็มรุกล้ำแม่น้ำเจ้าพระยาและบางปะกง

นายรอยล จิตรดอน ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สสนก. ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการติดตาม วิเคราะห์สถานการณ์ น้ำและจัดสรรน้ำ  กล่าวว่า ปัจจุบันสถานการณ์น้ำเค็มรุกใน แม่น้ำเจ้าพระยา ได้กลับเข้าสู่ภาวะปกติ แต่ยังน่าเป็นห่วงสำหรับแม่น้ำบางปะกง ที่ยังมีค่าความเค็มเกินมาตรฐาน ทั้งเพื่อการผลิตน้ำประปาและการเกษตร ซึ่งในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมนี้ จะเกิดน้ำทะเลหนุนอีกครั้ง อาจส่งผลให้เกิดภาวะน้ำเค็มรุกล้ำแม่น้ำเข้ามาได้อีก ดังนั้นเพื่อช่วยแก้ปัญหาในช่วงวิกฤติน้ำเค็มรุก สสนก. ได้ร่วมกับ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) ผลิตเครื่องกรองน้ำดื่มจากน้ำกร่อย หรือ กรองน้ำเค็ม  SOS t1 (System of salinity) เพื่อใช้แก้ปัญหาโดยเฉพาะช่วงฤดูแล้งที่ปริมาณน้ำในแม่น้ำมีน้อย

ด้าน ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการนาโนเทค  กล่าวว่า เครื่อง  SOS t1 ที่นักวิจัยนาโนเทคพัฒนาขึ้นนี้  สามารถกรองน้ำกร่อยหรือน้ำเค็ม ให้เป็นน้ำดื่มที่มีคุณภาพตามมาตรฐานได้ โดยใช้เทคโนโลยีนาโน ผลิตไส้กรองเซรามิกเคลือบอนุภาคเงิน ไส้กรองที่พัฒนาขึ้นนี้ มีจุดเด่นในการยืดอายุการใช้งานของไส้กรอง อาศัยหลักการกรองน้ำที่ใช้เมมเบรนฟิลเตอร์ ซึ่งมีรูพรุนเล็กมาก ดังนั้นโมเลกุลของน้ำเท่านั้นที่ผ่านเข้าไปได้  ทำให้มีประสิทธิภาพการดักจับแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น เกลือที่ปนเปื้อนมากับน้ำ  เครื่องดังกล่าวมีกำลังการผลิตประมาณ 200 ลิตรต่อชั่วโมง ที่สำคัญเป็นเครื่องกรองน้ำดื่มจากน้ำกร่อยเคลื่อนที่ได้เหมาะสำหรับการขนย้ายไปยังลุ่มน้ำต่าง ๆ ที่ประสบภาวะวิกฤติน้ำเค็มได้สะดวก.

รายการอ้างอิง :

2557. สสนก.จับมือนาโนเทค พัฒนาเครื่องกรองน้ำกร่อย แก้ปัญหาวิกฤติน้ำเค็มรุกเจ้าพระยา-บางปะกง. เดลินิวส์ (ไอที). วันจันทร์ 26 พฤษภาคม 2557. จาก http://www.dailynews.co.th/Content/IT/240093/สสนก.จับมือนาโนเทค+พัฒนาเครื่องกรองน้ำกร่อย+แก้ปัญหาวิกฤติน้ำเค็มรุกเจ้าพระยา-บางปะกง.

 – ( 105 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เว็บไซต์ด้านวิชาการ

ข่าววิทยาศาสตร์ล่าสุดจากวารสารเนเจอร์ ฉบับวันที่ 22 พฤษภาคม  2014

มีการประมาณการจากนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ Lee Giles และ Madian Khabsa แห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย ว่าเครื่องมือการสืบค้นหาเนื้อหาทางวิชาการ  Google Scholar บริการเอกสารวิชาการเป็นภาษาอังกฤษประมาณ 88%  นักวิทยาศาสตร์ทั้งคู่ได้ทำการศึกษาการครอบคลุมของเนื้อหาใน Google Scholar และ จากบริการของคู่แข่ง  Microsoft Academic Search และยังพบว่าเป็นเนื้อหาที่เปิดให้เข้าถึงได้แบบอิสระ ฟรี อย่างน้อย 24%

จากจำนวนเอกสารวิชาการที่เป็นภาษาอังกฤษ ประมาณ 114 ล้านเอกสาร ( บทความ หนังสือ รายงาน) พบว่ามีเว็บ 4 อันดับแรกที่มีปริมาณเนื้อหา เอกสารวิชาการ มากที่สุดได้แก่  Google  Scholar, Thomson reuters Web of Science, Microsoft Academic Search และ PubMed

อ้างอิง : TREND WATCH : The web of scholarship. (2014) Seven days : The News in brief. Nature., 509(7501), 404-405.  http://www.nature.com/news/seven-days-16-22-may-2014-1.15260– ( 42 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สถานที่สำคัญ ของสหรัฐอเมริกาที่มีความเสี่ยง

ข่าววิทยาศาสตร์ล่าสุดจากวารสารเนเจอร์ ฉบับวันที่ 22 พฤษภาคม  2014

สหภาพนักวิทยาศาสตร์ได้กล่าวเตือนในรายงานที่ เผยแพร่ในวันที่ 20 เดือนพฤษภาคม ว่าสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์สหรัฐมีความเสี่ยงต่อความเสียหายและการทำลายล้าง อันเกิดจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลและไฟป่า  กลุ่มผู้สนับสนุนที่ตั้งอยู่ในเมืองเคมบริดจ์  รัฐแมสซาชูเซตกล่าวว่าการป้องกันสถานที่สำคัญเหล่านี้ควรเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ระดับชาติในเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  มีสถานที่สำคัญ 30 แห่ง ที่มีความเสี่ยง เช่น Jamestown ในรัฐเวอร์จิเนีย, อนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพ และเกาะเอลลิในนิวยอร์ก

อ้างอิง : US sites at risk . (2014) Seven days : The News in brief. Nature., 509(7501), 404-405.
http://www.nature.com/news/seven-days-16-22-may-2014-1.15260– ( 23 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

จีนประกาศนโยบายวารสารแบบเปิด

ข่าววิทยาศาสตร์ล่าสุดจากวารสารเนเจอร์ ฉบับวันที่ 22 พฤษภาคม  2014

เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม  สถาบัน Chinese Academy of Sciences และ National Natural Science Foundation of China  ได้ร่วมกันประกาศนโยบายใหม่เรื่องวารสารแบบเปิด   คือนักวิจัยและนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่ได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยงานให้ทำการเผยแพร่ผลการศึกษาออกสู่สาธารณะแบบอิสระที่จะเข้าอ่านได้ เอกสารจากผลงานวิจัยจะต้องทำในแบบออนไลน์เปิดให้เข้าถึงได้ไม่ช้ากว่าหนึ่งปีหลังจากที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ

อ้างอิง :China open access . (2014) Seven days : The News in brief. Nature., 509(7501), 404-405.

http://www.nature.com/news/seven-days-16-22-may-2014-1.15260– ( 20 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การจัดอันดับมหาวิทยาลัย

ข่าววิทยาศาสตร์ล่าสุดจากวารสารเนเจอร์ ฉบับวันที่ 22 พฤษภาคม  2014

เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม สมาคมยุโรป (European consortium) ได้เปิดตัววิธีการใหม่ในการประเมินมหาวิทยาลัย ที่ให้ชื่อว่า  U-Multirank ซึ่งเป็นระบบฐานข้อมูลที่ให้ค้นหาผลการดำเนินงาน (performance) ของมหาวิทยาลัยทั่วโลก โดยมีการประเมินสถาบันการศึกษาในหลายตัวชี้วัด เช่นความร่วมมือการวิจัยในระดับภูมิภาคและการสนับสนุนนักศึกษาที่กำลังศึกษาในต่างประเทศ ระบบฐานข้อมูลนี้จะช่วยให้คนที่ต้องการจะดูรายละเอียดเรื่องผลการดำเนินงานของสถาบันการศึกษา เปรียบเทียบกับอีกมหาวิทยาลัยอีกแห่งหนึ่งได้ด้วย   รวมถึงสามารถค้นหาชื่อของมหาวิทยาลัยที่ผลงานดีเด่นในสาขาหนึ่งๆได้ด้วย ระบบนี้มีข้อโดดเด่นโดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีความแตกต่างจากระบบการจัดอันดับที่มีอยู่เดิมในขณะนี้  ที่ดูเหมือนว่าทำการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในมิติ ตารางเดียวที่มุ่งเน้นหลักในเรื่องงานวิจัย

อ้างอิง : University ranking. (2014) Seven days : The News in brief. Nature., 509(7501), 404-405.

http://www.nature.com/news/seven-days-16-22-may-2014-1.15260– ( 33 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments