Ring vortex หรือ วอร์เทกซ์วงแหวน เป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติอย่างหนึ่ง ที่มีส่วนคล้ายคลึงกับพายุหมุน แต่แทนที่แกนกลางจะเป็นแนวตรง กลับเป็นวงกลมแทน ในการระเบิดของภูเขาไฟบางครั้ง ก้อนอากาศจะถูกอัดกระเด็นออกมาด้วยความแรง เมื่อวิ่งผ่านควัน ก็จะม้วนรวมควันเข้าไปในต้วด้วย จีงเรียกว่า smoke ring vortex มาดูการทดลองสร้าง Ring vortex กันครับ – ( 835 Views)

เมนูรักษ์หัวใจ
โรคหัวใจเป็นความเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้ แต่สิ่งที่เราควบคุมได้คืออาหาร เพราะสามารถ “ลด”ความเสี่ยงของโรคได้ โดยไม่ต้องพึ่งยา สิ่งหนึ่งที่ทำได้ง่ายคือการ “เลือก” รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อหัวใจ แววตา เอกชาวนา นักโภชนาการ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ แนะนำให้ เลือกรับประทานอาหารสุขภาพที่มีคุณค่าต่อหัวใจ เริ่มต้นด้วยการบริโภคผักผลไม้ อย่างน้อยวันละ 200 – 300 กรัมต่อวัน หรือประมาณ 2 กำมือ เท่ากับ2ขีดจะทำได้ใยอาหารที่ดีต่อหัวใจเพราะช่วยลดการดูดซึมของคอเลสเตอรอล(Cholesterol)ไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) – ( 198 Views)

“มีเดีย บ๊อกซ์” เตือนภัยผ่านจอทีวี
ภายในงานเทคโนโลยีและนวัตกรรมของไทย ประจำปี 2555 (TechnoMart InnoMart 2012) ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา นายปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้มอบอุปกรณ์ติดตามสถานการณ์น้ำอัตโนมัติ (Media Box) ให้แก่เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) 132 แห่ง ทั่วประเทศ – ( 172 Views)

แผนที่รวบรวมเหตุการณ์แผ่นดินไหว
ปัจจุบันนี้เราได้รับฟังข่าวเรื่องการเกิด “แผ่นดินไหว” นั้นเกิดถี่ขึ้นกว่าปกติ แต่จริงๆ แล้วเหตุการณ์แผ่นดินไหวได้มีการรวบรวมข้อมูลไว้ตั้งแต่ปี 1898 ได้เผยเหตุการณ์แผ่นดินไหวมากมายนานนับศตวรรษ โดยบันทึกตั้งแต่ขนาดที่ทำให้ชั้นหนังสือสั่นสะเทือนขึ้นไป และจากแผนที่แผ่นดินไหวนี้ในจุดใดมีสียิ่งสว่างนั่นแสดงให้เห็นว่าบริเวณนั้นความรุนแรงมากขึ้น ภาพ “แผนที่แผ่นดินไหว” อาวเออร์อะเมซิงแพลเน็ต (OurAmazingPlanet) ระบุว่า ทำขึ้นโดย จอห์น เนลสัน (John Nelson) ผู้จัดการด้านการดูแลผู้ใช้งานและการทำแผนที่จากไอดีวีโซลูชันส์ (IDV Solutions) บริษัทด้านการแปลงข้อมูลเป็นภาพ โดยข้อมูลแผ่นดินไหวที่ถูกบันทึกลงแผนที่นี้เป็นข้อมูลแผ่นดินไหวขนาด 4.0 ริกเตอร์ขึ้นไป โดยนับตั้งแต่ปี 1898 ถึงปี 2003 และมีแผ่นดินไหวรวมทั้งสิ้น 203,186 ครั้งที่ถูกบันทึกลงแผนที่ และยิ่งขนาดแผ่นดินไหวรุนแรง สีที่บันทึกก็ยิ่งเป็นสีสว่างยิ่งขึ้น และเหตุการณ์แผ่นดินไหวในแผนที่ยังเผยให้เห็นรูปร่างของแผ่นเปลือกโลกด้วย บริเวณเขตมุดตัวของเปลือกโลก (Subduction zone) นั้นมีค่อนข้างสว่างสดใส โดยบริเวณดังกล่าวมีแผ่นเปลือกโลกที่ซ้อนทับกัน และเปลือกโลกแผ่นหนึ่งมุดลงใต้แผ่นเปลือกโลกอีกแผ่น ซึ่งกระบวนการดังกล่าวทำให้เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงบนโลก ทั้งนี้การบันทึกข้อมูลนั้นมีความคลาดเคลื่อนแตกต่างกันไปตามความทันสมัยของเครื่องมือที่ใช้ศึกษาแผ่นดินไหว โดยเนลสันได้เห็นข้อมูลจำนวนมากพุ่งพรวดในช่วงปี 1960 เป็นต้นมา และแม้ว่าแผนที่จะไม่ได้รวบรวมข้อมูลการเกิดแผ่นดินไหวทั้งหมดแต่ก็ให้ภาพอ้างอิงที่น่าตื่นตา และน่าสนใจมากกว่าข้อมูลที่อัดแน่นอยู่ในแฟ้มข้อมูลแบบตัวอักษรหรือบันทึกข้อมูลเป็นตัวเลขไว้ด้วยตัวเลขในสเปรดชีท แหล่งที่มา : เคยเห็นไหม? แผนที่รวมเหตุ “แผ่นดินไหว” ตั้งแต่

ประเทศไทยได้รับการปกป้องจาก “สนามแม่เหล็กโลก”
ในขณะที่เราใช้ชีวิตท่ามกลางความวุ่นวายของสารพัดปัญหาบนโลก หลายคนอาจจะไม่รู้ว่ากำลังได้รับการปกป้องจาก “สนามแม่เหล็กโลก” ที่ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้อนุภาคที่มีประจุรุนแรงลงมาทำลายชีวิตบนโลกได้ และประเทศไทยโชคดีกว่าใครที่ตั้งอยู่บน “เส้นศูนย์สูตรแม่เหล็กโลก” ที่มีพลังปกป้องเข้มข้นกว่าใคร ดร.เดวิด รูฟโฟโล อาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวไว้ในงานเสวนาวิชาการหลายครั้งระบุว่า “แม้ในทางภูมิศาสตร์ไทยไม่ได้ตั้งอยู่บนเส้นศูนย์สูตร แต่ในแง่สนามแม่เหล็กโลกนั้นไทยตั้งอยู่บนเส้นศูนย์สูตรสนามแม่เหล็กโลก ซึ่งทำให้มีสนามแม่เหล็กเข้มที่สุดและปกป้องไม่ให้อนุภาคมีประจุผ่านลงมาได้ง่ายๆ หรือได้รับผลกระทบน้อยสุดเมื่อเกิดพายุสุริยะหรือรังสีคอสมิคตรงมายังโลก โดย จ.ชุมพรมีความเข้มของสนามแม่เหล็กสูงสุด” สนามแม่เหล็กโลก (Magnetosphere) สนามแม่เหล็กโลกเกิดจากการกระบวนการไดนาโมของโลก กล่าวคือโลหะหนักที่มีสถานะเป็นของเหลวที่อยู่ในแกนโลกมีการหมุนวน ทำให้เกิดสนามแม่เล็กที่เอียงทำมุมประมาณ 10 องศาจากแกนหมุนของโลก ที่ผิวโลกมีความเข้มของสนามแม่เหล็กโลกประมาณ 30,000 – 60,000 นาโนเทสลา และความเข้มจะค่อยๆ ลดลงเมื่ออยู่ห่างจากผิวโลกมากขึ้น ขั้วแม่เหล็กแบ่งออกได้เป็นสองแบบ คือ 1. ขั้วแม่เหล็ก (magnetic poles) 2. ขั้วแม่เหล็กโลก (geomagnetic poles) ขั้วแม่เหล็ก คือตำแหน่งบนโลกที่สนามแม่เหล็กโลกมีทิศทางในแนวดิ่ง กล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า ความเอียงของสนามแม่เหล็กโลกที่ขั้วแม่เหล็กเหนือมีค่าเป็น 90 องศา ในขณะที่ความเอียงของสนามแม่เหล็กโลกที่ขั้วใต้มีค่าเป็น -90 องศา ดังนั้นเมื่อเอาเข็มทิศปกติ (ซึ่งปกติจะหมุนได้เฉาะในแนวขวาง) ไปไว้ที่ขั้วแม่เหล็กเหนือหรือขั้วแม่เหล็กใต้

ยานสำรวจ “ดาวพลูโต” อาจโดนทำร้ายจากดวงจันทร์พลูโต
องค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐ (นาซา) ได้ส่ง “ยานนิวฮอไรซอนส์” (New Horizons) โดยมีเป้าหมายเพื่อเดินทางผ่านระบบสุริยะมุ่งหน้าสู่ “ดาวพลูโต” (Pluto) อดีตดาวเคราะห์ที่ถูกปรับให้เป็นเพียงดาวเคราะห์แคระ (dwarf planet) ซึ่งได้เดินทางมาเกือบ 7 ปีแล้ว การเดินทางต้องใช้ระยะเวลาทั้งหมด 9 ปีครึ่งสู่เป้าหมาย แต่นักวิทยาศาสตร์ได้พบว่าดวงจันทร์ของดาวเคราะห์แคระ 2 ดวงโคจรรอบพลูโตอันหนาวเหน็บ ทำให้พวกเขาทราบว่ามีโอกาสเสี่ยงมากขึ้นที่จะมีเศษเล็กเศษน้อยรอบดาวเคราะห์แคระ ซึ่งทำอันตรายต่อยานอวกาศได้อาจมีแนวโน้มเป็นอันตรายต่อยานของนาซา ซึ่งกำลังเดินทางเข้าใกล้เป้าหมายอยู่ในขณะนี้ ดร.อลัน สเทิร์น (Dr.Alan Stern) หัวหน้าทีมนักวิทยาศาสตร์ในปฏิบัติการยานนิวฮอไรซอนส์กล่าวว่า พวกเขาพบดวงจันทร์ที่โคจรรอบพลูโตมากขึ้นเรื่อยๆ และจนถึงตอนนี้นับได้ 5 ดวงแล้ว และดวงจันทร์ทั้งที่พบแล้วและยังไม่พบนั้นทำตัวเหมือนตัวสร้างเศษอันตรายในระบบของพลูโต โดยทำให้เกิดเศษซากมีคมจากการชนกันระหว่างดวงจันทร์เหล่านั้นกับวัตถุในแถบไคเปอร์ (Kuiper Belt) – ( 219 Views)

พิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยาแห่งแรกของไทย เปิดให้บริการแล้ว
กรมทรัพยากรธรณี ได้ดำริจัดสร้าง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติธรณีวิทยาเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดปทุมธานี เนื่องในมหามงคลวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ขึ้นในปี พ.ศ.2543 ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ทางด้านธรณีวิทยา ทรัพยากรธรณีและซากดึกดำบรรพ์แห่งแรกของไทยที่ได้มาตรฐานสากล ซึ่งได้ดำเนินการแล้วเสร็จและให้บริการเปิดทดลองระบบนับตั้งแต่เดือน พ.ค. 2554 เป็นต้นมา ซึ่งจะประกอบพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 26 ต.ค.2555 โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระ กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จแทนพระองค์ เป็นองค์ประธานในพิธี – ( 107 Views)

ใช้ GPS ตรวจสอบนาข้าว
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการขึ้นทะเบียนและรับรองเกษตรกร ในการรับจำนำข้าวเปลือกด้วยเครื่องอ่านพิกัดภูมิศาสตร์ (GPS) ให้เพียงพอและเหมาะสมในการใช้งานเพื่อให้การตรวจสอบข้อมูลพื้นที่จริงมีความ ถูกต้อง สมบูรณ์ และนำไปใช้ในโครงการรับจำนำแล้วสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ โดยเบื้องต้นจะดำเนินการซื้อทันทีในพื้นที่จำเป็นเร่งด่วน 2,400 ตำบล จัดซื้อตำบลละ 1 เครื่อง รวม 2,400 เครื่อง โดยใช้งบประมาณปกติดำเนินการจัดซื้อภายใต้วงเงิน 48 ล้านบาท ส่วนที่เหลือจะจัดซื้อให้ครบพื้นที่ที่มีการปลูกพืชเศรษฐกิจ 6,885 ตำบล ให้แล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ 2556 ซึ่งรวมแล้วจะใช้งบประมาณ 120 ล้านบาท ทั้งนี้ เพื่อให้การตรวจสอบพื้นที่มีความถูกต้อง แม่นยำ โปร่งใส ไม่ซ้ำซ้อนและสามารถดำเนินการได้ทันกับกรอบระยะเวลาการออกใบรับรองให้แก่ เกษตรกรเพื่อเข้าโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลได้. รายการอ้างอิง : ใช้ GPS ตรวจสอบนาข้าว. เดลินิวส์ (เกษตร) วันที่ 26 ตุลาคม 2555.– ( 94 Views)

เห็ดระโงกเหลือง – เรื่องน่ารู้
เห็ดระโงกเหลืองจะพบในบริเวณที่ค่อนข้างชื้น อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 94% pH 7 ความเข้มแสง 142 Luxหลังฝนตก 2-3 วัน มี แดดออกอากาศร้อนอบอ้าว ในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายนเป็นเห็ดดอกเดี่ยวหรือเป็นกลุ่ม 4-5 ดอกกระจายอยู่ทั่วไปในป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง – ( 96 Views)

สะสม”มวลกระดูก” ก่อนสลายไม่รู้ตัว
ถ้าพูดถึงโรคกระดูกพรุน ใคร ๆ ก็คงนึกถึงอาม่าแก่ ๆ ตัวเล็ก ๆ หลังค่อม ๆ ที่เดินชนอะไรนิด ๆ หน่อย ๆ ก็พร้อมที่จะกระดูกหักได้ จริงอยู่ที่โรคกระดูกพรุนพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในผู้หญิงที่พบบ่อยมากกว่าผู้ชายถึง 5 เท่า คุณผู้อ่าน (ที่ยังไม่ชรา) อาจจะคิดว่าโรคกระดูกพรุนช่างไกลตัว อีกตั้งนานกว่ากระดูกจะพรุน ถึงคราวนั้นก็ปล่อยให้สัตว์โลกเป็นไปตามกรรมเถิด จริง ๆ แล้วการดูแลสุขภาพกระดูกเริ่มต้นตั้งแต่วัยรุ่นนะคะ เพราะมวลกระดูกก็เหมือนเงินในบัญชี ถ้าสะสมตั้งแต่ยังสาว พอถึงวัยที่ต้องจ่ายหรือวันที่กระดูกสลาย อย่างน้อยเราก็ยังเหลือมากอยู่กว่าคนที่ไม่เคยดูแลหรือสะสมมาก่อน – ( 89 Views)