นักวิจัย สวทช. รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ปี 2563 ในงาน “วันนักประดิษฐ์”

นักวิจัย  สวทช. เข้ารับรางวัลการวิจัยแห่งชาติในงาน “วันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2563” จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นทุกปี เพื่อระลึกถึงวันประวัติศาสตร์ของการจดทะบียนและทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรการประดิษฐ์ “เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนเข้าแบบทุ่นลอย” หรือ “กังหันน้ำชัยพัฒนา” แด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศ มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งเป็นสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของไทย และเป็นครั้งแรกของโลก รวมทั้งทรงเป็นแบบอย่างที่ดีกับนักประดิษฐ์ไทยในการสร้างสรรค์ผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่ช่วยแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนและสังคมได้อย่างเป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง

โดยผลงานวิจัยที่ได้รับรางวัลประกอบด้วย รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น จำนวน 6 รางวัล รางวัลระดับดีมาก ได้แก่

  1. “นวัตกรรมสารป้องกันน้ำยางพาราสดบูดเน่า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิตยางแผ่นรมควัน และเพิ่มคุณภาพชีวิตเกษตรชาวสวนยาง” โดย ดร.ฉวีวรรณ คงแก้ว และคณะ จากศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช.
  2. “OnSpec VULCAN : เครื่องเคลือบฟิล์มบางสำหรับชิปขยายสัญญาณรามาน” โดย ดร.พิทักษ์ เอี่ยมชัย และคณะ จากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สวทช.
  3. “KidBright: บอร์ดส่งเสริมการเรียนโค้ดติ้งและ STEM Education” โดย ดร.เสาวลักษณ์ แก้วกำเนิด และคณะ จากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สวทช.

รางวัลประกาศเกียรติคุณ “มายแอร์ : เครื่องประดับตรวจวัดฝุ่นด้วยเซ็นเซอร์ตรวจวัดฝุ่น PM 2.5 แบบกระเจิงแสงขนาดเล็กโดยเทคนิคการส่งผ่านฝุ่นด้วยไมโครปั๊มชนิดเปียโซเพื่อใช้ในการออกแบบเครื่องประดับสำหรับตรวจวัดค่าผุ่นและ AQI แบบฐานเวลาจริง” โดย ดร.อดิสร เตือนตรานนท์ และคณะ จาก สวทช.

รางวัลวิทยานิพนธ์ จำนวน 6 รางวัล ได้แก่

  1. “สารประกอบโบรอนอินทรีย์สำหรับการประยุกต์ใช้เป็นตัวรับฟลูออรีน-18” โดย ดร.กันตพัฒน์ จันทร์แสนภักดิ์ จากศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สวทช.
  2. “กระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพของการสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็กด้วยวิทยาการคอมพิวเตอร์” โดย ดร.อิทธิ ฉัตรนันทเวช จากศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สวทช.
  3. “การปรับปรุงคุณสมบัติของโฟโตวอลเทอิกของเซลล์แสงอาทิตย์ที่ประกอบด้วยฟิล์มบางสารอินทรีย์และอนินทรีย์ที่ทำการเตรียมโดยเทคนิคการเคลือบแบบสารละลายรูปวงเดือน” โดย ดร.อนุศิษย์ แก้วประจักษ์ จากศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สวทช.
  4. “คุณลักษณะของยีนดื้อยากลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ในเชื้อวัณโรคสายพันธุ์ที่แยกได้จากผู้ป่วยและบทบาทของยีนขับยาออกนอกเซลล์ต่อการดื้อยากานามัยซินและอะมิกาซิน” โดย ดร.อังคนางค์ โสวจัสสตากุล จาก ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สวทช.
  5. “วัสดุนาโนสำหรับการประยุกต์ใช้งานด้านวงจรอิเล็กทรอนิกส์และการตวจการับรู้” โดย ดร.นพดล อรุณยะเดช จาก ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สวทช.
  6. “การพัฒนาระบบอ่านปากโดยใช้เทคโนโลยีโครงข่ายประสาทเทียมเชิงลึกร่วมกับแบบจำลองมาร์คคอฟซ่อนเร้น โดย ดร.ขวัญชีวา แตงไทย จาก ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สวทช.