สท.-ม.เกษตรศาสตร์-กรมส่งเสริมการเกษตร เสริมความรู้ถั่วเขียว KUML ให้เจ้าหน้าที่ศรีสะเกษส่งต่อเกษตรกรปลูกถูกหลัก ได้ผลผลิต เสริมรายได้

สท.-ม.เกษตรศาสตร์-กรมส่งเสริมการเกษตร เสริมความรู้ถั่วเขียว KUML ให้เจ้าหน้าที่ศรีสะเกษส่งต่อเกษตรกรปลูกถูกหลัก ได้ผลผลิต เสริมรายได้

เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และกรมส่งเสริมการเกษตร จัดอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร Train The Trainer เทคโนโลยีการผลิตพืชหลังนาแบบครบวงจร: ถั่วเขียวพันธุ์ KUML ให้เจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตรจาก 22 อำเภอในจังหวัดศรีสะเกษ เพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีองค์ความรู้ด้านการผลิตถั่วเขียวและสามารถถ่ายทอดความรู้ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการให้เกษตรกรได้ โดยมี รศ.ดร.ประกิจ สมท่า และ ผศ.ดร.กนกวรรณ เที่ยงธรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เป็นวิทยากรให้ความรู้ นอกจากนี้ยังมีน.ส.รัศมี หวะสุวรรณ และน.ส.นุชนัดดา วิเชียรโชติ ทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทางชีวภาพ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ร่วมให้ความรู้และสาธิตการผลิตขยายเชื้อราบิวเวอเรีย กิจกรรมครั้งนี้ได้รับเกียรติจากนายอนุรัตน์ ธรรมประจำจิต

สวทช.-โอสถสภา-หน่วยงานพันธมิตร ชู ‘สมุนไพร-ถั่วเขียว’ ยกระดับคุณภาพชีวิตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

สวทช.-โอสถสภา-หน่วยงานพันธมิตร ชู ‘สมุนไพร-ถั่วเขียว’ ยกระดับคุณภาพชีวิตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

เมื่อวันที่ 7-8 มีนาคม 2567 ณ ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ อ.เมืองศรีสะเกษ และตำบลเมืองหลวง ตำบลผักไหม อ.ห้วยทับทัน จ.ศรีสะเกษ : ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่ชาติ (สวทช.) นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. ในฐานะผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) พร้อมด้วยนักวิจัย สวทช. ประกอบด้วย ดร.ยี่โถ ทัพภะทัต ทีมวิจัยนวัตกรรมโรงงานผลิตพืชสมุนไพร ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ดร.ประเดิม วณิชชนานันท์ นักวิจัยไบโอเทค ดร.วีรกัญญา มณีประกรณ์ นักวิจัยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ

สท.-พัฒนาชุมชนศรีสะเกษยกระดับผลิตผ้าไหมพื้นเมืองด้วยเทคโนโลยี

สท.-พัฒนาชุมชนศรีสะเกษยกระดับผลิตผ้าไหมพื้นเมืองด้วยเทคโนโลยี

เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับโครงการส่งเสริมศิลปาชีพอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.ศิลาลาด จ.ศรีสะเกษ และสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดเทคโนโลยี “ยกระดับการผลิตผ้าไหมพื้นเมือง” ให้กลุ่มเกษตรกร ผู้ประกอบการทอผ้ามาตรฐานนกยูง จำนวน 25 คน ได้ร่วมเรียนรู้และทดลองใช้เอนไซม์ ENZease กำจัดกาวไหม โดยแช่เส้นไหมในน้ำอุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส นาน 3 ชั่วโมง ช่วยประหยัดพลังงานเชื้อเพลิงในการต้ม และประหยัดเวลามากกว่าร้อยละ 50 นอกจากนี้ผู้เข้าอบรมยังได้เรียนรู้การสกัดสีธรรมชาติจากพืชในท้องถิ่น ได้แก่ ใบยูคาลิปตัสและเปลือกมะพร้าวอ่อน โดยใช้สารส้ม ปูนแดงและสนิมเป็นสารมอร์แดนท์ ได้ 6 เฉดสี ได้แก่ สีโทนเทา

สวทช.-จังหวัดศรีสะเกษต่อยอดพัฒนาแกนนำผลิตถั่วเขียวคุณภาพ KUML

สวทช.-จังหวัดศรีสะเกษต่อยอดพัฒนาแกนนำผลิตถั่วเขียวคุณภาพ KUML

เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2566 สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษ จัดกิจกรรม “การพัฒนาแกนนำ (Train the trainer) เทคโนโลยีการผลิตพืชหลังนาแบบครบวงจร: ถั่วเขียวพันธุ์ KUML” ให้เจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอทั้ง 22 อำเภอในจังหวัดศรีสะเกษ เจ้าหน้าส่งเสริมการเกษตรประจำตำบลและเกษตรกร รวม 121 คน เพื่อนำความรู้และเทคโนโลยีแนะนำเกษตรกรได้ถูกต้อง ตลอดจนขยายผลการปลูกถั่วเขียวเป็นพืชหลังนาที่สามารถสร้างรายได้เสริมให้เกษตรกร นอกจากองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่ได้รับจากผู้เชี่ยวชาญแล้ว ผู้เข้าร่วมอบรมยังได้ข้อมูลด้านตลาดรับซื้อจากผู้ประกอบการเอกชน ได้แก่ บริษัท กิตติทัต จำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศิริบูรณ์จงเจริญไพศาล และบริษัท เอสซีพีฟู้ด (ไทยแลนด์) จำกัด นายอนุรัตน์

สวทช. ผนึกพันธมิตรยกระดับคุณภาพ-มาตรฐานการปลูกพืชสมุนไพร ใช้กลไกตลาดนำการผลิต สร้างรายได้ให้เกษตรกรในพื้นที่ทุ่งกุลา

สวทช. ผนึกพันธมิตรยกระดับคุณภาพ-มาตรฐานการปลูกพืชสมุนไพร  ใช้กลไกตลาดนำการผลิต สร้างรายได้ให้เกษตรกรในพื้นที่ทุ่งกุลา

(วันที่ 17 กันยายน 2565) ณ ห้องประชุมศรีพฤทเธศวร ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษ: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการ “การยกระดับคุณภาพชีวิตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม: ด้านพืช สมุนไพร” ร่วมกับ 3 จังหวัดในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม รวมทั้งสถาบันการศึกษาในพื้นที่ นำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ยกระดับการปลูกพืชสมุนไพร นำร่องขิง ไพล ฟ้าทะลายโจร พร้อมเชื่อมโยงบริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน) และบริษัท กุยลิ้มฮึ้ง จำกัด รับซื้อผลผลิตคุณภาพตอบโจทย์ความต้องการตลาด เปิดช่องทางการตลาดใหม่ สร้างเศรษฐกิจชุมชนและฐานรากให้ยั่งยืนโดยใช้ฐานทรัพยากรในพื้นที่ ศาสตราจารย์