นวัตกรรมการแพทย์ขั้นสูงตามแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG

13:30 
- 16:00 น.
Surgeons,Perform,Brain,Surgery,Using,Augmented,Reality,,Animated,3d,Brain.

วิทยากร

รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม, อ.นพ.กรมิษฐ์ ศุภพิพัฒน์, รศ.นพ.ถนอม บรรณประเสริฐ, ศ.นพ.สุรเดช หงส์อิง, ศ.ดร.นพ.ประเสริฐ เอื้อวรากุล, รศ.ดร.นพ. พงศกร ตันติลีปิกร, ดร.ศิรศักดิ์ เทพาคำ and ดร.สุชาติ จองประเสริฐ

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ผลิตภัณฑ์การรักษาด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง (Advanced Therapy Medicinal Products; ATMPs) เข้ามามีบทบาททางด้านการแพทย์เป็นอย่างมาก เนื่องด้วยสามารถรักษาโรคร้ายแรงที่ปัจจุบันทำได้เพียงประคับประคองอาการให้หายขาดได้ อาทิ การใช้ยีนบำบัดในการรักษาโรคธาลัสซีเมีย

การใช้เซลล์บำบัดในการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว รวมถึงการใช้เซลล์บำบัดรักษาโรคที่การรักษาที่มีอยู่เดิมไม่ได้ผล อาทิ โรคทางตาและโรคพันธุกรรมชนิดรุนแรง ปัจจุบัน ATMPs ได้รับการยอมรับในเรื่องประสิทธิภาพการรักษาและความปลอดภัยในระดับสากล มีการผลิตเพื่อจำหน่ายและเกิดเป็นบริการแล้วในหลายประเทศทั่วโลก อาทิ CD-19 Chimeric Antigen Receptor (CAR) T cell สำหรับการรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษามาตรฐานหรือมีโรคกลับเป็นซ้ำ ซึ่งจากการวิจัยพบว่า CD-19 CAR T cell มีผลในการควบคุมโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดบีเซลล์ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาอื่นๆ ทั้งหมดที่มีอยู่ในปัจจุบันสูงถึงร้อยละ 50-90 อย่างไรก็ตามอุปสรรคสำคัญในการเข้าถึงการรักษาดังกล่าวคือเรื่องราคา โดย CD-19 CAR T cell ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนในสหรัฐอเมริกามีราคาสูงถึง 10-15 ล้านบาท เนื่องจากเกิดการผูกขาดการผลิตและการจัดจำหน่ายโดยผู้ผลิตยารายใหญ่ ในขณะที่ต้นทุนในการผลิตและค่าบริการการรักษาด้วย CD-19 CAR T cell โดยใช้เทคโนโลยีไวรัสเวกเตอร์อยู่ที่ 1.5 – 3 ล้านบาทเท่านั้น 

ประเทศไทยมีบุคลากรและระบบบริการทางการแพทย์ที่มีศักยภาพสูง มีทีมนักวิจัยที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ สามารถสร้างนวัตกรรม ATMPs ขึ้นเองภายในประเทศและรองรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีขั้นสูงจากต่างประเทศ หากได้รับการสนับสนุนที่เหมาะสมจากภาครัฐ ทั้งในส่วนการสนับสนุนงบประมาณเพื่อการวิจัยพัฒนา การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีมาตรฐาน มีนโยบายหรือกฎระเบียบการควบคุมดูแลการผลิตและการนำใช้และระบบนิเวศที่เอื้ออำนวย รวมถึงการสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อให้เกิดการต่อยอดงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์และสร้างอุตสาหกรรมดังกล่าวให้เกิดขึ้นได้จริงในประเทศไทย เพื่อให้คนไทยสามารถเข้าถึงการรักษาด้วยผลิตภัณฑ์การแพทย์ที่มีประสิทธิภาพสูงในราคาที่จ่ายได้ ดึงดูดให้เกิดการลงทุนและเพิ่มศักยภาพของประเทศในการรองรับผู้ป่วยนานาชาติที่เดินทางเข้ามารับบริการทางการแพทย์ในไทย รวมถึงผลักดันให้ประเทศไทยศูนย์กลางการบริการด้านการแพทย์ ATMPs ในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และภูมิภาคใกล้เคียงได้ (Medical Hub)

นิทรรศการออนไลน์ผ่าน Virtual Reallity

รับชมผลงานวิจัยและนิทรรศการจาก สวทช. แบบ ​Interactive.

กำหนดการสัมมนา:

13.30 – 13.50 น.

นวัตกรรมการแพทย์ขั้นสูง ภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG 
Advanced Medical Innovation in BCG Economy
รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม
รองประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG  Model สาขายาและวัคซีน

13.50 – 14.20 น.

งานวิจัย ATMPs สู่การใช้งานทางคลินิกและการบริการในโรงเรียนแพทย์ 
ATMPs Research into Clinical Applications and Services in Medical Schools
อ.นพ.กรมิษฐ์ ศุภพิพัฒน์ 
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

14.20 – 14.50 น.

การยกระดับโครงสร้างพื้นฐานและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อการผลิตและบริการ ATMPs ในประเทศไทย 
Infrastructure and Regulations for ATMPs Manufacturing and Servicing in Thailand
รศ.นพ.ถนอม บรรณประเสริฐ 
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

14.50 – 15.00 น. พักเบรก 10 นาที 
15.00 – 15.30 น.

ถอดประสบการณ์ งานวิจัยสู่ธุรกิจด้านยีนบำบัดในประเทศไทย
Successful Cases: Driving Gene Therapy Research into Business in Thailand
โดย ศ.นพ.สุรเดช หงส์อิง 
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล

15.30 – 16.00 น.

เสวนา ในหัวข้อ นวัตกรรมการแพทย์ขั้นสูงตามแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG 
Driving Thailand BCG Economy with the Advanced Therapy Innovations

  • ศ.ดร.นพ.ประเสริฐ เอื้อวรากุล
    คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล 
  • ศ.นพ.สุรเดช หงส์อิง
    คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล
  • รศ.ดร.นพ. พงศกร ตันติลีปิกร
    คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ดร.ศิรศักดิ์ เทพาคำ
    ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน)
  • ดร.สุชาติ จองประเสริฐ
    สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

หมายเหตุ ห้องประชุมออนไลน์จะเปิดระบบ 15 นาทีก่อนเริ่มงาน

รวมรายการวิดิโอ

เกี่ยวกับวิทยากร

รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม
อดีตปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
อ.นพ.กรมิษฐ์ ศุภพิพัฒน์
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รศ.นพ.ถนอม บรรณประเสริฐ
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ศ.นพ.สุรเดช หงส์อิง
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ศ.ดร.นพ.ประเสริฐ เอื้อวรากุล
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
รศ.ดร.นพ. พงศกร ตันติลีปิกร
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ดร.ศิรศักดิ์ เทพาคำ
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน)
ดร.สุชาติ จองประเสริฐ
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

สัมมนาอื่นๆ ​: