ผนึกกำลังความร่วมมือแพลตฟอร์ม AI สัญชาติไทย (CiraCore x AIFT x AI9)

09:00 
- 11:20 น.
feature image-AI-(CiraCore x AIFT x AI9)

วิทยากร

ดร. เทพชัย ทรัพย์นิธิ, รศ.ดร.ศิริเดช บุญแสง, ดร.ชูชาติ หฤไชยะศักดิ์, ดร.เชิดศักดิ์ กิ่งก้าน, ผศ.ดร.สันทัด ชูวงค์อินทร์, ดร.รังสันต์ จอมทะรักษ์ and คุณศรินทร์ วัชรบุศราคำ

ในปี 2021 ประเทศไทยได้รับการประเมินดัชนีชี้วัดความพร้อมด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในลำดับที่ 59 (จาก 160 ประเทศทั่วโลก) และลำดับที่ 5 จาก 10 ประเทศในอาเซียน (ตามหลังสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซียและบรูไน ตามลำดับ) ใน ของรัฐบาลทั่วโลก

โดยปัญหาหนึ่งที่พบของไทยคือภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม และภาครัฐ ยังขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้าน AI รวมทั้งประเทศไทยยังไม่มีแพลตฟอร์มของประเทศ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้ให้ความสำคัญและมีเป้าหมายเดียวกับนโยบายของประเทศไทยในการมุ่งเน้นเตรียมความพร้อมและรองรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสำคัญที่กำลังจะเข้ามา รวมถึงเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยนำพาประเทศให้สามารถพร้อมรับมือกับเทคโนโลยีดิจิทัลแห่งโลกอนาคต จึงได้ร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) ในการจัดทำร่างแผนแม่บทปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย พ.ศ. 2564-2570 ซึ่งมีเป้าประสงค์หลัก 3 ด้าน ได้แก่ การสร้างคน การสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ และการสร้างผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม 

ในงานเสวนาครั้งนี้เป็นการเสวนาร่วมกันระหว่าง 3 ทีมวิจัยไทยผู้พัฒนาแพลตฟอร์ม AI ได้แก่ 1) ทีม Cira Core นำโดย รศ.ดร.ศิริเดช บุญแสง หัวหน้าโครงการ CiRA CORE KMITL (สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง) 2) ดร. เทพชัย ทรัพย์นิธิ, ผอ.กลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ และ 3) ดร.ชูชาติ หฤไชยะศักดิ์, กรรมการผู้จัดการ บริษัท AI9 จำกัด  ในหัวข้อเสวนานี้ผู้เข้าชมจะได้ทราบความก้าวหน้าของแพลตฟอร์ม AI สัญชาติไทยของ 3 ทีมวิจัย ซึ่งเป็นกลุ่มสถาบันการศึกษา หน่วยงานวิจัยของภาครัฐ และบริษัทสตาร์ตอัพทางด้าน AI ของไทย  เห็นตัวอย่างการนำเทคโนโลยี AI ไปประยุกต์กับโจทย์จริงในภาคอุตสาหกรรม ทั้ง AI ทางด้านภาพ (Image Processing) และ AI ทางด้านภาษา (Natural Language Processing, Text to Speech, Speech to Text) เป็นต้น ตลอดจนแนวทางความร่วมมือพัฒนาแพลตฟอร์ม AI สัญชาติไทยระหว่าง 3 ทีมวิจัยเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศไทยต่อไป 

งานเสวนาหัวข้อนี้จึงเหมาะสำหรับผู้ที่สนใจความก้าวหน้าของเทคโนโลยี AI ของคนไทย ผู้ที่อยากเรียนรู้และทดลองใช้บริการ AI ของคนไทยทั้งแบบไม่เสียค่าใช้จ่ายและแบบจริงจังในธุรกิจของตนเอง ตลอดจนคนไทยในแวดวง AI ทุกคน

นิทรรศการออนไลน์ผ่าน Virtual Reallity

รับชมผลงานวิจัยและนิทรรศการจาก สวทช. แบบ ​Interactive.

กำหนดการสัมมนา:

9.00 – 9.05 น.

(5 นาที)

เกริ่นนำและกล่าวต้อนรับเข้าสู่งานเสวนา
โดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

9.05 – 10.05

(60 นาที)

แนะนำผลงาน 3 ทีม AI สัญชาติไทย

  1. ดร. เทพชัย ทรัพย์นิธิ
    ผอ.กลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
  2. รศ.ดร.ศิริเดช บุญแสง
    หัวหน้าโครงการ CiRA CORE KMITL และ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  3. ดร.ชูชาติ หฤไชยะศักดิ์
    กรรมการผู้จัดการ บริษัท AI9 จำกัด
พักเบรก 5 นาที

10.10 – 11.10 น.

(60 นาที)

เสวนา ความร่วมมือระหว่างแพลตฟอร์ม AI สัญชาติไทย โดย 

  1. ดร.เทพชัย ทรัพย์นิธิ
    ผอ.กลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
  2. ดร.เชิดศักดิ์ กิ่งก้าน
    กลุ่มวิจัยไอโอทีและระบบอัตโนมัติสำหรับงานอุตสาหกรรม
    ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
  3. รศ.ดร.ศิริเดช บุญแสง
    หัวหน้าโครงการ CiRA CORE KMITL และ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
    สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  4. ผศ.ดร.สันทัด ชูวงค์อินทร์
    หัวหน้าศูนย์ CiRA AMI (Advanced Manufacturing Innovation)
    สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  5. ดร.รังสันต์  จอมทะรักษ์
    หัวหน้าศูนย์ CiRA Educations มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  6. ดร.ชูชาติ หฤไชยะศักดิ์
    กรรมการผู้จัดการ บริษัท AI9 จำกัด

ดำเนินรายการ:
โดย คุณศรินทร์ วัชรบุศราคำ
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

11.10 – 11.20 น.

(10 นาที)

Q & A 
เปิดเวทีสำหรับการตอบคำถามจากผู้ชมก่อนปิดการบรรยาย

หมายเหตุ

  • กำหนการอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
  • เริ่มเปิดห้องประชุมในระบบ Webex Webinar 15 นาที ก่อนเริ่มงาน

รวมรายการวิดิโอ

 

 

เกี่ยวกับวิทยากร

ดร. เทพชัย ทรัพย์นิธิ
ผอ.กลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์ เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
รศ.ดร.ศิริเดช บุญแสง
หัวหน้าโครงการ CiRA CORE KMITL และ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ดร.ชูชาติ หฤไชยะศักดิ์
กรรมการผู้จัดการ บริษัท AI9 จำกัด
ดร.เชิดศักดิ์ กิ่งก้าน
กลุ่มวิจัยไอโอทีและระบบอัตโนมัติสำหรับงานอุตสาหกรรม ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
ผศ.ดร.สันทัด ชูวงค์อินทร์
หัวหน้าศูนย์ CiRA AMI (Advanced Manufacturing Innovation) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ดร.รังสันต์ จอมทะรักษ์
หัวหน้าศูนย์ CiRA Educations มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
คุณศรินทร์ วัชรบุศราคำ
นักวิจัยกลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

สัมมนาอื่นๆ ​: