ทิศทางไทยกับการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตวัตถุดิบสารออกฤทธิ์ทางเภสัชกรรม (Active Pharmaceutical Ingredients; API)

13:30 
- 16:30 น.
Medicine,Capsule,Showing,Its,Active,Ingredients.,3d,Illustration.

วิทยากร

ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์, นพ.สุรโชค ต่างวิวัฒน์, คุณอนันต์ วัชรดำรงกุล, Mr. Pranay Sood, ดร.อรศิริ ศรีคุณ and ดร.นิติพล ศรีมงคลพิทักษ์

ประเทศไทยมีอุตสาหกรรมการผลิตสารเคมีหรือที่เรียกกันว่า สารออกฤทธิ์ทางเภสัชกรรม (Active Pharmaceutical Ingredients, API) อยู่เพียงเล็กน้อย เมื่อมีเหตุจำเป็นต้องใช้ยาจำนวนมากโดยฉับพลัน จำเป็นต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศเสมอ  และในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ เช่น COVID-19 ซึ่งเป็นสถานการณ์เร่งด่วน มีข้อจำกัดด้านระยะเวลา การนำเข้ายาจากต่างประเทศมีต้นทุนสูง

นอกจากนี้ ในกรณีที่กำลังการผลิตของประเทศผู้ผลิตมีไม่เพียงพอ ประเทศจะไม่สามารถสั่งซื้อยาได้อย่างเพียงพอภายในระยะเวลาอันสั้น กระทั่งสารออกฤทธิ์ทางเภสัชกรรมต่างๆ ที่จะนำมาผลิตก็ไม่สามารถหาซื้อได้ด้วยวิธีปกติ ส่งผลให้ประเทศไทยไม่ได้รับยาที่เพียงพอต่อการรักษาและควบคุมการระบาดของโรค ก่อให้เกิดความสูญเสียในวงกว้างได้ 

ดังนั้น การเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือต่อโรคระบาด นอกเหนือจากการพัฒนาเครื่องมือในการเฝ้าระวังที่มีประสิทธิภาพ และการตรวจวินิจฉัยที่รวดเร็วและแม่นยำแล้ว การใช้ยาในการรักษาผู้ป่วยเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยควบคุมการระบาด และลดความสูญเสียทั้งด้านชีวิต เศรษฐกิจ และสังคม การพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิต API เพื่อการผลิตยา จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องเร่งพัฒนาให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อความมั่งคงทางยาของประเทศ และเพิ่มการเข้าถึงยาให้ผู้ป่วยในภาวะวิกฤตนี้

นิทรรศการออนไลน์ผ่าน Virtual Reallity

รับชมผลงานวิจัยและนิทรรศการจาก สวทช. แบบ ​Interactive.

กำหนดการสัมมนา:

13.30 – 14.00 น.

การขับเคลื่อนประเทศในประเด็นความมั่นคงด้านยาด้วยการพัฒนา API 
โดย ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

14.00 – 14.30 น.

ความท้าทายและนโยบายของภาครัฐบาลในการสนับสนุนด้านความมั่นคงทางยาและอุตสาหกรรม API ของประเทศ
โดย นพ.สุรโชค ต่างวิวัฒน์
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

14.30 – 15.00 น.

ประสบการณ์และทิศทางอุตสาหกรรม API จากมุมมองภาคเอกชน
โดย คุณอนันต์ วัชรดำรงกุล และ Mr. Pranay Sood 
บริษัท ลินาเรีย เคมีภัณฑ์ (ประเทศไทย) จำกัด

15.00 – 15.30 น.

ประสบการณ์และทิศทางในอนาคตของอุตสาหกรรม API ของภาครัฐ
โดย ดร.อรศิริ ศรีคุณ
องค์การเภสัชกรรม

15.30 – 16.00 น.

สวทช. กับเทคโนโลยีและความก้าวหน้าของการพัฒนา API
โดย ดร.นิติพล ศรีมงคลพิทักษ์
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ 
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

16.00 – 16.30 น. แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ

หมายเหตุ ห้องประชุมออนไลน์จะเปิดระบบ 15 นาทีก่อนเริ่มงาน

รวมรายการวิดิโอ

เกี่ยวกับวิทยากร

ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
นพ.สุรโชค ต่างวิวัฒน์
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
คุณอนันต์ วัชรดำรงกุล
บริษัท ลินาเรีย เคมีภัณฑ์ (ประเทศไทย) จำกัด
Mr. Pranay Sood
บริษัท ลินาเรีย เคมีภัณฑ์ (ประเทศไทย) จำกัด
ดร.อรศิริ ศรีคุณ
องค์การเภสัชกรรม
ดร.นิติพล ศรีมงคลพิทักษ์
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

สัมมนาอื่นๆ ​: