โครงสร้างพื้นฐานสมัยใหม่เพื่องานด้านเกษตรแม่นยำ (Modern Research Facilities Supporting Precision Agriculture)

Introduction:

เกษตรแม่นยำ (Precision agriculture) เป็นวิธีการทำการเกษตร โดยมีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น เทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัล เซนเซอร์ เทคโนโลยีชีวภาพ รวมทั้งนาโนเทคโนโลยี และการจัดการข้อมูล เพื่อทำการจัดการบริหารพื้นที่ และควบคุมทรัพยากรพื้นฐานที่มีให้เกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุด และในเวลาที่ถูกต้อง เพื่อให้มีการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรทั้งปริมาณและคุณภาพ อันนำไปสู่การแข่งขันได้ในระดับสากล ตัวอย่าง เช่น การให้น้ำ ปุ๋ย การควบคุมอุณหภูมิ 

ทีมวิจัยของศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช. มีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของการทำเกษตรแม่นยำ โดยมีการจัดสร้างและติดตั้งโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ (Facility) เพื่อใช้ในการวิจัยพื้นฐาน และการวิจัยเพื่อพัฒนาสำหรับการผลิตในระดับอุตสาหกรรม ประกอบด้วย

Plant Phenomics
เป็นเครื่องมือในการวัดทางด้านสรีระวิทยา การเจริญเติบโต ด้านสัณฐานวิทยาของพืช แบบ High throughput โดยใช้กล้องและเซนเซอร์ประเภทต่างๆ ซึ่งเป็นการวัดพารามิเตอร์ต่างๆ โดยไม่ทำลายต้นพืช (Non-destructive measurement) ทั้งนี้ Plant Phenomics ได้รับการติดตั้ง 3 บริเวณ ได้แก่

  1. Plant Phenomics Center: ได้รับการติดตั้งที่ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าวมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม
  2. NSTDA-Plant Phenomics: ได้รับการติดตั้งที่ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี
  3. EECi-Plant Phenomics: ได้รับการติดตั้งที่พื้นที่ EECi ต.ป่ายุบใน อ.วังจันทร์ จ.ระยอง 

 

 

Control-able Growth Room
ประกอบไปด้วย growth chamber จำนวน 2 ห้องและ observation chamber จำนวน 3 ห้อง เป็นห้องที่ใช้สังเกตและวัดการเจริญเติบโตของพืชได้ โดยประกอบไปด้วยระบบต่างๆ คือ ระบบแสงไฟเทียม (LED), CO
2 controller, Temperature controller, ระบบรดน้ำอัตโนมัติและ ระบบวัดพลังงานไฟฟ้า ซึ่งช่วยให้สามารถควบคุมปัจจัยที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืชได้

Environmental Control Greenhouse
เป็นโรงเรือนปลูกพืชขนาดใหญ่
ติดตั้งอยู่ที่ภายในบริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีระบบในการควบคุมสภาพแวดล้อมรวมทั้งความชื้นในดินได้ โดยประกอบไปด้วยชุดกล้องเคลื่อนที่พร้อมอินเทอร์เน็ต เพื่อใช้วัดการเจริญเติบโตของพืชได้

 

โรงงานผลิตพืชหรือ plant factory
เป็นระบบการผลิตพืชภายใต้สภาพแวดล้อมควบคุมเพื่อการผลิตพืชคุณภาพสูงที่มีสเถียรภาพผลิตได้ตลอดปีไม่ขึ้นกับสภาพอากาศภายนอก ปัจจุบันทาง สวทช. มีทั้งหมด 3 พื้นที่ ที่แรก คือ plant factory Biotec ถูกสร้างภายในพื้นที่อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย รังสิต ปทุมธานี มีขนาดพื้นที่ปลูกรวมมากกว่า 900 ตารางเมตร เป็นระบบต้นแบบนำเข้าเทคโนโลยีประเทศญี่ปุ่น พร้อมระบบสนับสนุน โดยถูกจัดสร้างขึ้นเพื่อการวิจัยพื้นฐานการพัฒนากระบวนการและทดสอบการผลิตพืชผักสมุนไพร และที่ 2 คือ Plant Factory EECi เป็นโรงงานผลิตพืชที่อยู่ระหว่างการจัดสร้าง มีพื้นที่ปลูกมากว่า 7000 ตารางเมตร โดยจะถูกจัดสร้างขึ้นที่ EECi วังจันทร์วัลเลย์ และสร้างขึ้นเพื่อการทดสอบระบบการผลิตขั้นสูง และการวิจัยด้านการขยายขนาดการผลิตเพื่อเข้าสู่การผลิตในระบบอุตสาหกรรม
การประยุกต์ใช้และประโยชน์ของโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ที่มี สามารถนำไปใช้การค้นหาพันธุ์พืชที่เหมาะสมเพื่อใช้ในการผลิตพืชในเชิงอุตสาหกรรม ซึ่งเมื่อได้ข้อมูลเหล่านี้มาจะช่วยให้ทั้งการผลิตพืชทั้งในระบบปิดและในระบบ smart greenhouse มีคุณภาพสูง ปริมาณมาก นอกจากนี้ยังสามารถนำข้อมูลที่ได้จัดเป็นข้อมูลสำหรับให้ A.I. เรียนรู้และประยุกต์ใช้สำหรับการผลิตพืชแบบอัตโนมัติในอนาคต

 

เอกสารประกอบการบรรยาย

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม:

ดร. สุริยันตร์ ฉะอุ่ม
ดร. คัทรินทร์ ธีระวิทย์
กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพพืชและการจัดการแบบบูรณาการ (ACBG)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

นิทรรศการอื่นๆ :