ระบบหุ่นยนต์แบบมีสัญญาณชีวภาพสำหรับฝึกการเคลื่อนไหวของมือพร้อมระบบบริการแบบทางไกล (BONT)

Introduction:

ระบบหุ่นยนต์แบบมีสัญญาณชีวภาพสำหรับฝึกการเคลื่อนไหวของมือพร้อมระบบบริการแบบทางไกล Biofeedback rObot for haNd exercise with Tele-supervision system (BONT)

สำหรับระบบหุ่นยนต์ BONT คือระบบหุ่นยนต์สำหรับฝึกการเคลื่อนไหวของมือที่มีสัญญาณชีวภาพเพื่อตรวจจับสภาวะทางกายของผู้ใช้ และมีระบบบริการแบบทางไกล เพื่อให้ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานที่ดูแลสุขภาพของผู้ใช้ได้ โดยระบบหุ่นยนต์ติดต่อสื่อสารกับระบบควบคุมแบบไร้ส้าย ทำให้การใช้งานระบบหุ่นยนต์มีความคล่องตัวมากขึ้น ไม่มีสายเชื่อมต่อให้ยุ่งยาก และโครงสร้างทางกลของระบบหุ่นยนต์เป็นแบบ Exoskeleton ที่สามารถสวมใส่มือได้โดยตรง โดยยึดหลักการ Modular Design ที่ส่วนสวมมือ แยกออกจากส่วนขับเคลื่อนหลัก ทำให้ระบบหนึ่งระบบใช้ส่วนขับเคลื่อนหลักร่วมกันได้ เน้นให้ระบบหุ่นยนต์ดูแล้วเข้าใจได้โดยง่ายว่าต้องติดตั้งเข้ากับมือของผู้ใช้ได้อย่างไร สวมใส่ได้กับมือที่มีหลากหลายขนาด กับส่วนสวมมือซ้ายและส่วนสวมมือขวาได้ให้สอดคล้องกับการใช้งานในของผู้ใช้

คุณลักษณะ

  1. ระบบหุ่นยนต์ฝึกมือที่มีลักษณะเป็น Modular Exoskeleton 
  2. มีระบบตรวจจับสัญญาณชีวภาพ อัตราการเต้นของหัวใจและอุณหภูมิร่างกาย
  3. มีระบบติดต่อสื่อสารทางไกลเพื่อการเฝ้าดูการทำงานของระบบหุ่นยนต์และเพื่อให้คำปรึกษาการใช้งาน 

จุดเด่น/ประโยชน์ของเทคโนโลยี

  1. ระบบหุ่นยนต์สามารถฝึการใช้งานของมือได้ทั้งมือซ้ายและมือขวาในระบบเดียวกัน
  2. ระบบหุ่นยนต์ใช้หลักการออกแบบที่เรียกว่า Modular Exoskeleton ร่วมกับการติดต่อสื่อแบบไร้สาย ทำให้ระบบสามารถใช้งานและดูแลรักษาได้ง่าย
  3. ระบบหุ่นยนต์มีส่วนติดต่อทางไกลพื้นฐาน ซึ่งสามารถใช้สำหรับการเฝ้าดูการใช้งานของผู้ใช้ การให้คำปรึกษากับผู้ใช้ และการแบ่งปันข้อมูลเพื่อฝึกการทำงานทางไกลแบบเป็นกลุ่มหรือชุมชน

ขอบเขต/ข้อจำกัดการใช้งาน

  1. ผู้ใช้ควรปรึกษาผู้มีความรู้ด้านการฝึกการเคลื่อนไหวมือก่อนการใช้งาน
  2. ระบบหุ่นยนต์เป็นระบบสำหรับออกกำลังกายมือ ไม่ได้ใช้เป็นอุปกรณ์เพื่อการรักษาโรคใดๆ

กลุ่มลูกค้า/ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย

  1. ผู้ที่ต้องการอุปกรณ์เสริมสำหรับการฝึกการเคลื่อนไหวมือ ที่มีระบบสนับสนุนเพื่อให้การฝึกการเคลื่อนไหวมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น 
  2. ชุมชนที่มีผู้สูงอายุอยู่ร่วมกันและอยู่ในพื้นที่ห่างไกล
  3. ผู้ที่มีปัญหาด้านการทำงานของมือที่ต้องการออกกำลังกายด้วยตนเองต่อที่บ้าน

สถานภาพการพัฒนา

  1. ทดสอบการทำงานเบื้องต้นภายในห้องปฏิบัติการ
  2. อยู่ระหว่างเตรียมการปรับปรุง Product Design เพื่อต่อยอดสู่การใช้งานจริง   

หน่วยงานพันธมิตร
ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วิจัยพัฒนาโดย
ทีมวิจัยการประมวลสัญญาณประสาท (NSP)
กลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์ (AINRG)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

เอกสารประกอบการบรรยาย

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม:

ฝ่ายกลยุทธ์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี (SPD)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

นิทรรศการอื่นๆ :