การตรวจพันธุกรรมด้วยเทคโนโลยีจีโนมสำหรับการปรับปรุงพันธุ์พืชและการผลิตเมล็ดพันธุ์

Introduction:

ในพืช การปรับปรุงพันธุ์และการผลิตเมล็ดพันธุ์เป็นหัวใจสำคัญต่อการเพิ่มผลผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต รวมถึงการสร้างมูลค่าเพิ่มในด้านต่างๆ เช่น พันธุ์พืชที่มีคุณสมบัติโภชนาการที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพผู้บริโภค ดังนั้นการนำองค์ความรู้และข้อมูลผลงานวิจัยทางด้านจีโนมพืชมาพัฒนาเป็นเครื่องหมายดีเอ็นเอมาใช้ประโยชน์ในกระบวนการประกันคุณภาพและควบคุมคุณภาพในระดับพันธุกรรม จะมีส่วนสำคัญ ในการย่นย่อ ระยะเวลาในการพัฒนาพันธุ์เหล่านั้นให้มีความรวดเร็ว  มีคุณสมบัติของพันธุ์ถูกต้องแม่นยำตรงตามความต้องการของ เกษตรกร ผู้บริโภค และตลาด สอดคล้องต่อสถานการณ์ของความมั่นคงทางอาหาร รวมถึงปัญหาสภาพแวดล้อมวิกฤติต่างๆที่เกิดขึ้นและยากต่อการการเดา ในอนาคต

ปัจจุบันทีมวิจัย “นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีชีวภาพพืชและการเกษตรแบบแม่นยำ” ประสบความสำเร็จในการพัฒนา ระบบปฏิบัติการตรวจสอบจีโนไทป์ด้วยเครื่องหมายดีเอ็นเอแบบประสิทธิภาพสูง โดยระบบการตรวจสอบนี้ มีความหนาแน่นของตำแหน่งที่จำเพาะต่อลักษณะที่ต้องการตรวจสอบจำนวนมาก ออกแบบได้ง่ายไม่จำกัด แปรผลรวดเร็ว และสามารถตรวจสอบตัวอย่างปริมาณมากต่อการตรวจสอบหนึ่งครั้ง การนำระบบดังกล่าวนี้มาใช้กระบวนการประกันคุณภาพและการควบคุมคุณภาพทางพันธุกรรมของพืชโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอ สามารถทำได้หลายวิธีและหลายวัตถุประสงค์ เช่น 1. การทดสอบความบริสุทธิ์ ระบุ อัตลักษณ์ ความถูกต้องตรงตามพันธุ์  2. การตรวจรับรองลักษณะจำเพาะ หรือ ลักษณะพิเศษทางพันธุกรรมของ ของสายพันธุ์ 3. การใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอสำหรับพันธุ์พ่อ แม่ และการระบุเอกลักษณ์ทางพันธุกรรม สำหรับการปรับปรุงพันธุ์นอกจากนี้ยังสามารถนำมาใช้ประเมินความคล้ายคลึง หรือความหลากหลายทางพันธุกรรมของประชากรในพืชแต่ละชนิดได้  จากผลงานวิจัยที่ผ่านมามากกว่า 15 ปี ทีมวิจัยสามารถนำเครื่องหมายดีเอ็นเอเข้าไปช่วยในการปรับปรุงพันธุ์ในหลากหลายพืชสำคัญทางเศรษฐกิจ  อาทิเช่น ข้าว, ข้าวโพด, มะเขือเทศ, มะพร้าว รวมถึงพืชสมุนไพร กัญชงและกัญชาเป็นต้น เครื่องมือตรวจสอบทางพันธุกรรมนี้จะช่วยส่งเสริมศักยภาพของนักปรับปรุงพันธุ์ สร้างความมั่นใจให้แก่เกษตรกรผู้ผลิต รวมถึงการนำมาใช้ประโยชน์ในด้านสิทธิทางกฎหมายสำหรับคุ้มครองพันธุ์พืช และทรัพย์สินทางปัญญา 

 

 

 

เอกสารประกอบการบรรยาย

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม:

ดร. วินิตชาญ รื่นใจชน
ทีมวิจัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีชีวภาพพืชและการเกษตรแบบแม่นยำ (APBT)
กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพพืชและการจัดการแบบบูรณาการ (ACBG)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(BIOTEC)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

นิทรรศการอื่นๆ :