Line Track Skip to content

วัคซีนสำหรับไวรัสเซอร์โคในสุกรชนิดที่ 2 (PCV2)

วัคซีนสำหรับไวรัสเซอร์โคในสุกรชนิดที่ 2 (PCV2)

วัคซีนสำหรับไวรัสเซอร์โคในสุกรชนิดที่ 2 (PCV2)

วัคซีนสำหรับไวรัสเซอร์โคในสุกรชนิดที่ 2 (PCV2)

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร.พีร์ จารุอำพรพรรณ

ทีมวิจัยไวรัสวิทยาและเซลล์เทคโนโลยี (AVCT)

ดร.พีร์ จารุอำพรพรรณ

ทีมวิจัยไวรัสวิทยาและเซลล์เทคโนโลยี (AVCT)

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

ความสำคัญของงานวิจัย

      ไวรัสเซอร์โคในสุกร ชนิดที่ 2 หรือ PCV2  พบได้ในฟาร์มสุกรทั่วโลก เป็นสาเหตุหลักของกลุ่มอาการทรุดโทรมหลังหย่านมในสุกร เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ภูมิคุ้มกันของสุกรตก ไม่สามารถทำน้ำหนักขึ้นได้ตามเกณฑ์ และมีโอกาสติดเชื้อซ้ำซ้อนจนตายได้ ซึ่งแพร่ระบาดหนักในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

      วัคซีนสำหรับเซอร์โคในสุกรปัจจุบันมีต้นแบบมาจากไวรัสไวรัสเซอร์สายพันธุ์ 2a ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ระบาดตั้งแต่ช่วงก่อน ค.ศ. 2000 แต่ในปัจจุบันไวรัสที่ระบาดในพื้นที่ส่วนใหญ่ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยได้มีการกลายพันธุ์ไปถึงสายพันธุ์ 2d แล้ว ซึ่งมีความแตกต่างทางพันธุกรรมจากสายพันธุ์วัคซีนที่มีขายในท้องตลาดถึงแม้ว่าการฉีดวัคซีนที่ไม่ตรงสายพันธุ์ที่ระบาดจะสามารถให้ความคุ้มโรคจากเชื้อพิษที่ไม่ตรงกับวัคซีนได้ แต่ประสิทธิภาพในการคุ้มโรคจะลดลงจากที่ควรเป็น

     วัคซีน PCV2 ในท้องตลาดส่วนมากใช้เทคโนโลยีการเลี้ยงเซลล์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหรือเซลล์แมลงในการผลิตแอนติเจนและเป็นวัคซีนนำเข้า จึงมีราคาค่อนข้างสูง  ประเทศไทยนำเข้าวัคซีน PCV2 ไม่ต่ำกว่า 590 ล้านบาท

PCV2

      โครงการการพัฒนาศักยภาพในการผลิตชีวภัณฑ์และวัคซีนสำหรับสัตว์ในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ GCRF เป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยในสหราชอาณาจักร และ ประเทศไทย โดยทีมวิจัยไวรัสวิทยาและเซลล์เทคโนโลยี ไบโอเทค สวทช. และโรงงานตนแบบผลิตยาชีววัตถุแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี  (มจธ.) เพื่อพัฒนาศักยภาพในการผลิตสารชีวภัณฑ์มูลค่าสูงจากรีคอมบิแนนท์โปรตีน เช่น วัคซีนสำหรับเซอร์โคในสุกรชนิดที่ 2  PCV2d ชนิดใหม่ เพื่อการใช้ประโยชน์ในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน

จุดเด่นของงานวิจัย

     โดยการวิจัยมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพทั้งกระบวนการ ตั้งแต่การออกแบบแอนติเจนจากไวรัสสายพันธุ์ที่เหมาะสม การผลิตรีคอมบิแนนท์โปรตีนในระดับห้องปฏิบัติการเพื่อค้นหาระบบที่ให้ผลผลิตสูงและมีราคาต้นทุนต่ำ การทดสอบวัคซีนต้นแบบในสัตว์ทดลอง การพัฒนาชีวกระบวนการเพื่อให้สามารถผลิตได้ในระดับใหญ่ขึ้น และการถ่ายทอดเทคโนโลยี

     ปัจจุบันทีมวิจัยได้ผลิตต้นแบบของวัคซีน PCV2d ชนิดใหม่โดยใช้การหมักแบคทีเรียและกระบวนการทำบริสุทธิ์ขั้นตอนเดียว โดยสามารถขยายขนาดได้ถึง 30 ลิตรโดยให้ผลคงที่ทั้งในห้องปฏิบัติการที่อังกฤษและไทย และอยู่ในระหว่างการทดลองประสิทธิภาพในสุกร (ร่วมทุนระหว่างทุนวิจัยจากสหราชอาณาจักรและ สวทช.) หลังจากมีผลสามารถกระตุ้นการสร้างแอนติบอดีลบล้างฤทธิ์ในสัตว์เล็ก (กระต่ายและหนูทดลอง)

     ในอนาคตหลังจากได้ผลการทดลองในสุกรแล้ว จะทดลองขยายขนาดการผลิตเป็น 200 ลิตรเพื่อพัฒนากระบวนการขั้นต่อไป วางแผนขอขึ้นทะเบียนกับ อย. พร้อมกับหาความร่วมมือทางธุรกิจเพื่อผลักดันให้เกิดการใช้ประโยชน์ต่อไป

ทีมวิจัยไวรัสวิทยาและเซลล์เทคโนโลยี ไบโอเทค สวทช.

เครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพสำหรับผลิตวัคซีน PCV2 ขนาด 30 ลิตร

สถาบันวิจัยในสหราชอาณาจักร​

เครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพ

กลุ่มเป้าหมาย

     สำหรับการพัฒนาศักยภาพในการผลิตชีวภัณฑ์และวัคซีนสำหรับสัตว์นี้ เพื่อสนับสนุนหน่วยงานที่ควบคุมดูแลและสนับสนุนด้านการผลิตวัคซีน ทั้งภาครัฐและเอกชนที่สดใจผลิตวัคซีนป้องกันโรคระบาดสัตว์ เพื่อให้เกษตรกรได้ใช้วัคซีนที่ผลิตขึ้นเองภายในประเทศ ซึ่งมีคุณภาพเป็นที่น่าเชื่อถือ และมีราคาถูกกว่าการใช้วัคซีนนำเข้าจากต่าง ประเทศ เพื่อเป็นการลดต้นทุนการเลี้ยงสัตว์ให้แก่เกษตรกรอีกทางหนึ่ง

PCV2 : ไวรัสู่วัคซีน

วัคซีนสำหรับไวรัสเซอร์โคในสุกรชนิดที่ 2 (PCV2) โดยโครงการการพัฒนาศักยภาพในการผลิตชีวภัณฑ์และวัคซีนสำหรับสัตว์ในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ GCRF

ติดต่อสอบถาม

ดร.พีร์ จารุอำพรพรรณ
ทีมวิจัยไวรัสวิทยาและเซลล์เทคโนโลยี (AVCT)
กลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ (AVIG)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

ทุกความคิดเห็นของคุณมีความหมาย

ขอความร่วมมือตอบแบบสอบถามเพื่อที่เราจะได้ปรับปรุงแก้ไขพัฒนาในปีต่อๆ ไป

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
Email

บริการของ สวทช.

สวทช. สนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่ายขึ้น ลดความเสี่ยงของการลงทุนวิจัยพัฒนา และเข้าใจการทาธุรกิจเทคโนโลยีดียิ่งขึ้น

การถ่ายทอดเทคโนโลยี

การเงิน ภาษี และมาตรการส่งเสริม

กลไกส่งเสริมธุรกิจ SMEs / Start-up

การพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

โครงสร้างพื้นฐานสาคัญทางวิทยาศาสตร์ และนิคมวิจัยของประเทศ

สอบถามบริการ สวทช.

ติดต่อ ฝ่ายธุรกิจสัมพันธ์
E-mail: brc@nstda.or.th
Call center: 02 564 8000

นิทรรศการที่น่าสนใจ